ATEX (อาเทกซ์)
ATEX เป็นการเล่นคำย่อจากชื่อเต็มว่า “ATmosphere EXplosive” ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติของสหภาพยุโรป ประกอบไปด้วย 2 หัวข้อหลักคือ สภาพแวดล้อมการทำงาน (Directive 99/92/EC, ATEX 137) และ อุปกรณ์ (Directive 94/9/EC, ATEX 100a) สำหรับทำงานภายใต้ สภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ (explosive atmosphere)
สภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ (explosive atmosphere)
ตามกฎข้อบังคับ DSEAR (Dangerous Substances and Explosive Atmospheres Regulations, กำหนดโดย สหราชอาณาจักร ภายใต้มาตรฐานการดำเนินงานของสหภาพยุโรป) ได้นิยามไว้ว่า สภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ คือ ส่วนผสมของสสารอันตรายต่างๆ ที่สามารถลุกไหม้ (สสารไวไฟ) ได้ในสภาวะก๊าซ สารระเหย หรือ ฝุ่นละอองภายใต้สภาพบรรยากาศทั่วไป ซึ่งสามารถลุกลามไปเป็นบริเวณกว้างหลังจากเกิดการเผาไหม้ครั้งแรกจนครอบคลุมสสารที่ยังไม่เกิดการเผาไหม้ได้ทั้งหมด
การแบ่งประเภทพื้นที่ต่างๆ (Zone classification)
ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทเช่นโรงถลุงแร่และโรงงานเคมี มีปริมาณของก๊าซและของเหลวไวไฟปรากฏในพื้นที่หนึ่ง ๆ เป็นปริมาณมาก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้ รวมไปถึงพื้นที่ที่มีฝุ่นเช่นโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง นั้นก็มีโอกาสที่จะเกิดการระเบิดด้วยเช่นกัน
และในบางกรณี ช่วงเวลาที่ก๊าซ ของเหลวและฝุ่นอันตรายเหล่านี้ปรากฏนั้นกินระยะเวลาที่ยาวนานหรือตลอดเวลา ในบริเวณอื่น ๆ อาจจะมีสสารไวไฟปรากฏขึ้นในบางช่วงระยะเวลา เช่นในช่วงที่การผลิตมีปัญหา ซ่อมบำรุง หรือในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุ ด้วยเหตุนี้ โรงถลุงแร่และโรงงานเคมีจำต้องจำแนกพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ (zone) ตามความเสี่ยงที่ก๊าซ ของเหลว และฝุ่นจะรั่วไหลออกมา
ตัวอย่างพื้นที่อันตราย
1. โรงกลั่นน้ำมัน (ก๊าซ ไอระเหย)
2. โรงงานปิโตรเคมี (ก๊าซ ไอระเหย)
3. พื้นที่พ่นสี (ก๊าซ ไอระเหย)
4. พื้นที่เก็บสารเคมี (ก๊าซ ไอระเหย)
5. พื้นที่เก็บถ่านหิน (ฝุ่น)
6. โรงงานแป้งมันสำปะหลัง (ฝุ่น)
7. โรงงานทอผ้า (เส้นใย)
8. โรงงานเฟอร์นิเจอร์ (ฝุ่น)
บริเวณอันตรายจะถูกจำแนกตามความเสี่ยงหรือโอกาสในการระเบิดของแต่ละพื้นที่ โดยมีการแบ่งบริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล) ดังนี้
บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล) นั้นจะแบ่งเป็น
1. พื้นที่เสี่ยงสูงมาก โซน Zone 0
2. พี่นที่เสี่ยงสูง โซน Zone 1
3. พื้นที่เสี่ยงต่ำ โซน Zone 2
การจำแนกพื้นที่ (ก๊าซและไอ)
ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทเช่นโรงถลุงแร่และโรงงานเคมี มีปริมาณของก๊าซและของเหลวไวไฟปรากฏในพื้นที่หนึ่ง ๆ เป็นปริมาณมาก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ และในบางกรณี ช่วงเวลาที่ก๊าซ ของเหลวและฝุ่นอันตรายเหล่านี้ปรากฏนั้นกินระยะเวลาที่ยาวนานหรือตลอดเวลา ในบริเวณอื่น ๆ อาจจะมีสสารไวไฟปรากฏขึ้นในบางช่วงระยะเวลา เช่นในช่วงที่การผลิตมีปัญหา ซ่อมบำรุง หรือในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุ ด้วยเหตุนี้ โรงถลุงแร่และโรงงานเคมีจำต้องจำแนกพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ (zone) ตามความเสี่ยงที่ก๊าซ ของเหลว และฝุ่นจะรั่วไหลออกมา กระบวนการจำแนกชนิดและขนาดของพื้นที่อันตรายนั้นเรียกว่า “classification”
โดยส่วนใหญ่แล้ว แก๊สอันตรายมักจะเป็นสารจำพวกไฮโดรคาร์บอน
บริเวณปลอดภัย (Safe Area)
บ้านเรือนทั่ว ๆ ไปอาจจะถูกพิจารณาให้เป็นบริเวณปลอดภัยอันเนื่องมาจากความเสี่ยงจากการระเบิดและไฟไหม้เพียงมาจากสเปรย์ละอองลอย ส่วนของเหลวไวไฟนั้นอาจจะเป็นเพียงแค่สีหรือน้ำยาทำความสะอาด พื้นที่ปลอดภัยนี้ถูกจัดเอาไว้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดต่ำ แต่มีโอกาสเกิดไฟไหม้มากกว่า (ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเกิดการระเบิดได้ยากก็ตาม) สำหรับในโรงงานเคมีนั้น พื้นที่ปลอดภัยคือบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารไวไฟระเหยต่ำกว่า 25% ของความสามารถต่ำสุดที่ก่อให้เกิดการติดไฟของมัน (Flammability limit) หรือต่ำกว่าจุดที่สามารถติดระเบิด
พื้นที่โซน 2 (Zone 2 Area)
เป็นพื้นที่ที่สูงขึ้นมาจากพื้นที่ปลอดภัยโดยในบริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่กาซ ไอ หมอก หรือของเหลวไวไฟจะมีได้ต่ำกว่าค่าสภาวะผิดปกติ (โดยมากแล้วจะรั่วไหลออกมาในระดับที่ต่ำกว่าสภาวะผิดปกติ) สำหรับแนวทางการพิจารณาโดยทั่วไปนั้น บริเวณนี้จะมีวัตถุไวไฟปรากฏได้ไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อปี หรือ 0 – 0.1 % ของเวลา อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีระบบป้องกันการระเบิดควรจะถูกใช้ในบริเวณนี้
พื้นที่โซน 1 (Zone 1 Area)
พื้นที่โซน 1 นี้คือบริเวณที่อุปกรณ์ชนิดพิเศษหรืออุปกรณืที่ได้รับการจำแนกชนิดจะต้องถูกนำมาใช้ ในบริเวณนี้ ก๊าซ ของเหลว หรือหมอกจะถูกคาดเอาไว้ว่าปรากฏขึ้นมา หรือปรากฏในช่วงเวลาที่ยาวนานภายใต้สภาวะการทำงานปกติ ตามแนวทางการพิจารณานั้น บริเวณนี้จะมีสสารอันตรายปรากฏขึ้นระหว่าง 10 – 1,000 ชั่วโมงต่อปี หรือ 0.1 – 10 % ของเวลา อุปกรณ์ที่ได้รับการป้องกันการระเบิดที่สูงกว่าระดับ 2 จะต้องถูกนำมาใช้
พื้นที่โซน 0 (Zone 0 Area)
สภานการณ์เลวร้ายที่สุดของพื้นที่นี้คือมีสสารไวไฟปรากฏตลอดเวลา (ซึ่งมากกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี หรือ มากกว่า 10% ของเวลา) ถึงแม้ว่านี่จะเป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุด แต่ทว่าเป็นเรื่องยากมากที่โซน 0 จะเป็นระบบเปิด โดยทั่วไปแล้วจะมีช่องว่างของไอน้ำเหนือของเหลวในถังบรรจุสาร
พื้นที่ที่มีฝุ่น
ในพื้นที่ที่มีฝุ่นนั้นก็มีโอกาสที่จะเกิดการระเบิดด้วยเช่นกัน แต่เดิมการจำแนกชนิดของพื้นที่อันตรายจะใช้ระบบอังกฤษที่ใช้ตัวอักษรระบุชนิด แต่ในปัจจุบันจะใช้ระบบยุโรปที่ใช้ตัวเลขในการจำแนกแทน
ขอบเขตและลักษณะของพื้นที่อัตรายจำพวกนี้ควรจะถูกจำแนกโดยผู้มีความชำนาญ ควรจะมีการวาดแผนผังของโรงงานเพื่อบ่งถึงพื้นที่อันตราย
พื้นที่อันตรายจำพวกฝุ่นนั้นสามารถแบ่งได้ดังนี้:
โซน 20
สถานที่ที่มีสภาวะอากาศที่มีฝุ่นสสารที่มีความสามารถในการระเบิดที่หนาทึบเหมือนกลุ่มเมฆปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน หรือถี่
โซน 21
สถานที่ที่มีสภาวะอากาศที่มีฝุ่นสสารที่มีความสามารถในการระเบิดที่หนาทึบเหมือนกลุ่มเมฆ และมักจะปรากฏในสภาวะการทำงานปกติเป็นครั้งคราวA place in which an explosive atmosphere in the form of a cloud of combustible dust in air is likely to occur in normal operation occasionally.
โซน 22
สถานที่ที่มีสภาวะอากาศที่มีฝุ่นสสารที่มีความสามารถในการระเบิดที่หนาทึบเหมือนกลุ่มเมฆปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ปรากฏบ่อย ๆ ในสภาวะการทำงานปกติ หากแต่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
อย่างไรก็ดีการจำแนกบริเวณอันตรายนั้น ยังต้องจำแนกถึงประเภทของสารอันตรายด้วย ซึ่งจะแบ่งเป็น
- กลุ่มก๊าซ หรือ ไอระเหย (Gas Group IIA IIB IIC)
- กลุ่มฝุ่นระเบิด
- กลุ่มเส้นใย
หมายเหตุ: ลักษณะของพื้นที่อันตรายจำพวกนี้ควรจะถูกจำแนกโดยผู้มีความชำนาญเท่านั้น