ไฟป่าคืออะไร สาเหตุของไฟป่า อันตรายจากไฟป่า ไฟป่าเป็นต้นเหตุของ pm2.5 มั้ย ?

แชร์บทความนี้

ไฟป่า คืออะไร?

ไฟป่า หมายถึง ไฟที่เกิดจากสาเหตุใดก็ตามแล้วลุกลามไหม้ในป่าได้โดยอิสระโดยไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าไฟจะลุกลามไหม้ในป่าธรรมชาติ หรือพื้นที่สาธารณะไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนและความแห้งของอากาศ ที่ทำให้พื้นที่หรือป่าแห้งและเกิดเป็นเปลวไฟ ซึ่งมักจะเกิดในช่วงฤดูแล้งที่มีอากาศร้อนจัด ซึ่งหากไฟป่ามีขนาดพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก จะสามารถดับได้โดยทีมผู้สืบสวนและทีมผู้ดับเพลิง โดยอาศัยการใช้น้ำและอุปกรณ์ดับเพลิงต่างๆ เช่น หัวฉีดน้ำ เครื่องดับเพลิง หรือถังน้ำแรงดันสูง

 

สาเหตุของไฟป่า

การเกิดไฟป่ามีได้หลากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. ไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากฟ้าผ่า อากาศร้อนขึ้น แสงตกกระทบกับผลึกหิน กิ่งไม้เสียดสีกัน ภูเขาไฟระเบิด
  2. ไฟป่าที่มีสาเหตุมาจากมนุษย์ การหาของป่า การจุดกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือพืชบางชนิดโดย รวมถึงการจุดเพื่อให้ป่าโล่งเพื่อลักลอบทำปศุสัตว์

 

อันตรายจากไฟป่า

ไฟป่าก่อเกิดความเสียหายอย่างมาก หากเกิดการไหม้ในวงกว้างทำให้สูญเสียพื้นที่ป่า ทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูกทำลาย ทำลายแหล่งอาหารของสัตว์ป่า สัตว์บางชนิดที่เคลื่อนที่ช้าจะถูกรมควันโดนไฟคลอกตายหรือสัตว์ป่าบางชนิดอาจเกิดการสูญพันธุ์

ไฟป่ามีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การเกิดไฟป่าจะทำให้เกิดเขม่าเป็นจำนวนมากทั้งที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและฝุ่นที่มองไม่เห็นมีขนาดเล็กขนาดเท่า PM10 หรือ PM2.5 ฝุ่นจากการเผาไหม้นี้สามารถลอยตามลมไปได้ไกลเป็นร้อยกิโลเมตรและสามารถลอยอยู่บนชั้นบรรยากาศได้นานนับเดือนหากไม่มีฝนตกลงมา

และเขม่าจากการเผาไหม้พวกนี้สามารถเป็นสารก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อร่างกายและผิวหนังของมนุษย์ หากสูดดมเข้าไปมากๆ จะสะสมในร่างกายก่อให้เกิดอาการแพ้หรือก่อให้เกิดโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคหอบหืด โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคมะเร็ง สำหรับคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายได้อาการสังเกตอาการได้อย่างชัดเจนหรือสะสมในร่างกายและส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวเป็นสิบปี

 

ไฟป่าเป็นต้นเหตุของ pm2.5 มั้ย ?

ฝุ่น PM2.5 เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งไฟป่าอาจไม่ใช่ต้นเหตุของการเกิดฝุ่น PM2.5 ทั้งหมดโดยตรงแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดฝุ่นชนิดนี้ และยังส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

เมื่อไฟป่าเกิดขึ้น จะมีการไหม้วัชพืช ต้นไม้และอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดควันและฝุ่นละอองในอากาศ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศและอากาศขาดความชื้นและมีลมแรง จะทำให้ไฟป่าขยายพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและส่งผลต่อคุณภาพของอากาศในพื้นที่โดยรอบ และจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ที่ต้องการหายใจ เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง และผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินหายใจ ดังนั้น ไฟป่าส่งผลต่อค่า PM2.5 และสามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ได้อย่างมาก

การฟุ้งกระจายของ pm2.5 ไปไกลแค่ไหน

ตามงานวิจัย พบว่า PM2.5 ที่เกิดจากไฟป่าสามารถกระจายได้ไกลถึงกว่า 100 กิโลเมตร โดยพบว่า PM2.5 มีความเข้มสูงสุดในบริเวณที่อยู่ใกล้กับจุดไฟไหม้ แต่สามารถพบได้ในระยะไกลจากจุดไฟไหม้ อย่างไรก็ตาม รัศมีการฟุ้งกระจายของ PM2.5 อาจแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขอากาศและสภาพแวดล้อมของแต่ละสถานที่ เช่น ลม การพัดพาของสภาพอากาศ สภาพอากาศและระยะจากแหล่งกำเนิด

 

เราจะเฝ้าระวังได้อย่างไรบ้าง

เบื้องต้นเราควรติดตามข่าวสารจากสื่อทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อตามโซเชียลต่างๆ ทั้งสภาพอากาศฤดูกาลที่เปลี่ยนไปหรืออุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงหน้าร้อน หรือสามารถติดตามสภาพอากาศได้จากเว็บไซต์สำนักงานป่าไม้แห่งชาติไทยซึ่งเราได้นำเว็บไซต์ที่สามารถตรวจสอบสภาพอากาศมาไว้ให้แล้วตามด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

สำนักงานป่าไม้แห่งชาติ: เป็นเว็บไซต์ของสำนักงานป่าไม้แห่งชาติ ซึ่งมีฟังก์ชันการเฝ้าระวังสภาพอากาศทั่วประเทศ รวมถึงเรื่องของไฟป่าและคุณภาพอากาศ โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานการณ์ได้ที่เว็บไซต์ https://www.dnp.go.th/

Air4thai เป็นเว็บไซต์ตรวจเช็คคุณภาพอากาศ และสามารถเลือกได้โดยเปลี่ยน Indicator เป็น CO ( คาร์บอนมอนน็อกไซ ) คาร์บอนมอนน็อกไซคือก๊าซพิษที่ออกมาจากการเผาไหม้ http://air4thai.pcd.go.th/

 

สรุป

ไฟป่านอกจากจะทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าแล้วหากมีการลุกลามายังเขตที่อยู่อาศัยอาจเกิดการเสียหายมากขึ้นตามไปอีก ทั้งสุขภาพชีวิตและทรัพย์สิน ส่งผลต่อเศรษฐกิจ หรือหากไฟป่าได้มอดไปแล้วแต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ยังคงอยู่โดยเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย

การเลือกหน้ากากกันฝุ่น กันเชื้อโรค

แชร์บทความนี้

เราจึงควรต้องมีความรู้ ในการเลือกหน้ากากให้ถูกชนิดจึง แนะนำการเลือกหน้ากากกันโรค เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยได้…

อ่านต่อ »

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านต่อ »

PID sensor สำหรับตรวจจับสารระเหยเร็ว (VOCs)

แชร์บทความนี้

จากข้อจำกัดของ Electrochemical sensor ในบทความเรื่องที่แล้วที่ไม่สามารถจะตรวจจับแก๊สพิษที่มีคุณสมบัติระเหยเร็วที่เราเรียกว่า

อ่านเพิ่มเติม »

เรื่องราวลึกลับของพิษร้ายจากแคดเมี่ยม : ภัยเงียบที่คุณต้องระวัง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ในยุคที่โลกกำลังเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว พลังแห่งความเจริญทางอุตส

อ่านเพิ่มเติม »