การเลือกหน้ากากกันฝุ่น กันเชื้อโรค

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันมีมลภาวะทางอากาศมากมาย ไม่ว่าจะเกิด จากฝุ่น เชื้อโรค ทั้งแบคทีเรีย และไวรัสต่างๆ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หน้ากากอนามัยและหน้ากากป้องกันฝุ่น เป็นเครื่องมือนึ่งที่ช่วยป้องกันเราจากมลภาวะเหล่านี้ ซึ่งหน้ากากต่างๆก็มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมากมายและหลากหลายชนิด แต่รู้ไหมว่า สภาวะฝุ่นและเชื้อโรคในอากาศแต่ละประเภทมีลักษณะไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราจึงควรต้องมีความรู้ ในการเลือกหน้ากากให้ถูกชนิดจึง แนะนำการเลือกหน้ากากกันโรค เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยได้อย่างแท้จริง

แนะนำการเลือกหน้ากากกันโรค

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกหน้ากาก


1. จุดประสงค์ในการใช้หน้ากาก —- การใช้หน้ากาก โดยทั่วไปแล้วมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1.ผู้ที่ไม่ป่วย ใช้สำหรับป้องกันการสูดหายใจเอาละอองมลพิษหรือเชื้อโรคเข้าร่างกาย

ควรเลือกหน้ากากโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอก เน้นหน้ากากที่มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสมกับอนุภาคของฝุ่นและเชื้อโรค และความเสี่ยงในสถานที่นั้น

2.ผู้ป่วย ใช้สำหรับป้องกันการแพร่กระจายของละอองเชื้อโรคจากลมหายใจ ไอ หรือจาม ออกภายนอก

เน้นหน้ากากที่ป้องกันการซึมผ่านของเชื้อโรคผ่านการ ไอ จาม ได้ดี ใช้แล้วไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ และราคาไม่ควรแพงมากนัก

2. ประเภทของฝุ่นและเชื้อโรคที่จะป้องกัน

  • ฝุ่นทั่วไป หรือฝุ่นหยาบ — ฝุ่นโดยทั่วไป เป็นฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ ที่เราพอมองเห็นด้วยตาเปล่า อนุภาคมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-10 ไมครอน สามารถกรองได้ด้วยหน้ากาก Surgical Mask ( 3 ชั้น ) หรือถ้าใหญ่เกิน 5 ไมครอน สามารถใช้หน้ากากผ้า หรือหน้ากากกันฝุ่นทั่วไปได้
  • ฝุ่นละเอียด หรือ PM2.5 — เป็นฝุ่นละเอียด ขนาดอนุภาคมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน มีขนาดเล็กมากพอที่จะหายใจเข้าไปสู่ปอด และซึมผ่านผนังปอดเข้าสู่กระแสเลือด ไม่สามารถกรองได้ด้วยหน้ากากผ้า หรือหน้ากากกันฝุ่นทั่วไป ต้องใช้หน้ากากที่มีแผนกรองความละเอียดสูง
  • ละอองเชื้อโรค ( Droplet ) — เชื้อโรคออกมากับน้ำมูก น้ำลาย ที่หายใจหรือไอจามออกมา โดยทั่วไป ฝอยละอองจะมีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน และจะฟุ้งในอากาศไม่นาน แพร่ไปไม่ไกลนัก ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ซึงจริงๆแล้วตัวไวรัสเองมีขนาดเล็กมาก แต่เนื่องจากตัวไวรัสเองไม่สามารถลอยไปในอากาศได้เอง จำเป็นต้องเกาะไปกับพาหะ ถึงจะแพร่ไปสู่คนอื่นได้ ซึ่งเมื่อไวรัสรวมกับละอองแล้ว ขนาดอนุภาคจึงมากกว่า 5 ไมครอน ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยแผ่นกรองของหน้ากากอนามัยธรรมดา แต่ต้องมีการปิดที่มิดชิดกันการรั่วไหลของละอองเข้าทางรูของหน้ากาก
  • ฝุ่นเชื้อโรคในอากาศ Air-borne transmission — เชื้อโรคที่แพร่กระจายไปกับฝอยละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ซึ่ง ด้วยขนาดที่เล็ก ทำให้ฝอยละอองที่มีเชื้อนั้นกระจายไปได้ไกลในอากาศ โรคที่ติดต่อกันด้วยวิธีนี้ได้แก่ วัณโรคของระบบทางเดินหายใจ หัด (measles) ไข้อีสุกอีใส แบคที่เรียต่างๆ ไม่สามารถกรองได้ด้วยหน้ากากผ้า หรือหน้ากากกันฝุ่นทั่วไป ต้องใช้หน้ากากที่มีแผนกรองความละเอียดสูงเท่านั่น และเพื่อความปลอดภัย ควรเลือกใช้หน้ากากที่มีประสิทธิภาพการป้องกัน 90% ขึ้นไป เช่น หน้ากาก N95 / FFP2 


3. ความเสี่ยงจากความหนาแน่นของฝุ่นและเชื้อโรคในอากาศ

  • สภาพแวดล้อมนั้นๆ มีความเสี่ยงของการมีการแพร่ของฝุ่นและเชื้อโรคมากน้อยเพียงไร อาทิ หากบริเวณที่ใกล้จุดกำเนิด หรือในบริเวณที่แคบ ความเข้มข้นของฝุ่นและเชื้อโรคในอากาศก็จะมาก การเลือกหน้ากากก็ควรจะเลือกหน้ากากที่มีอัตราการรั่วต่ำ หรือมีค่า Average Protection Factor (APF)* สูง


4. สุขภาพของผู้ใช้

  • โดยทั่วไป หน้ากากที่มีค่า APF สูง จะหายใจได้ค่อนข้างลำบากในกรณีที่ ผู้ใช้มีปัญหาเรื่องการหายใจ อาจไม่สามารถใช้หน้ากากเหล่านี้ได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้หน้ากากที่มีระบบพัดลม ช่วยในการหายใจ


* Average Protection Factor (APF) คือ ค่าที่ใช้วัดระดับการป้องกันของหน้ากากแต่ละชนิด ตามมาตรฐาน The Occupational Safety and Health Administration (OSHA) ของสหรัฐอเมริกา

ตารางแนะนำเลือกใช้หน้ากาก

แหล่งหาข้อมูลเพิ่มเติม

www.cdc.gov/niosh/npptl/pdfs/UnderstandingDifference3-508.pdf

www.cdc.gov/niosh/npptl/RespiratorInfographics.html

 

การป้องกันอันตรายจากแสงเลเซอร์

แชร์บทความนี้

จากอันตรายที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าแสงเลเซอร์ไม่ว่าจะมีประโยชน์มากเพียงใด ก็ยังสามารถเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้

อ่านเพิ่มเติม »

ข้อกำหนดอ่างล้างตาและฝักบัวชำระล้างฉุกเฉินตาม ANSI Z358.1-2014 Standard

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันมาตรฐานสากลที่ใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายคือ ANSI Z358.1-2014 Standard (Versionปัจจุบัน) ซึ่งได้กำหนดหัวข้อสำคัญๆไว้ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม »