เหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทำร้ายร่างกายอย่างไร? รู้ทันก่อนสุขภาพพัง!

แชร์บทความนี้

เมื่อเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ หลายท่านคงจะมีงานสังสรรค์ หรืองานเลี้ยงปีใหม่และแน่นอนว่าจะต้องมีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การได้รับแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากและรวดเร็วนั้นอาจนำไปสู่ภาวะ “แอลกอฮอล์เป็นพิษ” ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินไป ทำให้ตับไม่สามารถขจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายได้ทันเวลา

สาเหตุของภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ

  • การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากภายในระยะเวลาสั้น ๆ
  • ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม
  • ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศและการดูดซึมของร่างกาย

อาการที่บ่งบอกถึงภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ

  • สับสนและพูดไม่ชัด
  • การทรงตัวไม่ดี
  • ง่วงซึมผิดปกติ
  • อาเจียน
  • หายใจผิดปกติ
  • ผิวหนังซีดหรือเย็น
  • หมดสติหรือไม่ตอบสนอง

ลักษณะอาการที่อาจพบและระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (หน่วยเป็น มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)

20 – 49 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อารมณ์ดี ผ่อนคลาย และการตัดสินใจช้าลงเล็กน้อย

50 – 99 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เริ่มเสียการทรงตัว ควบคุมตัวเองได้น้อยลง และตอบสนองช้าลง

100 – 199 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เดินเซ กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน

200 – 299 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ คลื่นไส้ อาเจียน การรับรู้ลดลง และจำเหตุการณ์ไม่ได้

300 – 399 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หมดสติ ชีพจรลดลง และอุณหภูมิร่างกายลดลง

มากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโอกาสหยุดหายใจและเสียชีวิตได้

การตอบสนองต่อระดับแอลกอฮอล์อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล แม้ระดับจะน้อยกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ก็อาจเสี่ยงจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือการนอนหลับลึกในท่าผิดปกติที่อุดกั้นทางเดินหายใจได้ เช่น การนอนคอพาดกับระเบียงจนกดทางเดินหายใจและขาดอากาศหายใจจนเสียชีวิต หรือการเสียชีวิตจากการช่วยตัวเองไม่ได้ เช่นการลงเล่นน้ำขณะที่มึนเมา

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. โทรแจ้งหน่วยกู้ชีพที่หมายเลข 1669 หรือ 191
  2. ปลุกผู้ป่วยให้ตื่นและพยุงให้อยู่ในท่านั่ง
  3. หากยังสามารถดื่มน้ำได้ ให้ดื่มน้ำเปล่า
  4. หากหมดสติ ให้จับนอนตะแคงและตรวจสอบการหายใจ
  5. หากหยุดหายใจ ให้ทำการช่วยหายใจหรือ CPR
  6. รักษาความอบอุ่นของร่างกายผู้ป่วย
  7. สังเกตอาการจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง
  8. ห้ามให้ผู้ป่วยหลับหรืออาบน้ำ

ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อร่างกาย

  • หัวใจ: กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ เพิ่มความเสี่ยงหัวใจวาย
  • ตับ: เสี่ยงต่อโรคตับแข็งและการทำงานของตับบกพร่อง
  • สมอง: ความจำเสื่อม การตัดสินใจไม่ดี และเสียการทรงตัว
  • กระเพาะอาหาร: อักเสบและอาจมีเลือดออก
  • ระบบสืบพันธุ์: ในผู้ชายอาจเกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ; ในผู้หญิงตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อทารก
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลายชนิด

คำแนะนำในการดื่มแอลกอฮอล์อย่างปลอดภัย

  • จำกัดปริมาณการดื่มและไม่ดื่มอย่างรวดเร็ว
  • ควรรับประทานอาหารก่อนและระหว่างการดื่ม
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นสูง
  • สังเกตอาการของตนเองและผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาหรือสารเสพติดอื่น ๆ

การดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีสติและรู้ขีดจำกัดของตนเองจะช่วยป้องกันภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษและรักษาสุขภาพของคุณในระยะยาว 

 

 

มาตรฐานอ้างอิงอุปกรณ์PPEสำหรับใช้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตาม NFPA 70E : 2018

แชร์บทความนี้

มาตรฐานอ้างอิงสำหรับการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ NFPA 70E : 2018 ในหัวข้อนี้จะมาดูกันว่าอุปกรณ์PPE

อ่านเพิ่มเติม »

ดูแลสุขอนามัยผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรง มีอะไรที่ต้องใส่ใจบ้าง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้การดูแลสุขอนามัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้

อ่านเพิ่มเติม »

ขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไร ไม่ให้เครื่องดับ ถ้าเครื่องดับทำยังไง และหลังลุยน้ำแล้วต้องตรวจเช็คอะไรบ้าง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้จากสถานการณ์ฝนตกหนักล่าสุด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ทางส

อ่านเพิ่มเติม »

ความสำคัญของเก้าอี้เพื่อสุขภาพ เพื่อคนทำงาน พร้อมไอเดียช่วยเลือก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้จากปัญหาและผลกระทบด้านสุขภาพซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานติดต่อกันเป็นเวล

อ่านเพิ่มเติม »