หน้ากากกรองสารพิษที่เราใช้ ใช่สำหรับเราไหม………….?

แชร์บทความนี้

หน้ากากกรองสารพิษที่เราใช้ 

     ใช่สำหรับเราไหม………….?

 

หากมองผิวเผินคงจะไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร เพียงแค่การเลือกชนิดของการกรองให้ตรงกับหน้างานหรือ สารเคมีที่เราจะป้องกันตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็สามารถป้องกันได้ในระดับเบื้องต้นแล้ว แต่ถ้าหากอยากจะให้มั่นใจในระดับที่สูงขึ้นไปอีก ก็จำเป็นจะต้องทราบปัจจัยบางอย่างเพิ่ม เพื่อมาคำนวณให้เกิดความแม่นยำ และความมั่นใจแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งบางครั้งประสิทธิภาพการป้องกันก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต

ในครั้งนี้เราจะมาศึกษาวิธีการคำนวณในแบบละเอียดที่เราสามารถบอกกับตัวเองและผู้ปฏิบัติงานได้ว่า หน้ากากกรองสารพิษ หรืออุปกรณ์ที่เราใช้ ใช่สำหรับเราไหม

โดยจะอาศัยการอ้างอิงข้อมูลในการคำนวณ จาก Datasheet ของ Clean Air Safety ในฝั่ง Europe เป็นหลัก เนื่องจากมีการให้รายละเอียดที่เห็นภาพได้ชัดเจน (ในแต่ละผู้ผลิตเองก็จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของ มาตรฐาน และระดับของการป้องกัน)

สิ่งที่จะต้องทราบเพื่อใช้ในการคำนวณ
1.จะต้องทราบค่าความเข้มข้น ของสารที่จะป้องกันในหน้างานหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อลูกบาศ์เมตร
2.ค่าความปลอดภัยที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานสากล World Place Exposure Limit (WEL) เราสามารถ
Download ได้จาก HSE publication EH40/2005 โดยเราจะใช้ค่า (TWA) หรือ ค่า(STEL)
3.สมการที่ใช้ในการหาค่าการป้องกันต่ำสุดที่อุปกรณ์ป้องกันจะป้องกันได้ (Minimum Protection Factor)
4.ตรวจสอบและเลือกอุปกรณ์ที่มาตรฐานกำหนดว่าป้องกันได้

ตัวอย่าง การคำนวณค่าการป้องกันที่อุปกรณ์ป้องกันควรจะทำได้ไม่เกินลิมิตของอุปกรณ์ (Minimum Protection Factor)

สถานที่ทำงานมีสารปนเปื้อน อะซิติกแอนไฮไดรด์ (Acetic anhydride)
ความเข้มข้นในสถานที่ทำงาน ตรวจพบมีค่า 100 มก./ลบ.ม. (Concentration at the workplace)
ค่าความปลอดภัยที่ยอมรับได้ 2.5 มก./ลบ.ม. (WEL)

สมการ

ดังนั้น จากการคำนวณแล้วเราต้องเลือกใช้อุปกรณ์ ที่ค่าการป้องกันต่ำสุดไม่ต่ำกว่า 40  โดยดูจากตารางค่า Nominal Protection Factors (NPF) หรือ Assigned Protection Factors (APF) ในบางประเทศ เพื่อเลือกและตรวจสอบอุปกรณ์

 

จากตารางจะเห็นได้ว่า อะซิติกแอนไฮไดรด์ (Acetic anhydride) ในรูปของแก๊ส สามารถใช้หน้ากาก Half Mask และ Filter ตามมาตรฐาน EN143 (ใส้กรองแก๊ส หรือ ใส้กรองแก๊ส+Particle P3) ได้อย่่างปลอดภัย

สนใจดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pholonline.com

 

Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ ELECTROCHEMICAL รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

แชร์บทความนี้

จากบทความที่แล้วเรื่องของ sensor วัดแก๊สติดไฟ ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ Electrochemical เพื่อให้ทราบหลักการ

อ่านต่อ »

เหตุผลที่ควรเลือกใช้ ชุดดับเพลิง ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานNFPA 1971

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดดับเพลิง ในท้องตลาดมีมากมาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการเลือกใช้งานเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ »

The New ANSI Z87.1-2003

แชร์บทความนี้

จากการที่มาตรฐานใหม่ ANSI Z87.1-2003 ได้รับการอนุมัติ หลังจากคณะกรรมการ ANSI

อ่านต่อ »

ประเภทของสารเคมีที่จะจัดเก็บ  Type of Chemical to be stored ที่จะทำให้ง่ายต่อการทำงานและปลอดภัย

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้การใช้สีและการติดฉลากบ่งในการจัดเก็บให้เป็นแนวทางปฏิบัติจะช่วยให้สา

อ่านเพิ่มเติม »

เหตุผลที่ควรเลือกใช้ ชุดดับเพลิง ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานNFPA 1971

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดดับเพลิง ในท้องตลาดมีมากมาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการเลือกใช้งานเป็นอย่างมาก

อ่านเพิ่มเติม »