สแตนเลสขึ้นสนิมได้มั้ย ความแตกต่างของเกรดสแตนเลส

แชร์บทความนี้

เคยสงสัยกันมั้ยครับ คำว่า “สแตนเลสไม่ขึ้นสนิม” ตามที่แบรนด์ต่างๆใช้คำเหล่านี้เพื่อโฆษณา นั้นเป็นความจริงหรือไม่ หรือทำไมบางครั้งเราก็ยังเห็นสแตนเลสขึ้นสนิมได้ทำให้สงสัยว่ามันคือสแตนเลสจริงหรือไม่ วันนี้เรามีข้อมูลน่าสนใจมาแชร์กันครับ 

สแตนเลสนั้น ในทางโลหกรรมถือว่าเป็นโลหะผสมเหล็ก ที่มีโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 10.5% ชื่อในภาษาไทย แปลจากภาษาอังกฤษว่า stainless steel 

ทำไมสแตนเลสถึงไม่เป็นสนิม ?

เนื่องจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนในอากาศกับโครเมียมในเนื้อสแตนเลส เกิดเป็นฟิล์มบางๆ เคลือบผิวไว้ ทำหน้าที่ปกป้องการเกิดความเสียหายให้กับตัวสแตนเลสได้เป็นอย่างดี ปกป้องการกัดกร่อน และไม่ชำรุดหรือสึกกร่อนง่ายอย่างโลหะทั่วไป

ปัจจัยที่ทำให้สแตนเลสสามารถเกิดสนิมได้

การทำให้ Stainless steel เป็นสนิมคือการถูกทำลายฟิล์มโครเมียมออกไซด์ ที่เคลือบผิวออกไป ในสภาวะนี้จะสามารถทำให้ Stainless steel สามารถเกิดสนิมได้ ซึ่งก่อนที่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์จะก่อตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้งเช่น ถ้าเหล็กกล้าไร้สนิมถูกทำให้เกิดรอยขีดข่วน แล้วบริเวณรอยนั้นมีความชื้น ก็สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยากับธาตุเหล็กก่อนที่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์จะก่อตัวขึ้นมา ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดสนิมขึ้นได้ แล้วสารเคมี หรือสารอะไรบ้างที่เรารู้จักและใช้ในชีวิตประจำวันที่สามารถทำให้เกิดสนิมกับสแตนเลสได้เช่น

  1. น้ำบาดาล: น้ำบาดาลมีส่วนผสมของหินปูนและแร่ธาตุมากมาย รวมทั้งสารสนิมเหล็กที่ปะปนอยู่ในน้ำ การใช้สแตนเลสกับน้ำบาดาลสามารถทำให้สนิมเกิดขึ้น
  2. ฝุ่นละอองจากปูนซีเมนต์: ฝุ่นละอองจากปูนซีเมนต์สามารถทำให้เกิดคราบสนิมได้ โดยเฉพาะในกรณีที่บ้านตั้งอยู่ใกล้สถานที่ก่อสร้างหรือโรงงานผลิตปูนซิเมนต์
  3. ไอเกลือจากทะเล: ไอเกลือที่มีความเค็มมากมีความสามารถกัดกร่อนแร่ธาตุ จนสามารถทำให้เกิดสนิมได้
  4. กรดไฮโดรคลอริก: กรดไฮโดรคลอริกเช่น น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ มีความเข้มข้นสูงและสามารถกัดกร่อนสแตนเลสได้ สแตนเลสที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไปจึงไม่สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนจากกรดไฮโดรคลอริกได้

มาตรฐานที่กล่าวถึงสแตนเลสสตีล มีดังนี้:

  1. AISI (American Iron and Steel Institute):
    • AISI 304: เป็นสแตนเลสสตีลประเภทออสเทนนิติกที่เป็นที่นิยมมาก มีความต้านทานการกัดกร่อนและขึ้นรูปได้ดี ใช้ในงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
    • AISI 316: เป็นสแตนเลสสตีลประเภทออสเทนนิติกที่มีการเติมโมลิบดีนัม เพื่อเพิ่มความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนในสภาวะแวดล้อมที่มีความเป็น กรดหรือมีความเค็ม เช่น งานทางทะเล หรือในงานอุตสาหกรรม
  2. ASTM International:
    • ASTM A240: เป็นมาตรฐานสำหรับแผ่นและแถบสแตนเลสสตีลที่ใช้ในงานโครงสร้างและอุตสาหกรรมทั่วไป
    • ASTM A276: เป็นมาตรฐานสำหรับสแตนเลสและเหล็กโลหะผสมที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นส่วนทางวิศวกรรม
  3. ISO (International Organization for Standardization):
    • ISO 15510: มาตรฐานสำหรับสแตนเลสที่รวมถึงรายละเอียดขององค์ประกอบเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพ
    • ISO 9445: มาตรฐานสำหรับการทดสอบความต้านทานการกัดกร่อนของสแตนเลส
  4. EN (European Standards):
    • EN 10088: มาตรฐานสำหรับสแตนเลสที่รวมถึงองค์ประกอบเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ และวิธีการทดสอบ

มาตรฐานเหล่านี้ครอบคลุมถึงประเภทต่าง ๆ ของสแตนเลสสตีล ตั้งแต่ความสามารถในการขึ้นรูปไปจนถึงคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อน เพื่อช่วยในการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

การป้องกันและดูแลรักษาภาชนะหรืออุปกรณ์ที่เป็นสแตนเลส

  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของ “กรดไฮโดรคลอริก” ในการทำความสะอาดผลิตภัณฑ์สแตนเลส
  • หลังการใช้น้ำยาทำความสะอาด ควรล้างทิ้งทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน
  • การทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ปล่อยคราบน้ำหรือสิ่งสกปรกไว้บนพื้นผิวสแตนเลสเป็นเวลานาน

Sensor สำหรับวัดแก๊สติดไฟ รู้ไว้ ใช้ถูก

แชร์บทความนี้

หลังจากได้เรียนรู้เรื่องหน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ กันไปในบทความครั้งที่แล้ว ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor สำหรับวัดแก๊สติดไฟ เพื่อให้การใช้งานเป็นไป

อ่านเพิ่มเติม »