ช่วงนี้สังเกตว่าสภาพอากาศเย็นขึ้นกันมั้ยครับ กำลังเป็นหัวข้อที่ต้องสนใจอย่างมาก โดยมีปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจและเกิดขึ้นในหลายๆประเทศนั้นคือ “Polar Vortex”
Polar Vortex เป็นลมหนาวที่อยู่บริเวณทิศเหนือของโลก ปกติมันจะอยู่ที่นั่นตลอดเวลา แต่บางครั้งก็จะมีการแผ่เข้าสู่พื้นที่ที่ต่ำลงมา และนำมาซึ่งสภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างรุนแรง สาเหตุที่เกิด Polar Vortex คือมีการเปลี่ยนทิศทางลมและนำมาซึ่งอากาศหนาว เกิดจากมีการสลับทิศทางของลมหนาวจากทิศเหนือมาทิศใต้ นั่นเป็นที่มาของความหนาวเย็นที่รุนแรงในบางพื้นที่ที่ไม่คาดคิดได้
ผลกระทบของสภาพนี้ทำให้มีการเพิ่มปริมาณหิมะและอากาศหนาวที่มีอิทธิพลมาจากทิศเหนือมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะอากาศที่หนาวเย็นมากขึ้นในบางภูมิภาค ทำให้มีผลกระทบมากมาย
โดยปรากฏการณ์ Polar Vortex นั้นมีความเชื่อมโยงกับกระแสลมกรด (Jet Stream) ลมกรดนั้นเป็นกระแสอากาศที่เคลื่อนที่ไปรอบโลกคล้ายการเลื้อยของงู จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ทำหน้าที่เสมือนเข็มขัดที่คอยรัดและประคองกระแสลมวนขั้วโลกเอาไว้ แต่เมื่อใดที่สภาพอากาศไม่สมดุลทำให้กระแสลมกรดอ่อนกำลังลง ไอ้เจ้า Polar Vortex นี้ก็จะเคลื่อนที่ต่ำลงมาสร้างความหนาวเย็นให้กับเขตที่อุ่นกว่า ยกตัวอย่างเช่น ในตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ที่มีทั้งหิมะ ลูกเห็บ อากาศหนาวเย็นและพายุที่รุนแรงในหลายรัฐอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ประเทศที่อาจจะได้รับผลกระทบ
- สหรัฐอเมริกา: บางภาคของประเทศมักจะต้องเผชิญกับความหนาวที่รุนแรงในช่วงที่ Polar Vortex เข้ามา
- แคนาดา: บางภูมิภาคของแคนาดาต้องเผชิญกับอากาศหนาวที่มีผลต่อสภาพอากาศในช่วงที่ Polar Vortex มีอิทธิพล.
- รัสเซีย: บางพื้นที่ของรัสเซียมีโอกาสต้องเผชิญกับอากาศหนาวที่มีต้นทุนมาจากทิศเหนือ.
- สวีเดน, นอร์เวย์, และฟินแลนด์: ประเทศในภูมิภาคทางเหนือของยุโรปมักจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นจากทิศทางทิศเหนือ.
สำหรับประเทศไทยได้รับผลกระทบมั้ย ?
Polar Vortex เกิดขึ้นในขั้วโลกเหนือและแพร่ความกดอากาศต่ำลงมา Weak Polar Vortex ในประเทศไทยนั้น มักจะไม่มีผลกระทบถึงประเทศไทย เนื่องจากกระแสลมวนที่ไหลเวียนจากทางด้านตะวันตกไปตะวันออก จะมีเทือกเขาหิมาลัยกีดขวางทางลม ทำให้กระแสลมวนที่ไหลเวียนลงมาเปลี่ยนทิศทางไป ดังนั้นจึงทำให้การพัดพาความหนาวเย็นจากขั้วโลกแบบที่เคยเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา จะเกิดขึ้นในประเทศไทยได้ค่อนข้างยาก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
และ www.greenpeace.org