ถุงมือยางกันไฟฟ้า(Insulating Gloves)

แชร์บทความนี้

ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้านั้นอุปกรณ์PPEที่สำคัญที่จะขาดเสียมิได้นั่นคือ ถุงมือยางกันไฟฟ้าหรือInsulating Gloves นั่นเอง นอกจากนี้แล้วยังต้องคำนึงถึงถุงมือหนังสวบทับถุงมือยางกันไฟฟ้าด้วยเช่นเดียวกัน ในบทความนี้จะมาแนะนำการเลือกใช้งานถุงมือยางกันไฟฟ้าและถุงมือสวมทับเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

ในการเลือกใช้ถุงมือยางกันไฟฟ้านั้น ผู้ใช้งานจำเป็นต้องทราบว่าระดับแรงดันไฟฟ้าที่หน้างานนั้นว่ามีระดับแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่เท่าไร เช่น 220โวลท์, 380โวลท์ เป็นต้น และจะต้องทราบว่าเป็นไฟกระแสตรง(DC)หรือกระแสสลับ(AC) เมื่อเราทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วเราก็จะสามารถเลือกระดับการป้องกันของถุงมือยางกันไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องจากตางรางการเลือกใช้งานที่ผู้ผลิตแนะนำ(อ้างอิงมาจากค่าตามมาตรฐานกำหนด) แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนยังพบเจอการเลือกใช้ถุงมือยางกันไฟฟ้ากับระดับแรงดันไฟฟ้าผิดกันอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุที่เลือกผิดโดยทั่วไปสืบเนื่องมาจากการดูตารางการเลือกถุงมือผิด เพราะโดยทั่วไปผู้ผลิตจะแนะนำตารางการเลือกใช้มาให้ผู้ใช้งานตามตัวอย่างตารางด้านล่าง

จากตารางในการเลือกใช้ถุงมือยางกันไฟฟ้านั้นผู้ใช้งานต้องเลือกดูค่าแรงดันไฟฟ้าใช้งานจากช่อง “Max. Use Voltage AC/DC” เพราะเป็นระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุดของถุงมือยางกันไฟฟ้าในแต่ละClassที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในการทำงานปกติ

บ่อยครั้งที่ยังมีการเลือกใช้งานผิดเพราะผู้ใช้งานเลือกใช้ช่อง “Proof Test Voltage AC/DC” ซึ่งช่องนี้จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับแรงดันสูงสุดที่ใช้ในการทดสอบถุงมือนั้น ตามที่มาตรฐานกำหนดเท่านั้น (ทดสอบที่เวลา1-3นาที) ไม่ใช่ค่าที่มาตรฐานแนะนำสำหรับการใช้งานเพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้แล้วในการเลือกถุงมือหนังสวมทับถุงมือยางกันไฟฟ้าก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ทางผู้เขียนแนะนำให้เลือกใช้ถุงมือหนังสวมทับยี่ห้อเดียวกับถุงมือยางกันไฟฟ้า เหตุผลเพราะว่าระยะห่างระหว่างขอบถุงมือหนังสวมทับและถุงมือยางกันไฟฟ้าจะถูกกำหนดมาแล้วเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานจากโรงงานผู้ผลิต หากระยะห่างระหว่างขอบถุงมือหนังสวมทับและถุงมือยางกันไฟฟ้าไม่เหมาะสมกล่าวคือสั้นเกินไปแล้วนั้นอาจเกิดอันตรายรุนแรงจากการถูกไฟฟ้าช็อตได้ เพราะถุงมือหนังสวมทับถูกออกแบบมาให้ใช้เพื่อป้องการถุงมือยางกันไฟฟ้าถูกบาด เฉือน หรือ เจาะทะลุแต่ไม่ได้ผ่านการทดสอบการป้องกันแรงดันไฟฟ้าเช่นเดียวกับถุงมือยางกันไฟฟ้านั่นเอง

สนใจดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่

PHOLONLINE I ถุงมือกันไฟฟ้า – ถุงมือสำหรับงานเฉพาะ – ถุงมือเซฟตี้ – อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล

อุปกรณ์ป้องกันร่างกายสำหรับ การทำความสะอาดหลังน้ำท่วม

แชร์บทความนี้

การทำความสะอาดหลังน้ำท่วม ลดลงเราต้องใช้เวลา ความอดทนและความระวังเป็นอย่างมาก เพราะพื้นที่ที่เป็นบ้าน บริษัทหรือโรงงานของเรา ตอนนี้สภาพอาจ

อ่านต่อ »

เลือกวัสดุทำชุด PPE อย่างไร ให้ปลอดภัย

แชร์บทความนี้

ชุดป้องกันเชื้อโรค หรือ ชุด COVERALL / PPE มีด้วยกันหลายแบบ ซึ่งระดับการป้องกัน และความสบายในการสวมใส่จะขึ้นอยู่กับชนิดผ้า และชนิดตะเข็บ

อ่านต่อ »

ถังเก็บสารไวไฟ (Safety Storage) ตามมาตรฐาน OSHA

แชร์บทความนี้

เทคนิคอย่างหนึ่งในการลดอันตรายที่เกี่ยวกับของเหลวไวไฟและติดไฟได้คือการใช้ ถังบรรจุที่ปลอดภัย OSHA ได้ให้คำนิยามของ ถังบรรจุที่ปลอดภัย ว่า

อ่านเพิ่มเติม »