หัวชาร์จรถ EV เป็นแบบไหน มีกี่แบบ Quick Charge ใช้เวลาเท่าไหร่

แชร์บทความนี้

หากใครกำลัง หาข้อมูลประกอบการตัดสินใจของรถ EV แล้วรถ EV แต่ละแบรนด์นั้นระบบการชาร์จไฟอาจจะไม่เหมือนกัน วันนี้เรามีข้อมูลมาบอกกันครับ มีกี่แบบ และระบบ Quick Charge เร็วแค่ไหน

 

รูปแบบการชาร์จ

การชาร์จสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระบบ 

ระบบ AC เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ Wall Charger สามารถชาร์จแบตเตอร์รี่รถไฟฟ้า EV จาก 10 – 80% ได้ในระยะเวลา 4 – 7 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า และ การชาร์จระบบ AC นับเป็นวิธีการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีต้นทุนถูกที่สุด ณ ปัจจุบันนี้

**ก่อนติดตั้งควรเช็กปริมาณการใช้ไฟในบ้านร่วมกับเครื่องชาร์จไฟก่อนว่า ระบบไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่รองรับการใช้งานได้หรือไม่

ระบบ DC ไฟฟ้ากระแสตรง สามารถชาร์จได้ที่สถานีชาร์จ ปั๊มน้ำมัน เหมาะกับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบ 100% เพราะเป็นระบบไฟฟ้ากระแสตรงที่ให้ความรวดเร็วในการชาร์จ โดยสามารถชาร์จได้ 0 – 80% ในเวลาเพียง 40-60 นาที

**ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่รถยนต์

การชาร์จฯ แบบธรรมดา แบบ NORMAL CHARGE

การชาร์จรถยนต์ไฟจากการต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง มิเตอร์ไฟของบ้านต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 15(45)A และเต้ารับไฟในบ้านต้องได้รับการติดตั้งใหม่ เป็นเต้ารับเฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถใช้เต้ารับแบบธรรมดาได้

ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12-16 ชม.

ทั้งนี้การติดตั้งต้องได้รับมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานในระยะยาว โดยหัวชาร์จที่ใช้มีดังนี้

TYPE 1 หัวชาร์จที่นิยมใช้ทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสสลับใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ 120 V หรือ 240 V

TYPE 2 หัวชาร์จที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป เป็นหัวชาร์จแบบพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ รองรับแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 120 V หรือ 240 V

 

หัวชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้า มีกี่แบบ กี่ประเภท ?

การชาร์จฯ แบบธรรมดา แบบ NORMAL CHARGE

การชาร์จรถยนต์ไฟจากการต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง มิเตอร์ไฟของบ้านต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 15(45)A และเต้ารับไฟในบ้านต้องได้รับการติดตั้งใหม่ เป็นเต้ารับเฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถใช้เต้ารับแบบธรรมดาได้

การชาร์จฯ แบบธรรมดา แบบ DOUBLE SPEED CHARGE (เครื่องชาร์จ WALL BOX)

การชาร์จด้วยตู้ชาร์จติดผนังสามารถชาร์จได้รวดเร็วกว่าการต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง โดยหัวชาร์จที่ใช้จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ

  • TYPE 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น
  • TYPE 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในแถบทวีปยุโรป

การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge)

ชาร์จโดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็วในการชาร์จ โดยใช้เวลา 0% – 80% ใน 40-60 นาที ทั้งนี้เวลาความเร็วขึ้นอยู่กับความจุพลังงานแบตเตอร์รี่กิโลวัตต์/ชั่วโมง ซึ่งประเภทหัวชาร์จจะมีอยู่ 3 แบบ คือ

  1. CHArge de Move(CHAdeMo) แปลได้ว่า ชาร์จไฟแล้วขับต่อไป เป็นชื่อระบบชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งระบบ CHAdeMO มีการใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น
  2. GB/T เป็นหัวชาร์จที่มีประเทศจีนเป็นผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายในประเทศ ตอบรับการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศ
  3. Combined Charging System (CCS) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

3.1 CCS TYPE 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ลักษณะของหัวชาร์จมีขนาดเล็กกว่า CCS Type 2 และรองรับแรงดันไฟฟ้าที่ 200 V – 500 V

3.2 CCS TYPE 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป หัวชาร์จประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีกำลังไฟมากกว่าหัวชาร์จ CCS Type 1 ด้วย

สรุปได้ว่า รูปแบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีด้วยกัน 2 แบบ คือ AC และ DC ซึ่งทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันในเรื่องของความเร็วในการชาร์จ และนอกจากนี้ สถานีบริการพลังงานไฟฟ้าของต่างๆ ก็มีแผนจะทำจุดชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย เพื่อให้ผู้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ารู้สึกสะดวกสบายมากขึ้นและสามารถเติมพลังงานได้ทุกที่ที่ต้องการ เพราะในอนาคตข้างหน้าแน่นอนว่าจะต้องมีผู้ใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกมากแน่นอน เพราะฉะนั้นการเข้าใจถึงลักษณะการชาร์จ วิธีการและเวลาในหารชาร์จ เราก็จะสามารถวางแผนในการเดินทางเราได้อย่างลงตัวและไม่เสียเวลาในการเดินทางเลย ขอให้สนุกกับการใช้ลดไฟฟ้าและลดโลกร้อนไปด้วยกันนะ

ตู้จัดเก็บสารเคมีไวไฟ Flammable Storage Cabinet Requirements

แชร์บทความนี้

พื้นฐานในการป้องกันไฟอีกอย่างหนึ่งคือการใช้ ตู้จัดเก็บสารไวไฟ NFPA, OSHA และ UFC ได้กำหนดให้ ตู้จัดเก็บสารไวไฟได้รับการออกแบบและสร้าง….

อ่านต่อ »

ประเภทของสารเคมีที่จะจัดเก็บ  Type of Chemical to be stored ที่จะทำให้ง่ายต่อการทำงานและปลอดภัย

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้การใช้สีและการติดฉลากบ่งในการจัดเก็บให้เป็นแนวทางปฏิบัติจะช่วยให้สา

อ่านเพิ่มเติม »