สารเคมีต่างๆ สามารถก่อให้เกิดอันตรายหรือผลเสียต่อสุขภาพได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ผลต่อสุขภาพแบบเฉียบพลัน เช่น ระคายเคืองผิวหนัง ระคายเคืองตา ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ หรือการเกิดพิษต่อระบบต่างๆ ของร่างกายในแบบเฉียบพลัน ซึ่งบางครั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนผลต่อสุขภาพแบบเรื้อรังนั้นจะไม่ได้ทำให้เกิดอาการในทันทีที่สัมผัสสารเคมี แต่จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น การก่อให้เกิดมะเร็ง ก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิดในทารก หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ
วันนี้จะมาพูดถึงเรื่อง ทางที่สารเคมีจะเข้าร่างกายผ่าน ทางการหายใจ ในกรณีที่สารเคมีอยู่ในรูป แก๊ส ไอระเหย ละออง ฝุ่น หรือ เส้นใยขนาดเล็ก เมื่อลอยอยู่ในอากาศแล้วสามารถสูดดมเข้าทางจมูกเข้าสู่ทางเดินหายใจได้
งานประเภทไหนบ้างที่เป็นอันตราย
1.งานพ่นสีอันตรายหลัก คือ ละอองงานพ่นสี และกลิ่นของไอระเหย โดยปกติแล้วไอระเหยจะมีผลต่อระบบประสาท และกระแสเลือด เช่น ทินเนอร์ และตัวละลายต่างๆ ส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2.งานเชื่อม อันตรายหลักในงานเชื่อม คือ ฟูมและก๊าซ เกิดจากโลหะถูกเผาไหม้ และจากก๊าซเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ และด้วยความร้อนที่ร้อนมาก ทำให้เกิดไอระเหยของโลหะอยู่ในอากาศ ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันตรายต่อปอด ทำให้เกิดการระคายเคือง
3.งานทำความสะอาด อันตรายหลักคือ คลอรีนเข้มข้นมีผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง ระยะสั้นจะรู้สึกระคายเคืองจมูก ดวงตา หรือลำคอ ปอดและหลอดลมเกิดความเสียหาย ในระยะยาว ส่งผลให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สูญเสียความจำ พบได้ในสารเคมีที่อยู่ใน น้ำยาทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างจาน
วิธีป้องกัน
ใช้อุปกรณ์ป้องกันเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น หน้ากากกรองก๊าซไอระเหย ที่ทำหน้าที่กรองก๊าซ และไอระเหย ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งพบเจอในหลายๆงานที่กล่าวมาข้างต้น
ส่วนประกอบที่สำคัญของหน้ากากกรองก๊าซ และไอระเหย
1.ส่วนหน้ากาก มีหลายขนาด เช่น ขนาด ¼ หน้า ขนาด ½ หน้า หรือขนาดเต็มหน้า
2.ส่วนกรองอากาศ เป็นตลับ หรือกระป๋องบรรจุสารเคมี ซึ่งเป็นตัวจับมลพิษโดยการดูดซับ หรือทำปฏิกิริยากับมลพิษ ทำให้อากาศที่ผ่านตลับกรองสะอาด ปราศจากมลพิษ ส่วนกรองอากาศนี้สามารถใช้ได้เฉพาะสำหรับก๊าซ หรือไอระเหย แต่ละประเภทตามที่ระบุไว้เท่านั้น เช่น ส่วนกรองอากาศที่ใช้กรองก๊าซแอมโมเนีย จะสามารถป้องกันเฉพาะก๊าซแอมโมเนียเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันมลพิษชนิดอื่นได้ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่จะใช้หน้ากากกรองก๊าซ และไอระเหย ควรเลือกซื้อ และหรือเลือกใช้ให้เหมาะสม กับชนิดของมลพิษที่จะป้องกัน ตามที่ American National Standard ได้กำหนดมาตรฐาน (ANSI K 13.1-1973)
ตัวอย่างการสวมใส่หน้ากากกรองก๊าซไอระเหย
เลือกดูหน้ากากได้ที่ Pholonline.com
สอบถามข้อมูลหน้ากากได้ที่ INBOX
LINE : @Phol
02-791-0111