Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ ELECTROCHEMICAL รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

แชร์บทความนี้

จากบทความที่แล้วเรื่องของ sensor วัดแก๊สติดไฟ ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ  Electrochemical  เพื่อให้ทราบหลักการ รู้ข้อจำกัด และสามารถใช้งานได้เป็นไปอย่างถูกต้อง และปลอดภัย

Sensor วัดแก๊สพิษ

หลักการของ sensor ชนิดนี้จะต้องมีการบรรจุสารละลายเข้าไปในตัว sensor มีส่วนที่เป็นขั่วไฟฟ้า และมีวงจรวัดค่ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากปฏิกริยาเคมี เมื่อทราบส่วนประกอบแล้วเรามาดูหลักการทำงานของ sensor แบบ Electrochemicalกัน 

เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้นจะยกตัวอย่างการทำงานของ sensor ชนิดตรวจวัดแก๊ส  CO (คาร์บอนมอนอกไซด์) เมื่อแก๊สเป้าหมายในที่นี้คือ CO แพร่เข้าสู่ sensorแล้ว ในตัว sensor มีสารละลายที่มีส่วนประกอบของน้ำ H2O อยู่ส่วนหนึ่ง และสารละลายอื่นที่ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมเหมาะที่แก่การแตกตัวของโมลเลกุลของแก๊สที่จะเข้ามาสัมผัสสารละลายตามช่องทางที่ได้ออกแบบไว้ เมื่อแก๊ส CO เข้ามาแล้วสัมพัสกับสารละลายทำให้โมเลกุลของ CO ทำปฏิกริยาเข้ากับ H2O (น้ำ) แล้วไปดึง O (ออกซิเจน)ออกมาจนได้สมการเคมีใหม่คือ CO2  (คาร์บอนไดออกไซด์) แล้วผลัก H2 (ไฮรโดเจน) ให้ล่องลอยออกไป แล้วบังคับให้ไปจับกับ O2 (ออกซิเจน)ให้กลับมาเป็นน้ำในสารละลายอีกรอบ

จากสมการเคมีนำมาสู่การตรวจวัดค่าได้อย่างไร ให้เราลองนึกถึงแบตเตอรี่ดูนะครับหลักการจะคล้ายๆกัน คือ เมื่อเกิดการสูญเสียพันธะในการยึดเหนี่ยวแล้วทำให้อีเล็กตรอนแตกตัวออกมาและวิ่งเข้าหาขั่ว Electrode โปรตรอนวิ่งเข้าหาอีกขั่วหนึ่งที่เป็น Counter Electrode  การวิ่งของอีเล็กตรอนตรงนี่และครับก็จะทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาเพื่อเอาไปแปลงค่าโดยวงจรอีเล็คโทรนิกส์เพื่อกำหนดค่าในการแจ้งเตือนอันตรายจากแก๊สพิษเป้าหมาย

เมื่อเข้าใจหลักการของ sensor แล้วทำให้เรารู้ว่า sensor ชนิดนี้มีอายุที่ไม่ยืนยาวนัก ถึงแม้เราจะปิดตัวเครื่อง sensor ยังทำงานอยู่ตลอดเวลา การมีเครื่องวัดแก๊สแล้วเก็บไว้ไม่ได้ใช้ เพราะกลัวจะเก่าคงไม่มีประโยชน์แน่ สิ่งนี้จะสะท้อนสมรรถนะของเครื่องวัดแก๊สในเรื่องของราคา และการรับประกัน ให้เราเลือกกันตามกำลังและความเหมาะสม

ข้อดีของ Electrochemical  sensor คือ ราคาไม่สูงบางรุ่นสามารถวัดได้ 2 แก๊สใน 1 Sensor 

ข้อจำกัด ด้วยหลักการของ Electrochemical สำหรับแก๊สระเหยเร็วพวก VOCs แล้วเป็นเรื่องยากมากที่จะตรวจวัดได้ทันดังนั้น Sensor แบบนี้จึงไม่สามารถตรวจวัดได้จึงจำเป้นต้องใช้ Sensor อีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า PID sensor  เอาไว้เราจะมาเรียนรู้หลักการของ PID sensor ในครั้งถัดไป 

References

https://us.msasafety.com/Portable-Gas-Detection/c/114?isLanding=true

บทความเกี่ยวเนื่อง

หน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ % LEL หรือ %Vol (Volume)

https://thai-safetywiki.com/detector-imager/122-lel-vol-volume

Sensor วัดแก๊สติดไฟ รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

https://thai-safetywiki.com/detector-imager

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

ลงบ่อเกรอะเสียชีวิตได้อย่างไร จะรู้และป้องกันอย่างไร

แชร์บทความนี้

น่าเสียใจที่เราจะได้ข่าวเหตุการณ์ที่มีผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสูญเสียชีวิตขณะทำงานไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตามข่าวล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2020

อ่านต่อ »

เหตุผลที่ควรเลือกใช้ ชุดดับเพลิง ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานNFPA 1971

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดดับเพลิง ในท้องตลาดมีมากมาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการเลือกใช้งานเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ »

ระบบ Airline System กับงานพื้นที่อับอากาศ

แชร์บทความนี้

การทำงานในบ่อเกรอะเราจะมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยม ในการนำมาใช้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ตัวนี้เราจะเรียกมันว่า ระบบ Airline System …

อ่านต่อ »