ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ LAAB คืออะไร มีผลข้างเคียงไหม ใครจะได้รับบ้าง

แชร์บทความนี้

LAAB เป็นแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันที่ออกฤทธิ์ยาว ประกอบด้วยแอนติบอดี 2 ชนิด ได้แก่ Tixagevimab และ Cilgavimab ภายใต้ชื่อ Evusheld (ชื่อเดิม AZD7442) ผลิตโดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า โดยตัวยาทั้ง 2 นี้จะฉีดบริเวณสะโพกให้กับผู้รับยาภายในคราวเดียวกัน

 ยาตัวนี้พัฒนามาจากบีเซลล์ของผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 โดยเพิ่มเติมให้สามารถขยายระยะเวลาการคุ้มครองให้ผู้ที่ได้รับยายาวนานกว่าแอนติบอดีทั่วไปอย่างน้อย 3 เท่า หรือสูงสุด 6 เดือน ซึ่งใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 หรือพูดง่ายๆก็คือผู้ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อในขณะนั้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถกระตุ้นภูมิ ด้วยวัคซีนได้ 

โดยมีรายงานว่าภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปนี้ สามารถลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม รวมถึง Delta หรือสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA. ได้ รวมไปถึงยังสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 แบบมีอาการได้อีกด้วย

 

LAAB เหมาะกับคนกลุ่มใดบ้าง

แม้ว่าจะมีการคิดค้นวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดความรุนแรงและการเสียชีวิตแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีประชากรบางกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำหรือได้รับวัคซีนไปแล้ว แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงเพียงพอ ต่อการป้องกันโรค ซึ่งทำให้ต้องนำยาตัวนี้เข้ามา

จากข้อมูลมีรายงานว่า LAAB ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วในสหภาพยุโรป และอเมริกา เพื่อนำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินสำหรับป้องกันก่อนการสัมผัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก

สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนยาแล้ว ภายใต้การอนุญาตแบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 สำหรับใช้เพื่อการป้องกันก่อน การสัมผัสเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม สามารถใช้ได้ทั้งผู้ที่เคยได้รับวัคซีน และไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่อาจมีการตอบสนองในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไม่เพียงพอ ซึ่งเกิดจากจากโรคร่วมต่างๆ เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยล้างไต รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ 

เมื่อถามว่า บุคคลทั่วไปสามารถรับยา LAAB ได้หรือไม่นั้น เบื้องต้นยา LAAB ได้รับการขึ้นทะเบียนนี้ มีจุดประสงค์ในการนำเข้ามาให้ใช้ในกลุ่มประชากรที่เปราะบาง มีความเสี่ยงสูง และมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงประชากรที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ก่อน บุคคลทั่วไปที่ยังไม่มีความเสี่ยงดังที่กล่าวจึงยังไม่ได้รับสิทธิ์ในการรับยานี้

 

อาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับ LAAB

อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ หลังจากที่ได้รับการฉีด LAAB ได้แก่ อาการปวด บวมแดงในบริเวณที่ฉีด มีอาการแพ้ (hypersensitivity) เช่นผื่นนูนแดง ปาก หนังตา หรือหน้าบวม หรือบางรายมีอาการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) ซึ่งพบได้น้อย เช่นหายใจลำบาก เหนื่อย หรือหายใจมีเสียงหวีด คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีรายงานอาการไม่พึงประสงค์ทางระบบหัวใจ และหลอดเลือด ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทำการศึกษาวิจัย ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเกิดจาก LAAB หรือไม่ โดยพบในกลุ่มผู้สูงอายุ มากกว่า 60 ปี ที่มีโรคประจำตัวของระบบหลอดเลือด และหัวใจอยู่ก่อนแล้ว เช่นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น

คำแนะนำเพื่อในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์

  • ให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังได้รับ LAAB เพื่อเฝ้าระวังอาการแพ้รุนแรง หรืออาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น
  • LAAB มีข้อห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ excipient ได้แก่ L-Histidine, L-Histidine hydrochloride monohydrate, Sucrose, Polysorbate 80, Water for injections

แต่ไม่มีข้อห้ามในการให้ LAAB ในผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเคยมีประวัติแพ้วัคซีนโควิด-19 หรือมีประวัติแพ้ส่วนประกอบ polysorbate 80 ที่มีอาการผื่นผิวหนังอย่างเดียว เช่น ลมพิษ ปากบวม โดยสามารถฉีดได้ แต่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม หากมีประวัติเข้าได้กับการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับยา

  • ผู้ที่ได้รับ LAAB และมีอาการต่อไปนี้ภายหลังได้รับยา ควรรีบพบแพทย์ เช่น หน้าบวม ตาบวม อาเจียนรุนแรง หายใจหอบเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หรืออาการปวดบวมแดงร้อนในบริเวณที่ฉีดที่ไม่หายภายใน 2-3 วัน
  • หากพบผู้ป่วยที่มีอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับ LAAB จำเป็นต้องมีการรายงาน เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ดังกล่าวเข้าสู่ระบบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (AEFI-DDC) สามารถรายงานได้ทาง 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากสำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุข

https://pr.moph.go.th/?url=pr/index/2/04/

ป้องกันกลโกง แก๊ง คอลเซ็นเตอร์ อ่านจบมีภูมิคุ้มกัน ไม่โดนหลอกอีกต่อไป

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้แก๊ง คอลเซ็นเตอร์ที่เราหมายถึงในที่นี้ คือ กลุ่มคน ขบวนการหรือ ผู้ไ

อ่านเพิ่มเติม »

จุดยึดสำหรับการทำงานใน สถานที่อับอากาศ

แชร์บทความนี้

หนึ่งในการวางแผนสำหรับการทำงานใน สถานที่อับอากาศ นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือแผนการช่วยเหลือฉุกเฉินในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดอุบัติเหตุ

อ่านเพิ่มเติม »