คุณสมบัติทางไฟฟ้ารองเท้านิรภัยตามมาตรฐาน EN ISO 20345

แชร์บทความนี้

สำหรับท่านใดที่กำลังหาข้อมูล ความหมาย ความแตกต่างระหว่าง รองเท้านำไฟฟ้า รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต และรองเท้าฉนวนไฟฟ้า มีความแตกต่างกันอย่างไร และเหมาะสำหรับการใช้งาน หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบไหนวันนี้เรามีข้อมูลที่เข้าใจง่ายๆ มาฝากกันครับ

รองเท้านำไฟฟ้า(Conductive Footwear)

  • รองเท้านำไฟฟ้าออกแบบมาเพื่อนำไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นตามร่างกายลงสู่พื้นดิน รองเท้านำไฟฟ้าจะมีความคล้ายคลึงกับรองเท้าชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิตเพราะต่างถูกออกแบบมาเพื่อนำไฟฟ้าสถิตจากร่างกายลงสู่พื้นดิน แต่รองเท้านำไฟฟ้าจะถูกออกแบบมาให้สามารถนำไฟฟ้าสถิตจากร่างกายลงสู่พื้นดินได้เร็วกว่ารองเท้าชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิต รองเท้านำไฟฟ้าเหมาะกับการสวมใส่ในสภาพแวดล้อมที่มีความไวไฟสูงและเสี่ยงต่อการระเบิดได้ ซึ่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการลดโอกาสการเกิดประกายไฟจากไฟฟ้าสถิต

รองเท้านำไฟฟ้าต้องมีค่าความต้านทานไฟฟ้าไม่เกิน 100 กิโลโอห์ม(kΩ) จากการทดสอบในสภาพแห้ง

 

รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต(Antistatic footwear)

  • เป็นรองเท้าที่ช่วยลดการสะสมของไฟฟ้าสถิตโดยการกระจายประจุไฟฟ้าสถิตจากร่างกายลงสู่ดินเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดประกายไฟ อย่างไรก็ตามรองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตยังสามารถป้องกันอันตายจากไฟฟ้าช็อตได้ไม่เกิน 250 โวลท์ (ภายใต้เงื่อนไขที่มาตรฐานกำหนด) ในกรณีใช้ป้องกันแรงดันมากว่า250 โวลท์ควรเลือกใช้รองเท้าที่มีคุณสมบัติการเป็นฉนวนไฟฟ้าแทน

รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตต้องมีค่าความต้านทานต้านทานไฟฟ้ามากกว่ า100 กิโลโอห์ม(kΩ)แต่ต้องไม่เกิน1,000 เมกะโอห์ม(MΩ) จากการทดสอบในสภาพแห้งและเปียก

รองเท้าฉนวนไฟฟ้า(Electrically insulating footwear)

เป็นรองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อช่วยปกป้องผู้สวมใส่จากการถูกไฟฟ้าช็อต โดยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายจากทางเท้า และต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐาน EN 50321

 

ตัวอย่างรองเท้าเซฟตี้

รองเท้าเซฟตี้ หุ้มข้อ Oliver รุ่น 34-623รองเท้าเซฟตี้หุ้มส้น Oliver รุ่น 34-613

รองเท้าเซฟตี้ หุ้มข้อกันไฟฟ้า NeuKing รุ่น NKC93Kรองเท้านิรภัย หุ้มส้น ยี่ห้อ NEUKING รุ่น NKC100

ดูรายละเอียดสินค้าคลิก

 

หน้ากาก N95 ของแท้ ดูอย่างไร

แชร์บทความนี้

ช่วงนี้ มีข่าวเกี่ยวกับเรื่อง ฝุ่นละอองในอากาศ ออกมามาก ทำให้หลายคนตื่นตัว จัดหาหน้ากาก N95 มาไว้ติดบ้าน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเดินหายใจ

อ่านต่อ »

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ สารเคมีหกรั่วไหล

แชร์บทความนี้

สารเคมีหกรั่วไหล นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นความประมาทจากการเคลื่อนย้ายสารเคมี อุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ฯลฯ เราจะเตรียมตัว

อ่านต่อ »

ระดับชุดปฏิบัติงานสารเคมี

แชร์บทความนี้

ชุดปฏิบัติงานสารเคมี มีการแบ่งระดับตามความสามารถในการป้องกันสารเคมีอย่างชัดเจนคือ ชุดปฏิบัติงานสารเคมี ระดับ A, B, C และ D ซึ่งเป็นไปตามข้อ

อ่านต่อ »

สถานที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ต้องคำนึงอะไรบ้างเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ใครที่มีหน้าที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ หรือมีคนที่รักซึ่งเป็นผู้สูงวัยอย

อ่านเพิ่มเติม »

เอลนีโญ ลานีญา คู่แฝดชายหญิงที่ก่อปรากฏการณ์ธรรมชาติแบบต่างกันสุดขั้ว

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้“เอลนีโญ และลานีญา” สองคำนี้เราอาจจะได้ยินกันมาเยอะ แต่ยังคงสร้างคว

อ่านเพิ่มเติม »