คุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือไม่ ?

แชร์บทความนี้

เรากำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือไม่?

ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาเราคงจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามาบ้างแล้ว แน่นอนว่าเราทุกคนเคยเศร้าและอาจกำลังสงสัยอยู่ว่าที่เรากำลังเป็นอยู่นี้เรียกว่าโรคซึมเศร้าหรือไม่ จากความเครียดในปัจจุบันทั้งในสังคมและในการทำงานนั้น ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่ใครสักคนจะประสบปัญหาโรคซึมเศร้า แต่เราคือหนึ่งในคนที่กำลังป่วยอยู่หรือเปล่าล่ะ วันนี้เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้าได้บ้าง

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้า เป็นอาการผิดปกติของอารมณ์และสารในสมอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม โรคซึมเศร้าเป็นภาวะอารมณ์เศร้าหมองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลา 1-2 วันและหายไป แต่ผู้ป่วยจะจมอยู่กับความรู้สึกเศร้าหรืออารมณ์ที่หมองหม่นยาวนานเกิน 2 สัปดาห์ มีความรู้สึกเฉยชา ไม่สนใจสิ่งต่าง ๆ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและความสามารถในการทำงานในแต่ละวันลดลง ซึ่งก่อให้เกิดอาการทางจิตได้มากมาย การดำเนินชีวิตตามปกติอาจทำได้อย่างยากลำบากหรือรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่า อาจมีความคิดที่ทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายได้

สถิติของโรคซึมเศร้า

ปัจจุบันโลกของเรามีประชากรราว 7.6 พันล้านคน และมีคนเป็นโรคซึมเศร้าถึง 300 ล้านคน หรือเกือบ 4% เลยทีเดียว

ส่วนในคนไทยเองนั้นพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน หรือ 2.2% ของคนไทยทั้งหมด 69 ล้านคน และน่าตกใจว่าคนไทยฆ่าตัวตายไปแล้วถึง 4,000 คนต่อปี ซึ่งสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่ก็คือโรคซึมเศร้านั่นเอง

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น เชื่อกันว่าสัมพันธ์กับหลายๆ ปัจจัย ทั้งจากด้านกรรมพันธุ์ การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของจิตใจ รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว

  1. กรรมพันธุ์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง
  2. สารเคมีในสมอง พบว่าระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน โดยมีสารที่สำคัญได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ลดต่ำลง รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของเซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้ ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง ยาแก้ซึมเศร้าที่ใช้กันนั้นก็ออกฤทธิ์โดยการไปปรับสมดุลของระบบสารเคมีเหล่านี้
  3. ลักษณะนิสัย บางคนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง หรือ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูกทอดทิ้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมอาการอาจมากจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

6 สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า

  1. อารมณ์ที่เปลี่ยนไป

ในวัยรุ่นอาจมีอาการที่หงุดหงิดง่ายผิดปกติ กิจกรรมบางอย่างที่เคยทำแล้วปกติอาจจะไม่อีกต่อไป มีอาการรอไม่ได้ หงุดหงิดง่ายหากโดนรบกวนหรือโดนเรียกจากที่ไม่เคยหงุดหงิดก็หงุดหงิดได้

  1. เก็บตัวไม่สุงสิงกับใคร

สามารถสังเกตได้จากที่ก่อนหน้านี้อาจเป็นคนที่ออกไปพบเจอผู้คนหรือมีกิจกรรมที่ออกไปข้างนอกบ้าง แต่เปลี่ยนแปลงไป เริ่มเก็บตัวอยู่แต่ห้องหรืออยู่แต่บ้านไม่พูดคุยกับใครเป็นเวลานานๆ

  1. ผลการเรียนแย่ลง

ช่วงวัยของนักเรียนศึกษาที่กำลังเรียนอยู่อาการโรคซึมเศร้าอาจส่งผลต่อการเรียนได้เช่นกัน เนื่องจากขาดสมาธิในการเรียนไป สังเกตได้จากที่ผลการศึกษาอาจแย่ลงจากไปด้วย

  1. พฤติกรรมเสพติด

ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการเสพติดสารเสพติดแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ เกม โทรศัพท์ สื่อออนไลน์ การจดจ่อกับอะไรนานเกินไปจนไม่เป็นอันทำอะไรเลยก็อาจเป็นจุดสังเกตได้ว่าเรากำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือไม่

  1. ทำร้ายตัวเอง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าพบว่าจะมีการคิดถึงเรื่องความตายหรือการทำร้ายร่างกายตนเอง ซึ่งหากเป็นแบบนั้นแล้วควรได้ปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน

  1. อาการทางกายที่หาสาเหตุไม่ได้

อาจมีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ปวดหลัง พอได้พบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดก็ไม่พบอะไรผิดปกติ เนื่องจากอาจมีสาเหตุมาจากอาการของโรคซึมเศร้า

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้หรือเปล่า

อาการซึมเศร้านั้นมีด้วยกันหลายระดับตั้งแต่น้อยๆ ที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ไปจนเริ่มมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และบางคนอาจเป็นถึงระดับของโรคซึมเศร้า อาการที่พบร่วมอาจเริ่มตั้งแต่รู้สึกเบื่อหน่าย ไปจนพบอาการต่างๆ มากมายได้แต่ เราจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นโรคนี้หรือเปล่า

เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามภาวะอารมณ์เศร้า (Patient Health Questionnaire; PHQ9) เป็นแบบสอบถามทีใช้เพื่อช่วยในการประเมินว่าผู้ตอบมีมีภาวะซึมเศร้าหรือไม่ รุนแรงมากน้อยเพียงใด เป็นมากจนถึงระดับที่ไม่ควรจะปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ แบบสอบถามนี้ไม่ได้บอกว่าเป็นโรคอะไร เพียงแต่ช่วยบอกว่าภาวะซึมเศร้าที่มีอยู่ในระดับไหนเท่านั้น ในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่นั้น ผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้ายังต้องมีอาการที่เข้าตามเกณฑ์การวินิจฉัยของแพทย์อีกด้วย

แบบสอบถามภาวะอารมณ์เศร้า https://med.mahidol.ac.th/infographics/76

ข้อดีอย่างหนึ่งของแบบสอบถามนี้คือสามารถใช้ช่วยในการประเมินระดับความรุนแรงของอาการได้ ติดตามอาการดีขึ้นหรือเลวลง การรักษาได้ผลหรือไม่ ผู้ป่วยอาจทำและจดบันทึกไว้ทุก 1-2 สัปดาห์ โดยถ้าการรักษาได้ผลดีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นโดยมีค่าคะแนนลดลงตามลำดับ

เกณฑ์การวินิจฉัย

มีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการหรือมากกว่า

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้าแทบทั้งวัน
  2. ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมากแทบทั้งวัน
  3. น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
  4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
  5. กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
  6. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
  7. รู้สึกตนเองไร้ค่า
  8. สมาธิลดลง ใจลอย การตัดสินใจแย่ลง
  9. คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย

“หากมีอาการเหล่านี้และเป็นอยู่นานเกิน 2 เดือนควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำหรือได้รับการรักษา”

คำที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ในบางครั้งที่เราต้องเป็นผู้รับฟังคำปรึกษาจากผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า เราอาจไม่รู้เลยว่าคำพูดที่เราพยายามปลอบใจเขาบางทีมันอาจฟังดูเหมือนไปย้ำหรือซ้ำเติมแผลในใจของผู้ป่วยให้มากไปอีก การบอกว่าอย่าคิดมาก ในกรณีนี้แล้วถ้าผู้ป่วยเลือกได้เขาคงไม่อยากจะคิดมากเหมือนกัน เรามาดูกันว่ามีคำไหนบ้างที่เราไม่ควรพูดกับผู้ป่วยในโรคซึมเศร้า

สรุป

หลังจากที่เราอ่านมาแล้วหากพบว่าตัวเองเข้าข่ายการเป็นโรคซึมเศร้า ควรต้องพยายามระมัดระวังความคิดตัวเองและควบคุมความคิดตัวเองให้ดี หากิจกรรมทำพบกับผู้คนบ้างหรือออกกำลังกายแต่หากไม่สามารถทำได้และมีอาการซึมเศร้ามากๆ หรือยาวนานเกิน 2 สัปดาห์ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์หรือสายด่วนโทร 1323

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.praram9.com/depression/

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

https://www.phyathai.com/

อุปกรณ์Emergency Shower ชนิดSelf-Contained Eyewash

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าในการทำงานร่วมกับสารเคมีนั้นมีโอกาสที่ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับอันตรายจากสัมผัสสารเคมีดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจ…

อ่านต่อ »

เครื่องวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้วทำงานอย่างไร ทำไมวัดปากกาแล้วค่าขึ้น ?

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ในสถานการณ์ตอนนี้ เชื่อว่าเครื่องมือที่เป็นพระเอกในการติดตามอาการป่

อ่านเพิ่มเติม »

ถังดับเพลิงระเบิดเพราะอะไร ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ระเบิด มาตรฐานถังดับเพลิง มอก.822-2532 และใบบันทึกตรวจสอบถังดับเพลิง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้หลายคนคงได้รับข่าวเร็วๆที่ผ่านมานี้ว่า เกิดเหตุถังดับเพลิงระเบิดจนท

อ่านเพิ่มเติม »

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร

แชร์บทความนี้

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ววัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ถูกแบ่งแยกเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้เกิด

อ่านเพิ่มเติม »