ประเภทอุปกรณ์ป้องกันเสียง

แชร์บทความนี้

ประเภทอุปกรณ์ป้องกันเสียง HEARING PROTECTOR : แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

     1. ที่อุดหู (EAR PLUG)

     2. ที่ครอบหู (EAR MUFF)

ที่อุดหู (EAR PLUG) เป็นอุปกรณ์ป้องกันหู ราคาถูกที่สุด นิยมใช้กันมากที่สุด เหมาะสมกับการใช้งานในบริเวณที่ความดังของเสียงไม่เกิน 100 เดซิเบล (เอ) สามารถแบ่งย่อยออกตามรูปลักษณ์ได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

1. ที่อุดหูชนิดที่ต้องปั้นให้เป็นรูปก่อนใช้ (PREMOLD-EAR PLUG):

โดยมากที่อุดหูประเภทนี้ มักจะทำด้วย Foam หรือฟองน้ำเทียม (SYNTHETIC SPONGE) สามารถลดระดับเสียงลงได้ประมาณ 24-29 เดซิเบล (เอ) ก่อนใช้ต้องปั้นให้เล็กที่สุดเพื่อที่จะเสียบเข้าไปในรูหู

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี: 1. ราคาถูก
        2. ลดระดับความดังของเสียงได้มากกว่าที่อุดหูชนิดอื่น
        3. ไม่ระคายเคืองต่อรูหู
        4. สามารถใส่ทำงานได้เป็นเวลานานๆ

ข้อเสีย: 1. สิ้นเปลือง เพราะไม่สะดวกที่จะล้างทำความสะอาดเพื่อนำกลับมาใช้และสูญเสียง่าย
           2. เสียเวลาในการปั้นให้เป็นรูปก่อนการใช้

2. ที่อุดหูชนิดพลาสติก หรือยาง (EAR PLUG/EAR INSERT):

ที่อุดหูประเภทนี้จะทำด้วยพลาสติก ยาง หรือซิลิโคน แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาเป็นสำคัญความสามารถในการลดระดับเสียงอยู่ในระหว่างช่วง 24-26 เดซิเบล (เอ)

ประเภทอุปกรณ์ป้องกันเสียง

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี: 1. ล้างทำความสะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ได้
        2. สามารถใส่ทำงานได้เวลานานๆ
    
ข้อเสีย: 1. สูญหายง่าย เป็นเหตุให้สิ้นเปลือง
           2. ระคายเคืองหูและบางคนอาจแพ้วัสดุที่ทำที่อุดหู

           3. ราคาสูงกว่าแบบต้องปั้นขึ้นรูป

ที่ครอบหู (EAR MUFF):

เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง ที่มีราคาสูงกว่าที่อุดหูมาก วัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์ประเภทนี้มักได้แก่ พลาสติก+โลหะ ความสามรถในการลดความดังของเสียงจะอยู่ในระดับ 25-29 เดซิเบล (เอ)

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี: 1. ทนทาน ถาวรกว่าที่อุดหู ล้างทำความสะอาดได้
        2. ใช้ง่ายกว่าที่อุดหู
        3. ลดความดังของเสียงได้ดีกว่า

ข้อเสีย: 1. ราคาสูง
           2. ไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องใส่อยู่เป็นเวลานานๆ
           3. มีการบำรุงรักษามากกว่าที่อุดหู

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

The New ANSI Z87.1-2003

แชร์บทความนี้

จากการที่มาตรฐานใหม่ ANSI Z87.1-2003 ได้รับการอนุมัติ หลังจากคณะกรรมการ ANSI

อ่านต่อ »

PID sensor สำหรับตรวจจับสารระเหยเร็ว (VOCs)

แชร์บทความนี้

จากข้อจำกัดของ Electrochemical sensor ในบทความเรื่องที่แล้วที่ไม่สามารถจะตรวจจับแก๊สพิษที่มีคุณสมบัติระเหยเร็วที่เราเรียกว่า

อ่านเพิ่มเติม »

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ LAAB คืออะไร มีผลข้างเคียงไหม ใครจะได้รับบ้าง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้LAAB เป็นแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันที่ออกฤทธิ์ยาว ประกอบด้วยแอนติบอดี

อ่านเพิ่มเติม »

Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ ELECTROCHEMICAL รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

แชร์บทความนี้

จากบทความที่แล้วเรื่องของ sensor วัดแก๊สติดไฟ ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ Electrochemical เพื่อให้ทราบหลักการ

อ่านเพิ่มเติม »

มาตรฐานอ้างอิงอุปกรณ์PPEสำหรับใช้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตาม NFPA 70E : 2018

แชร์บทความนี้

มาตรฐานอ้างอิงสำหรับการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ NFPA 70E : 2018 ในหัวข้อนี้จะมาดูกันว่าอุปกรณ์PPE

อ่านเพิ่มเติม »