เลือกวัสดุทำชุด PPE อย่างไร ให้ปลอดภัย

แชร์บทความนี้
ชุดป้องกันเชื้อโรค

ชุดป้องกันเชื้อโรค หรือ ชุด COVERALL / PPE มีด้วยกันหลายแบบ ซึ่งระดับการป้องกัน และความสบายในการสวมใส่จะขึ้นอยู่กับชนิดผ้า และชนิดตะเข็บ ดังนั้นการเลือก ชุดป้องกันเชื้อโรค ที่เหมาะกับการใช้งาน และสร้างความปลอดภัยได้อย่างแท้จริง เราจำเป็นต้องรู้คุณสมบัติของผ้า ตะเข็บแต่ละชนิด และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ประเภทเนื้อผ้า (Fabric Type)

Spunbonded polypropylene (PPSB)

ชุดป้องกันเชื้อโรค
ชุดป้องกันเชื้อโรค

วัสดุ: สปันบอนด์ โพลีโพรพิลีน

คุณสมบัติ:

  1. น้ำหนักเบา
  2. ระบายอากาศได้ดีมาก
  3. มีสีหลากหลาย
  4. ไม่กันน้ำ
  5. การป้องกันอนุภาคแห้งและละอองของเหลวในที่ทำงานที่ไม่มีสารพิษหรืออันตราย

ตัวอย่างแบรนด์สินค้าในตลาด:

  • ใช้ทำชุดกันฝุ่นราคาถูกทั่วไป ไม่มีแบรนด์สินค้าที่มีมาตรฐานใดๆ ใช้ผลิตชุดกันสารเคมีหรือเชื้อโรค

Spunbonded Meltblown Spunbonded (SMS )

ชุดป้องกันเชื้อโรค
ชุดป้องกันเชื้อโรค

วัสดุ: ผ้าสปันบอนด์โพลีโพรพิลีน + Meltbown โพลีโพรพิลีน + ผ้าสปันบอนด์โพลีโพรพิลีน

คุณสมบัติ:

  1. ป้องกันของละอองเหลวและอนุภาคฝุ่น
  2. แข็งแรงและทนทาน ระบายอากาศได้ดี สวมใส่สบาย
  3. น้ำหนักเบาและทนต่อการฉีกขาดและเจาะทะลุ
  4. ผิวชั้นนอกไม่เรียบ ทำให้อาจเป็นที่สะสมของสารคัดหลั่งต่างๆ หรือเลือด ซึ่งสะสมเชื้อโรคได้ง่าย ไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องทำงานในห้องปลอดเชื้อ หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เป็นเวลานาน
  5. ผ่านการทดสอบมาตรฐาน EN14126 เบื้องต้น ตาม ISO16603 class 3 (ทดสอบการป้องกันเลือด) แต่ไม่มีแบรนด์สากลยี่ห้อไหน ที่ใช้ผ้า SMS แล้วผ่าน EN14126 ที่ทดสอบ ISO16604 สำหรับป้องกันเชื้อโรค

ตัวอย่างแบรนด์สินค้าในตลาด:

  • Microgard รุ่น 1500
  • Dupont รุ่น Proshield
  • Lakeland Safegard
  • 3M 4520
  • Anysafe J200 (Korea)

Polyethylene Coated Polypropylene (PP+PE)

วัสดุ: โพลีโพรพิลีน เคลือบผิวด้วย PE (Spunbond polypropylene + Polyethylene.)

คุณสมบัติ

  1. ป้องกันของเหลวและอนุภาคฝุ่น ได้ดีเยี่ยม
  2. แข็งแรงและทนทานมาก แต่อากาศถ่ายเทได้น้อยกว่าชนิดผ้าอื่น
  3. ทนต่อการฉีกขาดและเจาะทะลุ
  4. ผิวชั้นนอกเรียบ ไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค
  5. มักนำมาใช้ทำชุดที่ผ่านมาตรฐาน EN14126 และผ่านการทดสอบ ISO16604 สำหรับป้องกันเชื้อโรค

ตัวอย่างแบรนด์สินค้าในตลาด:

  • Microgard รุ่น 3000
  • Dupont รุ่น Tychem 2000
  • Lakeland ChemMax
  • 3M 4570

SFS (PPSB / Microporous PE film)

วัสดุ: เป็น Spunbond polypropylene เคลือบด้วย PE film แบบพิเศษ  ที่มีรูพรุนขนาดเล็กให้คุณสมบัติระบายอากาศได้ดี แต่ ยังคงป้องกันน้ำและเลือดได้อย่างดี

คุณสมบัติ:

  1. ป้องกันของเหลวและอนุภาคฝุ่น ได้ดี แต่ไม่เท่า PE film
  2. แข็งแรงและทนทานมาก
  3. ถ่ายเทได้อากาศได้ดี และสวมใส่สบาย กว่า ผ้า PE Film
  4. ทนต่อการฉีกขาดและเจาะทะลุ
  5. ผิวชั้นนอกเรียบ ไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค
  6. มักนำมาใช้ทำชุดที่ผ่านมาตรฐาน EN14126 และผ่านการทดสอบ ISO16604 สำหรับป้องกันเชื้อโรค

ตัวอย่างแบรนด์สินค้าในตลาด:

  • Microgard รุ่น 2000 Standard
  • Lakeland Micromax
  • 3M 4545
  • Anysafe J300 (Korea)

Tyvek by Dupont

 

วัสดุ: เป็นผ้าที่ใช้เส้นใย high-density spunbound polyethylene ทอแบบหนาแน่น แบบพิเศษ ที่คิดค้นโดยบริษัท Dupont

คุณสมบัติ

  1. ป้องกันของเหลวและอนุภาคฝุ่น ได้ดี แต่ไม่เท่า Microporous และ PE film
  2. แข็งแรงและทนทานมาก และถ่ายเทได้อากาศได้ดีด้วย
  3. น้ำหนักเบากว่า ผ้า Microporous และ PE film สวมใส่สบาย
  4. ทนต่อการฉีกขาดและเจาะทะลุ
  5. ในรุ่น Tyvek 500 และ 600 ผ่านการทดสอบมาตรฐาน EN14126 เบื้องต้น ตาม ISO16603 class 3 (ทดสอบการป้องกันเลือด)  ส่วน รุ่นที่ผ่านการทดสอบ ISO16604 จะมีแต่รุ่น Tyvek 800 เท่านั้น

ตัวอย่างแบรนด์สินค้าในตลาด:

  • Dupont Tyvek 400, 500, 600, 800

 

ประเภทของการตะเข็บผ้า (Seam Type)

ตะเข็บผ้าที่ใช้ในชุดกันเชื้อโรคและสารเคมี แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

  1. ตะเข็บเย็บแบบธรรมดา (Serged Seam)

เป็นการเย็บผ้า ที่นำผ้ามาต่อกันโดยใช้การเย็บแบบปกติ มักใช้ในชุดที่ใช้ป้องกันฝุ่นและละอองของเหลวที่ไม่มีแรงดัน หรือมีเล็กน้อย มีระดับการป้องกันในมาตรฐาน EN Type 5 และ Type 6

  1. ตะเข็บเย็บแบบผ้าหุ้มทับ (Bound Seam)

เป็นการเย็บผ้า ที่นำผ้ามาทบต่อกันและมีการนำผ้าอีกชิ้นมาปิดทับรอยต่อก่อน แล้วค่อยเย็บ เพื่อป้องกันของเหลวและสิ่งสกปรกเข้าตรงรอยต่อ ป้องกันละอองของเหลวที่มีแรงดัน เช่น จากการฉีดพ่นเคมีต่างๆ มักใช้ในชุดที่มีระดับการป้องกันในมาตรฐาน EN Type 4 และ Type 3

  1. ตะเข็บเย็บแบบทับด้วยเทปความร้อน (Heat Sealed Seam)

เป็นการเย็บผ้า ที่นำผ้ามาพับทบซ้อนทับกัน แล้วปิดทับด้วยเทปเชื่อมความร้อน เพื่อป้องกันของเหลวและแรงดันจากก๊าซต่างๆ มักใช้ในชุดที่มีระดับการป้องกันในมาตรฐาน EN Type 2  และ Type 1

  1. ตะเข็บเย็บแบบทับด้วยเทปความร้อน 2 ด้าน (Heat Sealed Plus Seam)

เป็นการเย็บผ้า ที่นำผ้ามาพับทบซ้อนทับกัน แล้วปิดด้วยเทปเชื่อมความร้อน เพื่อป้องกันของเหลวและแรงดันจากก๊าซต่างๆ และเพิ่มเทปในส่วนภายในชุดอีกครั้งนึงด้วย มักใช้ในชุดที่มีระดับการป้องกันในมาตรฐาน EN Type 1

สนใจดูสินค้าชุดป้องกันต่างๆ ได้ที่ 

https://www.pholonline.com

ข้อมูลอ้างอิง:

http://www.microgard.com/

https://www.dupont.com

https://www.lakeland.com/

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

มาตรฐานรองเท้านิรภัยของสหภาพยุโรป EN345

แชร์บทความนี้

รองเท้านิรภัยคู่ใดจะได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน EN345 อันเป็นข้อบังคับหลักของยุโรปหรือเครื่องหมายมาตรฐาน ISO EN20345 ซึ่งได้กำหนดขึ้นมาใหม่

อ่านต่อ »

Face Mask, Surgical Mask/Medical Mask, Respirators ตามนิยามสากล

แชร์บทความนี้

ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสการส่วมใส่หน้ากากและการเว้นระยะห่าง กลายเป็นเรื่องพื้นฐานที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม »

ค่าเลือดต่างๆ ที่ได้จากการตรวจสุขภาพ หมายถึงอะไรบ้าง และบ่งบอกถึงอะไรในร่างกาย

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้หลายท่านที่ได้ทำการตรวจสุขภาพประจำปี แล้วได้ทราบค่าตัวเลขเต็มไปหมดท

อ่านเพิ่มเติม »