ทำความสะอาดหน้ากาก Full Face Mask อย่างไร ให้ปลอดภัยจากไวรัส

แชร์บทความนี้

สำหรับบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานโดยใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ การ ทำความสะอาดหน้ากาก Full Face Mask โดยเฉพาะหน้ากากเต็มหน้าและอุปกรณ์จ่ายอากาศของ SCBA ในการปฏิบัตงานในภารกิจต่างๆ บางครั้งหลีกเหลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้ร่วมกัน ในเมื่อหากจำเป็นต้องใช้ร่วมกันแล้ว เราจะมีวิธิการทำความสะอาดอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งตัวผู้ใช้และตัวอุปกรณ์ ซึ่งมีราคาค่าตัวที่สูงอยู่ไม่น้อย แล้ววิธีการใดบ้างที่จะเหมาะกับอุปกรณ์ประเภทนี้  

ทำความสะอาดหน้ากาก Full Face Mask

ดังนั้นหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวกับการให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ทั่วโลกยอมรับ หนึ่งในนั้นคือ CDC (The Centers for Disease Control and Prevention) หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา ทางCDCเองได้ออกข้อแนะนำและวิธีการต่างๆ ที่มาจากการวิจัย และแนะนำออกมาในภาพรวมไว้หลายวิธีการด้วยกัน แต่ถ้าหากเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนและมีส่วนประกอบที่ผลิตจากวัสดุพิเศษแล้ว วิธีการใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ที่เราจะสามารถทำความสะอาดได้อย่างปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้โดยไม่ไปสร้างความเสียหายให้กับตัวอุปกรณ์ซึ่งมีความแตกต่าง และซับซ้อนของแต่ละรุ่น แต่ละผู้ผลิตที่มีอยู่มากมาย

เมื่อเราลองค้นหาวิธีการในการทำความสะอาดอุปกรณ์เหล่านี้ เราจะพบข้อแนะนำของแต่ละผู้ผลิตที่ออกมาแนะนำ อาทิ  3MSCOTT ก็ได้มีการออกข้อแนะนำในการทำความสะอาด หน้ากาก และตัวอุปกรณ์สำหรับจ่ายอากาศ (Demand Valve สำหรับ SCBA) ให้ปฏิบัติตามแนวทางและข้อแนะนำ โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้ที่อันจะเป็นแนวทางในการศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้

แนวทางขั้นตอนและวิธีการในการทำความสะอาด  Full Face Mask  และ  Demand Valve ของ 3MSCOTT

1.       ก่อนทำความสะอาดควรสวมใส่ถุงมือ Nitrile หรือ ถุงมือ Vinyl

2.       ในกรณีที่หน้ากากมีใส้กรองติดอยู่ให้ทำการถอดใส้กรองออกก่อน

3.       กรณีที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมการทำงาน ให้ถอดออกด้วย วิธีการถอดอ้างอิงจากคู่มือของสินค้าของแต่ละรุ่น

4.       ตรวจสอบหน้ากากว่าไม่มีการชำรุดเสียหาย

5.       เริ่มทำความสะอาดโดยการนำหน้ากากแช่ลงในน้ำอุ่น อุณหภูมิไม่เกิน 43 องศาเซลเซียส ผสมกับน้ำยาทำความสะอาดต่างๆที่เป็นกลาง ขัดทำความสะอาดด้วยแปรงขนอ่อน ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของ lanolin หรือ oil ต่างๆ รวมถึงตัวทำละลาย (solvent) ที่มีความเข้มข้นสูงซึ่งจะส่งผลก่อให้กิดความเสียหายต่อตัวอุปกรณ์

6.       ล้างออกด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิไม่เกิน 43 องศาเซลเซียส

7.       ฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮโปคลอไรต์ 5,000 PPM โดยการฉีดพ่นแบบละอองละอองสเปรย์ให้ครอบคลุมพื้นผิวทั้งหมด หรือทำการจุ่มแช่ไว้ในภาชนะเป็นเวลา1นาที ข้อสำคัญห้ามใช้ความเข้มข้นเกิน 5,000 ppm และแช่เกินเวลาที่กำหนด

8.       ล้างออกด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิไม่เกิน 43 องศาเซลเซียสอีกครั้ง

9.       ผึ่งให้แห้งในพื้นที่ ที่ไม่มีการปนเปื้อน

10.    ตรวจสอบและทำการประกอบชิ้นส่วนที่ทำการถอดออกมา อย่าลืมตรวจสอบก่อนการใช้งานอีกครั้ง

References

1)  Guideline for Disinfection and Sterilization in Healthcare Facilities, 2008; updated 2009. United States Centers for Disease Control. William A. Rutala, Ph.D., M.P.H., David J. Weber, M.D., M.P.H. and the Healthcare Infection ControlPractices Advisory Committee (HICPAC). 2008. https://www.cdc.gov/infectioncontrol/pdf/guidelines/disinfection-guidelines-H.pdf

2) Interim Infection Prevention and Control Recommendations for Patients with Suspected or Confirmed CoronavirusDisease (COVID-19) in Healthcare Settings. Coronvirus Disease (COVID-19).

https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/infection-control/control-recommendations.html

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

การป้องกันอันตรายจากการอาร์คในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า(Arc Flash Protection)

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้านั้นหากไม่มีความระมัดระวังหรือไม่ปฏิบัติตาม

อ่านเพิ่มเติม »