โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 อาร์คตูรุส

แชร์บทความนี้

เฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 อาร์คตูรุส

ช่วงเวลานี้หลายคนคงกำลังให้ความสนใจกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 เนื่องจากช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยโควิดเพิ่มสูงขึ้น แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่เพียง 6 ราย ซึ่งมีอาการไม่ร้ายแรงมากนักโดยส่วนใหญ่แล้วที่ระบาดอยู่ในไทยตอนนี้จะเป็นสายพันธุ์ XBB.1.5

ข่าวการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 กำลังเป็นที่น่าจับตามองอย่างมาก เนื่องจากมีการตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ก่อนจะเริ่มมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นจนทางองค์การอนามัยโลกออกมาเตือนให้เฝ้าระวัง และในปัจจุบันมีการแพร่กระจายไปแล้วกว่า 20 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 คืออะไร

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 หรือ อาร์คตูรุส (Arcturus) เป็นที่พูดถึงกันอยู่ในตอนนี้และพบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงทั่วโลก แต่จริงๆแล้วไม่ใช่โควิดสายพันธุ์ใหม่ แต่เป็นสายพันธุ์ย่อยของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 มีการกลายพันธุ์ในส่วนของโปรตีนหนามของไวรัสทำให้สามารถยึดเกาะเซลล์มนุษย์ได้ง่ายกว่าและมีแนวโน้มที่จะดื้อต่อภูมิคุ้มกันในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีอัตราการแพร่กระจายจากคนสู่คนได้มากกว่าโอมิครอนถึง 1.5 – 2 เท่า

อาการของ XBB.1.16 เป็นอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการที่คล้ายกับโควิดสายพันธุ์อื่นๆ เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ ไอ คัดจมูก มีน้ำมูก อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นคัน บางรายจะมีอาการระคายเคืองใบหน้าและดวงตาได้

ทั้งนี้อาจยังไม่มีรายงานโดยตรงว่า โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 นั้นจะทำให้มีอาการทำให้ตาแดงหรือไม่ แต่ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ คันตา ขี้ตาเหนียว ลืมตาไม่ขึ้น หรือเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ และส่งผลให้มีเลือดกำเดาไหลตามมาได้ด้วย

สรุป 5 อาการโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16

  1. ไข้ขึ้นสูง ตัวร้อนอาจมีอาการหนาวสั่นและมีไข้สูง 38-39 องศาขึ้นไป
  2. เยื่อบุตาอักเสบ มีอาการคันตา ลืมตาไม่ขึ้น ระคายเคืองใบหน้า หรือเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ
  3. มีอาการระคายคอ คันคอ เจ็บคอ
  4. มีอาการไอ ผู้ป่วยอาจมีอาการไอแห้งและไอแบบมีเสมหะ หรือมีน้ำมูกได้
  5. มีผื่นขึ้นตามร่างกายมีลักษณะเป็นผื่นแดงๆ ซึ่งอาจมีอาการคันร่วมด้วยได้

ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

ผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม 608 หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดอักเสบ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือดอักเสบ โรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือในกลุ่มเด็ก หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาแนวทางการรักษาและได้รับการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

สรุป

จากข้อมูลต่างๆที่มีในตอนนี้แม้จะไม่ได้มีอาการร้ายแรงหรือระบาดหนักเท่าเมื่อก่อน แต่ก็อยากให้ทุกคนพึงระวัง เนื่องจากในการติดเชื้อแต่ละครั้งนั้นจะทำให้ป่วย ซึ่งหากมีอาการรุนแรงเชื้ออาจลงปอดเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ หรือส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวซึ่งเรียกว่าเป็นอาการลองโควิด

ดังนั้นการป้องกันอย่างเช่นการกินร้อน ช้อนกลาง ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมืออย่างสม่ำเสมอนั้นจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการดูแลและรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมรอบข้างได้

การเลือก “หนัง” รองเท้าเซฟตี้

แชร์บทความนี้

รองเท้านิรภัย หรือรองเท้าเซฟตี้ ตามมาตรฐานทั้ง มอก. และ EN20345 ได้ กำหนดคุณสมบัติของหนัง รองเท้านิรภัย ให้สามารถทำได้จาก หนังแท้

อ่านต่อ »

แนะนำการเลือกหน้ากากกันโรค

แชร์บทความนี้

เราจึงควรต้องมีความรู้ ในการเลือกหน้ากากให้ถูกชนิดจึง แนะนำการเลือกหน้ากากกันโรค เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยได้…

อ่านต่อ »

เมื่อสมองเสื่อมไม่เท่ากับอัลไซเมอร์ แต่อัลไซเมอร์ทำให้สมองเสื่อม

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เมื่อพูดถึงอาการสมองเสื่อม ยิ่งถ้าเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุ เราก็มักจะพ

อ่านเพิ่มเติม »