เครื่องหมายมาตรฐานถุงมือนิรภัย (Safety Gloves Standard)

แชร์บทความนี้

เครื่องหมายมาตรฐานถุงมือนิรภัย (Safety Gloves Standard)

รหัสประเภทแยกตามมาตรฐาน EN-Standards ดังต่อไปนี้

EN374   ถุงมือสำหรับป้องกันงานเคมีและอนุภาคขนาดเล็ก

EN381    ถุงมือสำหรับป้องกันงานเลื่อยด้วยมือ

EN388    ถุงมือสำหรับป้องกันงานเครื่องจักร

EN407    ถุงมือสำหรับป้องกันงานที่ใช้ความร้อนสูง

EN420    ถุงมือสำหรับป้องกันงานทั่วไป

EN421    ถุงมือสำหรับป้องกันงานรังสี,ไออนและสารเจือปนรังสี

EN455    ถุงมือสำหรับป้องกันงานการแพทย์

EN511    ถุงมือสำหรับป้องกันงานเย็น

EN659    ถุงมือสำหรับป้องกันงานดับเพลิง

EN30819  ถุงมือสำหรับป้องกันการลื่นไหล,การสั่นสะเทือน

EN1082   ถุงมือสำหรับป้องกันมือจากของมีคม เช่นมีด

EN pending   ถุงมือสำหรับงานเชื่อม

EN60903   ถุงมือสำหรับป้องกันงานไฟฟ้า (ถุงมือเป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้า)


ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถุงมือที่ใช้อุตสาหกรรมจะต้องผ่านมาตรฐานหลักๆ คือ

มาตรฐาน EN388, EN407, EN511 ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้

เครื่องหมายมาตรฐานถุงมือนิรภัย (Safety Gloves Standard)

มาตรฐาน EN388 

มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่บ่งบอกถึงลักษณะทางกายภาพเชิงกลของถุงมือ ว่ามีความทนต่อการใช้งานในลักษณะใดบ้าง โดยจะใช้เลข 4 หลัก โดยในเลขแต่ละหลักจะบ่งบอกถึงลักษณะการทนต่อการใช้งานที่ต่างกันดังต่อไปนี้

  1. การทนต่อการเสียดสี: ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบที่ต้องผ่านการเสียดสี
  2. การทนต่อการบาดคม: ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบต้องตัดผ่านถุงมือตัวอย่างด้วยความเร็วคงที่.
  3. การทนต่อแรงเฉือน: ขึ้นกับแรงเฉือนที่กระทำต่อตัวอย่าง.
  4. การทนต่อการเจาะทะลุ: ขึ้นกับแรงเจาะในลักษณะแบบเป็นจุดเดียวที่กระทำต่อตัวอย่าง.  
Performance level12345
a. การทนต่อการเสียดสี (รอบ)10050020008000n/a
b. การทนต่อการบาดคม (factor)1.22.55.010.020.0
c. การทนต่อแรงเฉือน (นิวตัน)10255075n/a
d. การทนต่อการเจาะทะลุ (นิวตัน)2060100150n/a

มาตรฐาน EN407 

มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่บ่งบอกถึงลักษณะในการกันความร้อนของถุงมือในลักษณะต่างๆ โดยจะใช้เลข 6 หลัก โดยในเลขแต่ละหลักจะบ่งบอกถึงลักษณะการทนต่อการใช้งานที่ต่างกันดังต่อไปนี้

Resistance to flammability

– การต้านทานเปลวไฟ(ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)

Contact heat resistance

– การทนต่อการสัมผัสของร้อน (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)

Convective heat resistance

– การหน่วงความร้อน (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)

Radiant heat resistance

– การต้านทานรังสีความร้อน (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)

Resistance to small splashes of molten metal

– การทนต่อสะเก็ดโลหะหลอมขนาดเล็ก (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)

Resistance to large splashes of molten metal – การทนต่อสะเก็ดโลหะหลอมขนาดใหญ่(ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)

โดยถุงมือทุกถุงมือต้องผ่าน EN388 เรื่องการทนการเสียดสี และกันบาดในระดับ 1

การต้านทานเปลวไฟ
ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่วัสดุถุงมือไหม้ไฟและลามออกมา หลังจากได้นำสิ่งของที่ติดไฟออกไปแล้ว. โดยที่ตะเข็บของถุงมือไม่หลุดออกมาหลังจากที่ติดไฟเวลา 15 วินาที.

การทนต่อการสัมผัสของร้อน
ขึ้นอยู่กับช่วงอุณหภูมิ (100-500 องศาเซลเซียส) ที่ผู้ใช้จะไม่รู้สึกเจ็บปวดอย่างน้อย 15 วินาที ซึ่งถ้าหากได้ EN ข้อมูลระดับ 3 หรือสูงกว่าในการทดสอบนี้ จะถือว่าผลิตภัณฑ์นี้ได้ EN อย่างน้อย 3 ระดับในการทดสอบเปลวไฟด้วย แต่ถ้าหากไม่ได้ ระดับสูงสุดจะได้เพียงที่ระดับ 2 


การหน่วงความร้อน
ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถุงมือสามารถหน่วงเวลาการโอนความร้อนจากเปลวไฟ โดยระดับประสิทธิภาพนี้จะถูกระบุก็ต่อเมื่อถ้าได้ประสิทธิภาพ level 3 หรือ 4 ในการทดสอบ flammability.


การต้านทานรังสีความร้อน

ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถุงมือสามารถหน่วงเวลาการโอนความร้อนจากรังสีความร้อน โดยระดับประสิทธิภาพนี้จะถูกระบุก็ต่อเมื่อถ้าได้ประสิทธิภาพ level 3 หรือ 4 ในการทดสอบ flammability.

การทนต่อสะเก็ดโลหะหลอมขนาดเล็ก
จำนวนโลหะหลอมหยดลงบนถุงมือที่จะทำให้ถุงมือตัวอย่างร้อนเพื่อระบุระดับ โดยระดับประสิทธิภาพนี้จะถูกระบุก็ต่อเมื่อถ้าได้ประสิทธิภาพ level 3 หรือ 4 ในการทดสอบ flammability.


การทนต่อสะเก็ดโลหะหลอมขนาดใหญ่
น้ำหนักของโลหะหลอมที่จะทำให้เกิดรูทะลุเข้าไปหลังถุงมือตัวอย่าง โดยการทดสอบจะล้มเหลวหากโลหะหลุดคาที่ถุงมือหรือหากมีการติดไฟ

Performance levels1234
a. การต้านทานเปลวไฟ (เวลาไหม้ของไฟที่ติด)<20 s<10 s<3 s<2 s
a. การต้านทานเปลวไฟ (เวลาไหม้ลาม)no requir.<120 s<25 s<5 s
b. การทนต่อการสัมผัสของร้อน (อุณหภูมิ)100°C250°C350°C500°C
b. การทนต่อการสัมผัสของร้อน (เวลาที่สัมผัส)>15 s>15 s>15 s>15s
c. การหน่วงความร้อน(วินาที)>4 s>7 s>10 s>18 s
d. การต้านทานรังสีความร้อน (วินาที)>7 s>20 s>50 s> 95 s
e. การทนต่อสะเก็ดโลหะหลอมขนาดเล็ก(จำนวน)>10>15>25>35
f. การทนต่อสะเก็ดโลหะหลอมขนาดใหญ่(น้ำหนัก)30 g60 g120 g200 g

มาตรฐาน EN511

 มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่บ่งบอกถึงลักษณะในการกันความเย็นของถุงมือที่ – 50 องศาเซลเซียส ในลักษณะต่างๆ โดยจะใช้เลข 3 หลัก โดยในเลขแต่ละหลักจะบ่งบอกถึงลักษณะการทนต่อการใช้งานที่ต่างกันดังต่อไปนี้

Resistance to convective cold

– การหน่วงความเย็น(ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)

Resistance to contact cold

– การทนต่อการสัมผัสของเย็น (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 4)

Permeability by water

– การซึมเข้าของน้ำ (ประสิทธิภาพระดับ 0 – 1)

โดยถุงมือทุกถุงมือต้องผ่าน EN388 เรื่องการทนการเสียดสี และกันบาดในระดับ 1

การหน่วงความเย็น
ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติฉนวนกันอุณหภูมิของถุงมือที่ได้จากการวัดการหน่วงเวลาในการส่งผ่านความเย็น

การทนต่อการสัมผัสของเย็น
ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติฉนวนกันอุณหภูมิของถุงมือที่ได้จากการสัมผัสของเย็น

การซึมเข้าของน้ำ
0 = น้ำซึมเข้าได้หลังจากอยู่ในอากาศเย็น 30 นาที; 1 = ไม่มีน้ำซึม.

Performance level01234
a. การหน่วงความเย็น
Thermal insulation ITR in m2°C/W
ITR<0.100.10<ITR<0.150.15<ITR<0.220.22<ITR<0.300.30<ITR
b. การทนต่อการสัมผัสของเย็น Thermal resistance R in m2.°C/WR<0.0250.025<R<0.0500.050<R<0.1000.100<R<0.1500.150<R
c. การซึมเข้าของน้ำFailPassn/an/an/a

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

The New ANSI Z87.1-2003

แชร์บทความนี้

จากการที่มาตรฐานใหม่ ANSI Z87.1-2003 ได้รับการอนุมัติ หลังจากคณะกรรมการ ANSI

อ่านต่อ »

การเลือก “หนัง” รองเท้าเซฟตี้

แชร์บทความนี้

รองเท้านิรภัย หรือรองเท้าเซฟตี้ ตามมาตรฐานทั้ง มอก. และ EN20345 ได้ กำหนดคุณสมบัติของหนัง รองเท้านิรภัย ให้สามารถทำได้จาก หนังแท้

อ่านต่อ »