หวยเกษียณคืออะไร งวดนี้! รางวัลที่ 1 รับ 1 ล้านบาท ไม่ถูกหวยได้เงินคืนเต็มจำนวน ใครบ้างที่มีสิทธิซื้อ เงื่อนไขอะไรบ้าง

แชร์บทความนี้

ด้วยพฤติกรรมที่ชื่นชอบในการเสี่ยงดวงของสังคมไทย ทำให้เมื่อวานนี้ (6 มิถุนายน) เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณานโยบายสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ‘หวยเกษียณ’ โดยการนำนวัตกรรมเชิงนโยบายที่รวมเอาลักษณะการชอบเสี่ยงดวงของคนไทยมาเป็นแรงจูงใจในการเก็บออมที่ประชาชนก้าวสู่วัยเกษียณแต่ไม่มีเงินเก็บ 

สำหรับวิธีการคือ รัฐบาลจะมีการออกรางวัลทุกสัปดาห์ ส่วนสลากที่ไม่ถูกรางวัลจะเก็บสะสมเป็นเงินออม และสามารถถอนเงินที่ซื้อสลากทั้งหมดออกมาได้ตอนเกษียณ หรือตอนที่มีอายุ 60 ปี

หลักการออกรางวัล ซื้อสลากเกษียณ เป็นยังไง?

  • สลากเกษียณ ออกรางวัลทุกสัปดาห์ 
  • สลากที่ไม่ถูกรางวัลจะเก็บสะสมเป็นเงินออม
  • สามารถถอนเงินที่ซื้อสลากทั้งหมดออกมาได้ตอนเกษียณ เมื่ออายุ 60 ปี

สลากเกษียณ ราคาเท่าไร? 

  • สลากเกษียณออกโดยกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) 
  • เป็นสลากขูดแบบดิจิทัล ใบละ 50 บาท 
  • กำหนดให้ซื้อได้ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อเดือน 
  • เปิดให้ซื้อผ่านแอปพลิเคชัน กอช.

สลากเกษียณ ขายให้ใคร? ใครคือ กลุ่มเป้าหมาย

  • สมาชิก กอช. 
  • ผู้ประกันตน มาตรา 40 
  • แรงงานนอกระบบ

ตัวอย่างอาชีพที่สมัคร กอช.ได้คือเกษตรกร ค้าขาย แม่บ้าน เจ้าของร้าน ฟรีแลนซ์ ขับรถรับจ้าง แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง นักเรียน นิสิต นักศึกษา

การออกรางวัลสลากเกษียณ หวยออกวันไหน? 

  • ประชาชนสามารถซื้อสลากเกษียณได้ทุกวัน 
  • ออกรางวัลทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น. 
  • ผู้ถูกรางวัลจะได้เงินรางวัลทันที 
  • เงินค่าซื้อสลากจะถูกเก็บเป็นเงินออมในบัญชี กอช. ของผู้ซื้อสลากฯ แม้ว่าจะถูกรางวัลหรือไม่ก็ตาม (ซื้อหวยถูก หรือไม่ถูกหวยก็ได้เงินคืน ถอนเงินออกได้ตอนอายุ 60 ปี)

รายละเอียดเงินรางวัลสลากเกษียณ ถูกรางวัลได้เงินเท่าไร? 

  • รางวัลที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท จำนวน 5 รางวัล 
  • รางวัลที่ 2 จำนวน 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล

ขายสลากเกษียณงวดแรกวันไหน?

  • เริ่มขายสลากเกษียณงวดแรก ภายในปีงบประมาณ 2568 คอหวย นักเสี่ยงโชคค่อยติดตามกันเผื่อได้เป็นเศรษฐีคนต่อไปของประเทศไทย

มาตรฐานอ้างอิงอุปกรณ์PPEสำหรับใช้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตาม NFPA 70E : 2018

แชร์บทความนี้

มาตรฐานอ้างอิงสำหรับการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ NFPA 70E : 2018 ในหัวข้อนี้จะมาดูกันว่าอุปกรณ์PPE

อ่านต่อ »

แอมโมเนียคือ หากเกิดการรั่วไหล อันตรายแค่ไหนและอุปกรณ์ป้องกัน Ammonia

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้แอมโมเนียเป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ประกอบด้วยไนโตรเจนและไฮโดรเจน ม

อ่านเพิ่มเติม »

เบาหวาน สังเกตุอาการ พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงและอาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวานคือภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง

อ่านเพิ่มเติม »

โรคบาดทะยักคืออะไร สาเหตุ อาการ ความรุนแรง การป้องกัน และวิธีรักษา

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้โรคบาดทะยักเป็นหนึ่งในโรคที่มีความรุนแรงและเกิดจากสารพิษที่ถูกปล่อย

อ่านเพิ่มเติม »