บางคนที่กำลังที่กำลังรู้สึกปวดฟันกรามหรือบริเวณฟันซี่สุดท้ายมากๆ จนเหงือกปวด บวม อักเสบและร่นออกมามีเลือดออกเล็กน้อย และมีกลิ่น เป็นอาการเริ่มต้นของการอักเสบของฟันคุด ปกติแล้วคนเรามีฟัน 32 ซี่ โดยฟันคุดมักจะเป็น 4 ซี่ด้านในสุดคือด้านบน 2 ซี่ และด้านล่าง 2 ซี่ ซึ่งเป็นฟันที่ไม่สามารถงอกพ้นเหงือกออกมาได้ จึงทำให้เป็นแหล่งที่มีเศษอาหารไปติดและหมักหมม ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียและทำให้เกิดอักเสบในเวลาต่อมา ซึ่งรวมถึงฟันที่มีการงอกในลักษณะที่ผิดปกติเช่นการงอกเอียงไปชนฟันซี่ข้างเคียง หารปล่อยไว้จะทำให้เกิดอาการปวด และสร้างความรำคาญอยู่ตลอด หากไม่ตัดสินใจรักษา วันนี้เรามาตอบข้อสงสัย ฟันคุดเป็นยังไง เกิดจากอะไร แบบไหนต้องผ่า ถ้าปล่อยไว้จะเป็นไรมั้ย ที่นี่กันครับ
หากท่านมีอาการดังที่กล่าวมา ควรไปพบแพทย์ และเข้ารับการตรวจและเอ็กซเรย์ฟัน เพื่อที่จะเตรียมการรักษาหากพบว่าสาเหตุที่ท่านเจ็บปวดเกิดจากฟันคุด แพทย์จะประเมินว่ามีฟันคุดกี่ซี่ ฟันคุดอยู่ในลักษณะใดมีทั้งแบบตั้งตรง และเอียงจนอาจเป็นสาเหตุทำให้ฟันล้มในอนาคต รวมไปถีงวางแผนการผ่าตัดเป็นต้น แต่ใน 2-3วันแรกหากมีการอักเสบมากๆ แพทย์จะประเมินและจะยังไม่ผ่าในวันนั้นๆได้เลย เนื่องจากเหงือกมีการอักเสบ แพทย์จะให้ยามาทานต่อเนื่องจนอาการอักเสบหายไปก่อน จึงเริ่มผ่าฟันคุด
ตัวอย่างฟิล์มเอ็กซเรย์ฟันปกติ
ตัวอย่างฟิล์มเอ็กซเรย์ที่พบอาการฟันคุด
ขอขอบคุณภาพจาก https://pantip.com/topic/40259971
ฟันคุดเกิดจากสาเหตุใด
ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ เนื่องจากมีเนื้อเยื่อหรือกระดูกปิดขวางอยู่ มักพบในฟันกรามซี่สุดท้ายและฟันเขี้ยว
แบบไหนต้องผ่า ถ้าปล่อยไว้จะเป็นไรมั้ย
ลักษณะของฟันคุด แบ่งออกเป็นตามลักษณะการขึ้น ของแนวฟันคุด ซึ่งมีด้วยกัน 3 แบบ คือ
- ฟันคุดที่ขึ้นในเเนวตรง (Vertical impaction)
- ฟันคุดที่ขึ้นในแนวนอน (Horizontal impaction)
- ฟันคุดที่ขึ้นแนวเฉียงถ้ารูปแบบฟันคุด มีการล้มเอียงตัดกับฟันข้าง จะไม่สามารถถอนออกได้ด้วยวิธีธรรมดา เเต่ต้องอาศัยการผ่าตัดเอาออก
หากเกิดฟันคุดแล้วไม่ทำการรักษา และปล่อยไว้จะทำให้เกิดอะไรได้บ้าง
- การอักเสบของเหงือก
เมื่อฟันกรามซี่สุดท้ายขึ้น อาจจะมีการอักเสบของเหงือก เนื่องจากมีการติดเชื้อ มีอาการบวมแดง มีหนอง ทำให้ปวด มีไข้ และเจ็บคอ กลืนน้ำลายลำบาก และอ้าปากไม่ได้
- ฟันข้างเคียงผุ
ฟันคุดซี่สุดท้ายที่ขึ้นชนฟันกรามซี่ติดกัน มักทำให้เกิดกลิ่นปากและฟันข้างเคียงผุ เนื่องจากมีเศษอาหารติดระหว่างฟันคุดและฟันข้างเคียง เนื่องจากทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง
- ฟันซ้อนเก
ทำให้ปวดเนื่องจากมีแรงดันของฟันคุดไปดันซี่ข้างเคียง หรือกดบนเส้นประสาทที่อยู่ในขากรรไกรล่างและฟันคุด ซึ่งขึ้นชนฟันที่อยู่ข้างเคียงจะทำให้ฟันหน้าซ้อนเกได้
- เกิดถุงน้ำรอบฟันคุด
ทำให้เกิดโรคถุงน้ำและอาจเปลี่ยนเป็นเนื้องอกที่เรียกว่า “มะเร็งกรามช้าง” ซึ่งพบว่ามีสาเหตุเกิดจากฟันคุดถึง 33 % ถุงน้ำจะทำให้ฟันเคลื่อนที่ผิดจากตำแหน่งเดิมและทำลายกระดูกรอบฟัน ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อฟันและเหงือกรอบๆ บริเวณนั้นได้
การถอนฟันคุด ทำอย่างไร
เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่มีฟันเนื้อเยื่อหรือกระดูกปิดขวางอยู่ จึงไม่สามารถใช้คีมจับถอนได้อย่างฟันปกติ จึงต้องใช้วิธี ผ่าเหงือกเพื่อเปิดให้เห็นฟันคุด มีการตัดฟันแบ่งฟันออกเป็นชิ้นๆ หลังจากนั้นจึงสามารถเอาฟันคุดออกมาได้ทั้งหมด ซึ่งการทำทั้งหมดนี้ทันตแพทย์จะพยายามทำให้ไม่เกิดผลกระทบหรืออันตรายต่อฟันข้างเคียง หรือส่วนอื่นที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศ.ทพ. ณัฐเมศร์ วงศ์สิริฉัตร
ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
และ
ทพญ. ปาริฉัตร ลิ้มสุวรรณ
โรงพยาบาล สมิติเวช