วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

แชร์บทความนี้

เมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้รับแจ้งเหตุแผ่นดินไหวจาก กรมอุตุนิยมวิทยา เกิดเหตุแผ่นดินไหว ที่ประเทศเมียนมา ขนาด 6.4Magnitude ลึก 3 กิโลเมตร หลายจังหวัดในภาคเหนือรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน และเกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมาอีก 45 ครั้ง ทำให้อาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ฉะนั้น เราจำเป็นที่จะต้องรู้จักการรับมือเมื่อเจอแผ่นดินไหว กันครับ เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอีก จะได้มีวิธีรับมือครับ

อย่างแรกที่ต้องมีเลยนะครับ คือ สติ ให้เร่งหาที่ปลอดภัยและอย่าตกใจเกินไป เพราะการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจาก วิ่งเข้าวิ่งออกบ้านนี่แหละครับ

วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

1. หากอยู่ในอาคาร

ใช้หลักการ “DROP, COVER, and HOLD ON”

  • DROP (หมอบลง) – ลดตัวลงต่ำเพื่อป้องกันการล้ม
  • COVER (ป้องกันตัวเอง) – ใช้แขนป้องกันศีรษะ หรือหลบใต้โต๊ะที่แข็งแรง
  • HOLD ON (จับให้มั่น) – จับขาโต๊ะไว้จนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุด

ข้อควรปฏิบัติ

  • อยู่ห่างจากหน้าต่าง กระจก และชั้นวางของหนัก
  • หากไม่มีโต๊ะ ให้ใช้แขนป้องกันศีรษะแล้วหมอบชิดมุมห้อง
  • ห้ามใช้ลิฟต์ และ ห้ามวิ่งออกจากอาคารทันที
  • ข้อยกเว้น: หากอยู่ในอาคารที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรงและมีสัญญาณว่าจะพังถล่มทันที (เช่น ผนังแตกร้าวอย่างรวดเร็ว) การตัดสินใจหนีออกไปโดยเร็วอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ต้องมั่นใจว่าไม่มีเศษซากร่วงหล่น

2. หากอยู่นอกอาคาร

  • อยู่ห่างจากตึกสูง, ป้ายโฆษณา, สายไฟฟ้า และต้นไม้ใหญ่
  • หากอยู่ในที่โล่ง ให้นั่งหมอบลงและป้องกันศีรษะ

3. หากอยู่ในรถยนต์

  • จอดรถในที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงสะพานและเสาไฟฟ้า
  • อยู่ในรถและรัดเข็มขัดนิรภัยจนกว่าการสั่นจะหยุด
  • ห้ามจอดรถบนสะพานหรือทางยกระดับ

4. หากอยู่ใกล้ชายฝั่ง (เสี่ยงสึนามิ)

  • หลังแผ่นดินไหวหยุด รีบอพยพไปที่สูงทันที
  • ติดตามประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานรัฐ

5. หากติดอยู่ใต้ซากอาคาร

  • สงบสติอารมณ์และหาช่องอากาศ
  • ใช้วัตถุแข็งเคาะเป็นสัญญาณให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยรู้ตำแหน่ง
  • ห้ามจุดไฟ เพราะอาจมีก๊าซรั่ว

สรุป

  • ใช้หลักการ “Drop, Cover, and Hold On”
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง เช่น ตึกสูง สายไฟฟ้า
  • ติดตามข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้

 

* สถิติการเกิดแผ่นดินไหว

การกระจายตัวของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ถูกตรวจวัดและบันทึกได้ จากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวของกรมอุตุนิยมวิทยาส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวบนแผ่นดิน (intraplate earthquake) ทางตอนเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวใน บริเวณประเทศพม่าเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงประเทศลาวและประเทศจีนตอนใต้ สำหรับในบริเวณ ประเทศไทย การกระจายตัวของเหตุการณ์แผ่นดินไหวส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตก มี แผ่นดินไหวในบริเวณภาคใต้บ้างแต่ไม่มากนัก สอดคล้องกับข้อมูลแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือรอย เลื่อนมีพลัง ซึ่งส่วนใหญ่จะพบอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย สำหรับการกระจายตัวของ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลหรือในบริเวณแนวมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone)

map thai

แผนที่แสดงเหตุการณ์แผ่นดินไหว ( วงกลมสีเขียว )

ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่ปี 1998 – 2020

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

กรมอุตุนิยมวิทยา

BBC.com

ค่าเลือดต่างๆ ที่ได้จากการตรวจสุขภาพ หมายถึงอะไรบ้าง และบ่งบอกถึงอะไรในร่างกาย

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้หลายท่านที่ได้ทำการตรวจสุขภาพประจำปี แล้วได้ทราบค่าตัวเลขเต็มไปหมดท

อ่านเพิ่มเติม »

ซีเซียม 137 คืออะไร สารกัมมันตรังสี อันตรายแค่ไหน อธิบายแบบง่ายๆ เข้าใจ ชัดเจน ไม่ตระหนก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ซีเซียม 137 คืออะไร ซีเซียม-137 นั้น เป็นสารกัมมตรังสีเกิดได้เมื่อย

อ่านเพิ่มเติม »