ถุงมือแบบใช้ซ้ำคืออะไร และใช้ยังไงให้ปลอดภัย

แชร์บทความนี้

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับถุงมือแบบใช้ซ้ำ อย่างที่เราทราบกันว่าการผลิตถุงมือนั้น มักจะมีขั้นตอนการผลิต จากการทำโครงของถุงมือแล้วนำไปจุ่มในวัสดุเคลือบตามที่ต้องการ จึงได้ถุงมือออกมาให้เราได้ใช้กัน ดังนั้นสิ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับถุงมือแบบใช้ซ้ำมีดังนี้ครับ

โครงสร้างของถุงมือ ถุงมือแบบใช้ซ้ำ จะมีโครงการที่แข็งแรง ทนทานกว่าถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง โดยส่วนใหญ่จะมีความหนาและความยาวมากกว่า และด้านในถุงมืออาจจจะมีซับในหรือไม่มีก็ได้ วัสดุที่ใช้ในการซับใน (Lining) ก็จะมีหลากหลาย เช่น POLYAMIDE, POLYESTER หรือแม้กระทั่งเส้นใยกันบาด HPPE แต่ที่นิยมใช้กัน จะเรียกว่า Flocklined ซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติ ให้การซึมซับสูง ไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ และสะดวกสบายแก่ผู้สวมใส่ ที่มักจะใช้ในการผลิตถุงมือไนไตรสีเขียว แบบใช้ซ้ำ ครับ

วัสดุเคลือบถุงมือ (Coating Material) มีด้วยกันหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการป้องกัน หรือคุณสมบัติใดที่เราต้องการ เช่น ยางธรรมชาติ (NATURAL RUBBER) ที่มีข้อดีในเรื่องความยืดหยุ่น แต่มีจุดอ่อนในด้านโปรตีนที่ทำให้เกิดการแพ้, พีวีซี(PVC) ที่มีจุดเด่นในด้านการป้องกันกรด แต่มีจุดอ่อนด้านการป้องกันตัวทำละลาย หรือแม้กระทั่ง ยางไนไตร (NITRILE) ที่เรารู้จักกันดี ยังมีจุดเด่น ด้านความคงทน และป้องกันน้ำมันหรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้ดีเยี่ยม แต่ก็มีจุดอ่อน ด้านการป้องกันตัวทำละลายที่มีคีโตน กรดออกซิไดซ์ และสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน นอกจากตัวอย่างข้างต้น ยังมีวัสดูอีกหลากยประเภทที่ใช้ในการเคลือบถุงมือ ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัสดุเคลือบแต่ละชนิดจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการในป้องกันสารเคมี

ขอบถุงมือ (Cuff Style) ก็จะมีให้เลือกมากมาย เช่น ขอบแบบเรียบ ขอบม้วน ขอบแบบจีบ อยู่กับความต้องการ และความเสี่ยงของผู้ใช้งาน เช่น ขอบแบบม้วน (Beaded) ออกแบบสำหรับความคงทนเวลาดึงถุงมือ มักใช้ในถุงมือที่บาง

ตัวอย่างขอบถุงมือแบบต่างๆ

ลายของถุงมือ (Grip) โดยหลักแล้วลายถุงมือ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการลื่น เวลาหยิบจับสิ่งของ ให้กระชับไม่ลื่นหลุด บางลายออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดลายนิ้วมือที่ชิ้นงาน ซึ่งลายถุงมือแต่ละลาย จะให้การสัมผัสที่แตกต่างกัน บางลายมีความหนาแต่ยึดเกาะดี บางลายเป็นลายแบบบาง จะเน้นในด้านการสัมผัสชิ้นงานครับ ซึ่งมีหลากหลายแบบ ดังรูป

และทุกคร้งหลังจากใช้งานเสร็จ ก็ต้องทำความสะอาดก่อนทำการจัดเก็บ โดย

1 ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดในลักษณะน้ำไหลผ่าน

2 ทำให้แห้งก่อนและถอดออก

3 พ่นฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ ความเข้มข้น 70-75%

4 ปล่อยให้ถุงมือแห้งสนิทประมาณ 10 นาที ก่อนจัดเก็บ หรือใช้งานครั้งต่อไป

 

 

 

มาตรฐานรองเท้านิรภัยของสหภาพยุโรป EN345

แชร์บทความนี้

รองเท้านิรภัยคู่ใดจะได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน EN345 อันเป็นข้อบังคับหลักของยุโรปหรือเครื่องหมายมาตรฐาน ISO EN20345 ซึ่งได้กำหนดขึ้นมาใหม่

อ่านต่อ »

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร

แชร์บทความนี้

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ววัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ถูกแบ่งแยกเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้เกิด

อ่านต่อ »

การเลือกหน้ากากกันฝุ่น กันเชื้อโรค

แชร์บทความนี้

เราจึงควรต้องมีความรู้ ในการเลือกหน้ากากให้ถูกชนิดจึง แนะนำการเลือกหน้ากากกันโรค เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยได้…

อ่านเพิ่มเติม »