เข็มขัดพยุงหลัง (Back Support) กับการนั่งทำงานนาน

แชร์บทความนี้

ช่วงนี้หลายๆท่านคง Work from home ทำงานอยู่ที่บ้านกันใช่ไหมครับ หลายท่านก็จะเลือกนั่งทำงานที่โต๊ะคอม โต๊ะทำงาน แต่หลายท่านบางครั้งบริเวณหน้าทีวี บนโซฟาตัวโปรด หรือแม้กระทั้งบนเตียงนอน ก็เป็นพื้นที่ทำงานได้เช่นกัน ซึ่งการนั่งทำงานนานๆ โดยไม่ได้มีการขยับร่างกาย ยืดเส้นยืดสาย หรือ การนั่งผิดท่าทาง ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ จนอาจจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย โดยอาการทางกายเหล่านี้จะส่งผลต่ออารมณ์และร่างกาย จนเป็นสาเหตุของโรคต่างๆอย่าง ออฟฟิศซินโดรม อาการหลังค่อม เป็นต้น

Back support

หลายท่านปวดมากจนรบกวนการพักผ่อน ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และนำไปสู่การเป็นโรคปวดเรื้อรังได้ ซึ่งอาการปวด หรือโรคต่างๆเหล่านี้ ล้วนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น ถ้าจะแก้ปัญหาก็ควรจะแก้ที่พฤติกรรมถูกมั้ยครับ แต่จะให้เรายืดหลังตรงตลอดเวลาก็ดูจะลำบากและทำได้ยากเกินไป แน่นอนว่าเรามีอุปกรณ์ดีๆ  ที่เราสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แถมยังช่วยเสริมบุคลิกภาพให้ดูเป๊ะปังอีกต่างหาก ก็คือ เข็มขัดช่วยพยุงหลัง ( Back support ) นั่นเอง โดยเข็มขัดพยุงหลังจะทำหน้าที่ป้องกันการบาดเจ็บ และสามารถสวมใส่ได้ตลอดวัน ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับเข็มขัดพยุงหลังกันดีกว่า ว่ามีส่วนช่วยป้องกันเราอย่างไร และการเลือกใช้เข็มขัดพยุงหลังคุณภาพดีๆ สักเส้นมาใช้ต้องเลือกกันอย่างไร

Spondylosis and Scoliosis. 3D illustration. Contains clipping path Xray image of spine

การเลือกเข็มขัดพยุงหลัง ( Back support )

การทำงานของ back support จะช่วยจำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ช่วงเอว หลัง และสะโพกในท่าก้ม ท่าบิดตัว เอี้ยวตัว และควบคุมแผ่นหลังให้อยู่ในท่าที่ถูกต้องไม่โค้งงอ ทำให้หลังเกิดความมั่นคง  ลดการทำงานเกร็งตัวหดตัวของกล้ามเนื้อหลังช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ต้องทำงานหนัก ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง  จากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือการปวดกล้ามเนื้อตลอดจนเส้นเอ็นบริเวณหลังอีกด้วย

Back supportBack support

 

วิธีเลือกเข็มขัดพยุงหลัง (Back support) ที่มีคุณภาพดี จะเลือกกันอย่างไร เรามีคำแนะนำครับ ก่อนอื่นเราต้องพิจารณาถึงคุณภาพวัสดุ ส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง และขนาดให้เหมาะสม ดังนี้ครับ

  1. ควรเลือกพิจารณาถึง ยางยืดที่ใช้ทำ ว่ามีลํกษณะอย่างไร โดยพิจารณาถึงความหนา ความบางของยางยืด และความกว้างของสายรัด การเลือกวัสดุที่เป็นยางยืดที่มีความหนาและขนาดใหญ่ จะให้ความทนทานและแรงดึงที่ดีกว่ายางยืดเส้นเล็ก และให้ความยืดหยุ่น กระชับบริเวณรอบเอว สะโพก ได้ดีกว่ายางยืดขนาดเล็ก
  2. ควรพิจารณาคุณภาพของตีนตุ๊กแก (Velcro tape) ควรจะเป็นแบบหนา และมีขนให้เกาะจำนวนมาก เพื่อความทนทาน และยิ่งหนาเท่าไหร่ ก็จะให้การยึดเกาะที่ดี และทนทานขึ้น รวมถึงหลุดยาก สามารถรองรับกิจกรรมหนักๆ ได้หลากหลาย หลายท่านไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะซื้อมาใช้แต่ใช้ได้ไม่นานตีนตุ๊กแก ก็ไม่ยึดเกาะ หรือติดได้ไม่กระชับเพราะพื้นที่ติดตีนตุ๊กแกมีน้อย
  3. วัสดุดามหลัง ในตลาดจะมีวัสดุที่นิยมหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นแผ่นพลาสติก และแผ่นสแตนเลส ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต และราคาขาย โดยถ้าเป็นแผ่นพลาสติกจะมีราคาถูกกว่าแสตนเลส ข้อดีของแผ่นพลาสติก คือน้ำหนักเบาแต่จะมีความทนทานน้อยกว่าแสตนเลส เมื่อใช้สักระยะก็จะนิ่ม และเสียประสิทธิภาพในการพยุงหลังไปทีละน้อย หลายผู้ผลิตจึงนิยมใส่แผ่นตามหลังเป็น 2 ชั้นเพื่อลดต้นทุนและคงความแข็งไว้ แต่ถ้าเป็นเเบบแสตนเลส มีความทนทานมากกว่าและมีแรงดึงที่ดีกว่า ส่งผลให้ประสิทธิภาพการบล็อคหลังสูงกว่า มีความทนทานมากกว่า ในบางยี่ห้อรับประกันประสิทธิภาพในการพยุงหลัง ถึง 1 ปี
  4. ตำแหน่งและวัสดุดามหลัง ควรจะมีด้านหลัง 3 จุด และข้างลำตัว 2 จุด เพื่อบล็อกหลังได้อย่างมั่นคง ไม่ย้วยตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย ด้านการถักถอ ควรเลือกแผ่นยางยืด ที่เป็นแผ่นใหญ่เต็มผืนจะให้แรงยึดที่ดีกว่าและให้อายุการใช้งานที่ยาวนาน
  5. วัสดุที่ใช้ผลิตต้องเป็นที่ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น และสามารถใช้งานได้สบายตลอดทั้งวัน สายรัดบ่าควรจะสามารถถอดออกได้ เพื่อความสะดวกและไม่เกะกะกรณีไม่ต้องการใช้
  6. สีมีให้เลือกหลากหลาย แต่ที่นิยมจะมีด้วยกันสามสี คือ สีดำ สีเนื้อ และสีเทา โดยสีดำและสีเนื้อจะได้รับความนิยมสูงสุด ถ้ามองในแง่ความสะอาดและใช้ได้นาน ควรมองหาวัสดุที่เป็นสีดำครับ
  7. เลือกขนาดให้เหมาะสมกับรูปร่างของแต่ละคน เพื่อความกระชับพอดี ไม่ตึงไปหรือหย่อนไป ทางเรามีตารางแนะนำการขนาดของพยุงหลัง ( Back support) มาให้ครับ

     

    Back support

Back support

 

สุดท้ายนี้ทางเราหวังว่าทุกท่านจะได้ประโยชน์จากเรื่องดีๆที่ทางเรานำฝากกันนะครับ

ดูสินค้า Back Support เพิ่มเติมได้ที่ www.pholonline.com

เหตุผลที่ควรเลือกใช้ ชุดดับเพลิง ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานNFPA 1971

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดดับเพลิง ในท้องตลาดมีมากมาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการเลือกใช้งานเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ »

ห่วง D-Ring บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว(Full body Harness)กับการใช้งาน

แชร์บทความนี้

ห่วง D-Ring ที่ติดตั้งอยู่บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวในรุ่นมาตรฐานนั้นผู้ผลิตจะติดตั้งมาให้1จุดบริวณด้านหลังของชุดโดยผ่านการทดสอบความ

อ่านเพิ่มเติม »