วิธีการใส่ที่อุดหู

แชร์บทความนี้

วิธีการใส่ที่อุดหู

1. Formable Insert Plugs (ปลั๊กอุดหูที่ทำจากโฟม)

 คนส่วนใหญ่นิยมใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยินชนิดนี้ ซึ่งทำมาจากโฟมที่สามารถยืดขยายตัวได้ เวลาใช้งานก็ใช้มือบีบโฟมให้มีขนาดเล็กๆ แหลมๆ แล้วใส่เข้าไปในรูหู ถ้าต้องการใส่ให้กระชับมากขึ้น ให้เอื้อมมือข้ามศีรษะมาดึงใบหูขึ้น แล้วจึงใส่ปลั๊กอุดหูที่ทำจากโฟมเข้าไปในรูหู ข้อดีของปลั๊กอุดหูที่ทำจากโฟม คือ ใส่แล้วกระชับกับรูหูของแต่ละบุคคล มีประสิทธิภาพในการป้องกันการได้ยินดีที่สุด และรู้สึกสบายเมื่อสวมใส่ ข้อเสีย คือ ก่อนที่จะใช้งานพนักงานต้องบีบก้อนโฟมให้มีขนาดและรูปร่างตามที่เราต้องการ ซึ่งทำให้สิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่มือนั้นปนเปื้อนไปที่ก้อนโฟม ทำให้จำนวนการใช้งาน ค่อนข้างสั้น ใช้ไม่กี่ครั้งก็ต้องทิ้ง เพราะว่าสกปรก

2. No-Roll Insert Plugs (ปลั๊กอุดหูที่ทำจากโฟม แบบไม่ต้องบีบ)

ปลั๊กอุดหูชนิดนี้พัฒนามาจากปลั๊กอุดหูโฟมแบบเดิม แต่ขจัดข้อเสียในเรื่องความสกปรกออกไป เนื่องจากไม่ต้องบีบทำให้ไม่สกปรก แต่ข้อเสียก็คือประสิทธิภาพการกันเสียงจะไม่ดีเท่าแบบที่ต้องบีบ ในปัจจุบันมีเพียงยี่ห้อ Howard Leight จาก Sperian รายเดียวที่ผลิตปลั๊กอุดหูชนิดนี้

3. Premolded Plugs (ปลั๊กอุดหูที่ทำจากพลาสติกหรือซิลิโคน)

ปลั๊กอุดหูแบบนี้นั้นจะเป็นแบบมาตรฐานที่ทำจากพลาสติกหรือซิลิโคน ที่ออกแบบให้มีรูปร่างเพื่อให้เหมาะสมกระชับกับรูหู ซึ่งวิธีการใส่ให้ถูกต้องนั้น คือการเอื้อมมือข้ามศีรษะมาดึงใบหูขึ้น แล้วจึงใส่ปลั๊กอุดหูไปในรูหู ข้อดีของปลั๊กอุดหูที่ทำจากพลาสติกหรือซิลิโคน คือ จะมีรูปร่างที่เหมาะสม สะดวกและง่ายต่อการใส่เข้าไปในหู ส่วนข้อเสีย คือ ปลั๊กอุดหูแบบนี้ จะผลิตออกมาเป็นขนาดมาตรฐานเพียงขนาดเดียว ซึ่งอาจมีขนาดที่ใหญ่ไปหรือเล็กเกินไปสำหรับพนักงานบางคน ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงดัง

4. Semi-Inserts/Canal Caps

ปลั๊กอุดหูแบบนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างปลั๊กอุดหู และที่ครอบหู โดยมีที่คล้องคอและปลายแต่ละข้างจะมีที่อุดหูที่ทำจากวัสดุที่อ่อนนุ่ม สำหรับใส่เข้าไปในหู ข้อดี ของการใช้ปลั๊กอุดหูแบบนี้ คือ พนักงานสามารถใส่ๆ ถอดๆ ได้ตามที่ต้องการเนื่องจาก อุปกรณ์นี้สามารถใช้คล้องคอได้ เมื่อไม่ต้องการใช้ ข้อเสีย ของอุปกรณ์ป้องกันแบบนี้ คือประสิทธิภาพในการป้องกันจะค่อนข้างน้อยกว่าแบบอื่นๆ จึงไม่แนะนำสำหรับการสวมใส่เพื่อป้องกันเสียงดัง ในเวลานานๆ หรือตลอดทั้งวัน

วิธีการใส่ที่อุดหู

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

ถังเก็บสารไวไฟ (Safety Storage) ตามมาตรฐาน OSHA

แชร์บทความนี้

เทคนิคอย่างหนึ่งในการลดอันตรายที่เกี่ยวกับของเหลวไวไฟและติดไฟได้คือการใช้ ถังบรรจุที่ปลอดภัย OSHA ได้ให้คำนิยามของ ถังบรรจุที่ปลอดภัย ว่า

อ่านต่อ »

เหตุผลที่ควรเลือกใช้ ชุดดับเพลิง ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานNFPA 1971

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดดับเพลิง ในท้องตลาดมีมากมาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการเลือกใช้งานเป็นอย่างมาก

อ่านเพิ่มเติม »

คนกินเก่งต้องรู้ อาการหิวบ่อยน่ากลัวไหม พร้อมสาเหตุและทางแก้ไข

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความรู้สึกว่า ในการใช้ชีวิตประจำวันมักจะชอบรู

อ่านเพิ่มเติม »