การที่เรารู้จักความแตกต่างระหว่างการออกกำลังกายแบบ Aerobic และ Anaerobic จะมีประโยชน์ในการพัฒนาสุขภาพและความแข็งแรงตามที่เราตั้งเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ความหมายของ Aerobic และ Anaerobic Exercise
Aerobic Exercise (แอโรบิก)
เป็นการออกกำลังกายที่ใช้ ออกซิเจน เป็นแหล่งพลังงานหลัก เพื่อเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ทำให้สามารถออกกำลังกายได้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
ตัวอย่างกิจกรรม:
- วิ่งจ๊อกกิ้ง
- เดินเร็ว
- ว่ายน้ำ
- ปั่นจักรยาน
Anaerobic Exercise (แอนแอโรบิก)
การออกกำลังกายที่ใช้พลังงานแบบ ไม่ใช้ออกซิเจน แต่ใช้พลังงานจากแหล่งสะสมในกล้ามเนื้อ เช่น ไกลโคเจน (Glycogen) เหมาะสำหรับการออกกำลังกายที่ใช้พลังงานสูงในเวลาที่สั้น
ตัวอย่างกิจกรรม:
- การวิ่งเร็ว (สปรินต์)
- ยกน้ำหนัก
- การออกกำลังกายแบบ HIIT (High-Intensity Interval Training)
2. ความแตกต่างหลักระหว่าง Aerobic และ Anaerobic
หัวข้อ | Aerobic | Anaerobic |
แหล่งพลังงาน | ใช้ออกซิเจน | ไม่ใช้ออกซิเจน |
ระยะเวลา | นาน (20 นาทีขึ้นไป) | สั้น (น้อยกว่า 2 นาที) |
ความเข้มข้น | ปานกลาง (60-75% ของ HR Max) | สูงมาก (80-100% ของ HR Max) |
การเผาผลาญ | ไขมันและคาร์โบไฮเดรต | คาร์โบไฮเดรต (Glycogen) |
ประเภทการออกกำลังกาย
สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ Hear rate zone (HR Max) ได้ที่นี่ |
ต่อเนื่อง เช่น วิ่ง, เดินเร็ว | ช่วงสั้น เช่น ยกน้ำหนัก, สปรินต์ |
3. ประโยชน์ของ Aerobic Exercise
- เสริมสร้างระบบหัวใจและหลอดเลือด
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือดและการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย - เพิ่มการเผาผลาญไขมัน
เหมาะสำหรับการลดน้ำหนักและลดไขมันในร่างกาย เนื่องจากร่างกายต้องใช้เวลาในการดึงไขมันส่วนต่างๆของร่างกายมาใช้เป็นพลังงาน - เพิ่มความทนทาน (Endurance)
การออกกำลังกายแบบ Aerobic จะช่วยให้ร่างกายสามารถมีความทนทานมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่องและนานขึ้น - ช่วยลดลดความเครียด
การออกกำลังกายแบบ Aerobic ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดรฟินที่ช่วยสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย จึงสามารถช่วยลดความเครียดได้ - สร้างเสริมสุขภาพปอด
การออกกำลังกายแบบ Aerobic จะช่วยให้ปอดแข็งแรงและทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ประโยชน์ของ Anaerobic Exercise
- เสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง (Strength Training)
การออกกำลังกายแบบ Anaerobic เหมาะสำหรับการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและพละกำลัง - เพิ่มความเร็วและพลัง
การออกกำลังกายแบบ Anaerobic จะช่วยพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมที่ใช้แรงระเบิด เช่น การสปรินต์ - เพิ่มการเผาผลาญในระยะยาว
การออกกำลังกายแบบ Anaerobic ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญในร่างกายแม้จะหยุดออกกำลังกายไปแล้ว - พัฒนาความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscle Endurance)
การออกกำลังกายแบบ Anaerobic สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อมีความทนทานขึ้น สามารถรับมือกับความเหนื่อยล้าได้ดีขึ้น - เหมาะสำหรับนักกีฬา
การออกกำลังกายแบบ Anaerobic เสริมสร้างสมรรถภาพเพื่อการแข่งกีฬา และความเป็นเลิศได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายแบบ Anaerobic ก็มีข้อเสียเนื่องจากจะสร้างความอ่อนล้าให้กับร่างกายจากการออกกำลังกายมากกว่า มีการใช้ร่างกายหนักว่า และก่อให้เกิดกรดแลคติกในร่างกายมากกว่า ซึ่งร่างกายจะต้องใช้เวลาในการกำจัดนานกว่า ใช้เวลาในการ Recovery ร่างกายมากกว่า และสุ่มเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากกว่าการออกกำลังกายแบบ Aerobic
5. เลือกการออกกำลังกายให้เหมาะกับเป้าหมาย
- หากต้องการ ลดน้ำหนักและเพิ่มความทนทาน: ควรโฟกัสการออกกำลังกายแบบ Aerobic เช่น การวิ่งหรือว่ายน้ำ
- หากต้องการ เพิ่มกล้ามเนื้อและพลัง: ควรเพิ่มการออกกำลังกายแบบ Anaerobic เช่น การยกน้ำหนักหรือ HIIT
- ผสมผสานทั้งสองแบบ เพื่อพัฒนาร่างกายอย่างสมดุล
เพราะฉะนั้นการเลือกจุดมุ่งหมายในการออกกำลังกายมีความสำคัญมาก เพราะการออกกำลังกายทั้งแบบ Aerobic และ Anaerobic สามารถช่วยพัฒนาความแข็งแรงของร่างกายได้ ในหลายๆด้าน แต่จะต้องอยู่ภายใต้ความเหมาะสมกับสมรรถนะของร่างกาย อีกอย่างที่จะต้องไม่ละเลยเรื่องคือการพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟู เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ