ยาแก้ปวด กินอย่างไรถึงจะเรียกได้ว่าปลอดภัย

แชร์บทความนี้

สำหรับการรักษาอาการไม่สบาย ปวดหัว และอาการปวดทั่วไปของร่างกายนั้น การเลือกใช้ยาแก้ปวดเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าที่คิด แต่หลายคนมักจะละเลยใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในการกินยาแก้ปวด อาจด้วยเพราะว่ายาแก้ปวดถูกจัดให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน และไม่ได้ถูกควบคุมเป็นพิเศษ จึงหาซื้อง่าย แต่ก็ใช่ว่าของแบบนี้นึกอยากจะกินก็กินได้นะ

6 วิธีการยาแก้ปวดให้ปลอดภัย

แม้โดยทั่วไปแล้วเราจะรู้วิธีการกินยาแก้ปวดกันอยู่แล้ว แต่ถ้าจะกินแบบเน้นปลอดภัยและได้ผล ก็ต้องมีหลักการกินยาที่ต้องคำนึงถึงให้มากเป็นพิเศษด้วย นั่นก็คือ

  1. อ่านคำแนะนำให้ละเอียด ก่อนที่จะกินยาอะไรก็ตาม ควรอ่านคำแนะนำที่ระบุไว้บนฉลากยาและเอกสารกำกับยาให้ละเอียด ซึ่งผู้ผลิตก็จะบอกไว้เลยว่า จะต้องกินปริมาณเท่าไร กินกี่เม็ด ระยะเวลาห่างกันแค่ไหน และข้อจำกัดในการใช้ยา ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องเช็กให้ชัวร์ก่อนกินเสมอ
  2. ไม่ควรกินเกินขนาดแนะนำ คนที่ต้องกินยาแก้ปวดบ่อย ๆ มักจะชอบแอบกินยาเกินตามคำแนะนำ เพราะหวังว่าจะช่วยให้ตัวเองหายปวดไว ๆ แต่จริง ๆ แล้วเป็นวิธีที่ผิดมาก เพราะการกินยาในปริมาณที่เกินขนาด จะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ โดยเฉพาะการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร การกินยาแก้ปวดที่ถูกต้องควรจะกินในปริมาณคำแนะนำ หรือตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  3. กินยาพร้อมอาหาร ยาบางตัวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยเฉพาะกับพวกยาระงับอาการปวดต่าง ๆ เพื่อให้ผลข้างเคียงของยาน้อยลง ดังนั้นถ้าแพทย์บอกว่ายานี้ให้กินก่อนหรือหลังอาหาร ก็ควรกินยาตามที่แพทย์แนะนำให้ถูกต้อง
  4. ไม่กินรวมยากับอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด การกินยาแก้ปวดควรหลีกเลี่ยงการกินพร้อมกับอาหารและเครื่องอื่น ๆ บางชนิด โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่อาจมีปฏิกิริยาต่อกลไกการออกฤทธิ์ของตัวยา เช่น แอลกอฮอล์หรือยาที่มีส่วนผสมเดียวกัน ไปจนถึงพวกชา กาแฟ น้ำอัดลม นม โยเกิร์ต ทางที่ดีควรกินกับน้ำเปล่าที่สะอาดจะดีที่สุด
  5. ดูวันหมดอายุให้ดี เห็นเป็นยาเม็ด ๆ ก็อย่าไปคิดว่าจะไม่หมดอายุ เพราะยาแต่ละตัวก็จะมีระยะเวลาของตัวเองเหมือนกับอาหารเลย หน้าที่เราก็คือ การตรวจสอบวันหมดอายุของยาก่อนที่จะใช้ เพราะถ้าเรากินยาหลังจากวันหมดอายุ อาจทำให้ยาสูญเสียประสิทธิภาพและไม่ปลอดภัยต่อร่างกายอีกด้วย
  6. กินแล้วไปพักผ่อน การกินยาให้ได้ผลดีและจะช่วยให้เราหายไว ไม่ต้องกลับไปกินยาบ่อย ๆ ก็คือ หลังจากกินยาเข้าไปแล้ว ให้เราพักผ่อนก่อน จะเป็นการงีบหลับหรือนั่งพักเล็กน้อยรอให้ยาค่อย ๆ ออกฤทธิ์ก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้หายป่วยไวขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการกินยาแก้ปวดมากเกินไปได้ด้วย

เพื่อให้การใช้ยาแก้ปวดของเราปลอดภัยมากที่สุด ก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และไม่ควรกินเกินจากคำแนะนำเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ แต่ถ้ามีปัญหาอื่น ๆ อย่างกินแล้วไม่หาย หรือแพ้ยา ก็ให้รีบพบแพทย์โดยด่วนเลย

การเลือกใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือ SCBA (Self Contained Breathing Apparatus)

แชร์บทความนี้

เนื่องจากเครื่องช่วยหายใจ หรือ SCBA( Self Contained Breathing Apparatus ) มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นก่อนที่จะทำการซื้อเครื่องช่วยหายใจ

อ่านต่อ »

ไอเดียการจัดโต๊ะทำงานตามหลักการยศาสตร์ เพื่อชีวิตการทำงานที่ดีกว่าเดิม

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้การทำงานนาน ๆ หน้าโต๊ะทำงาน เป็นเรื่องที่อันตรายกว่าที่เราคิดมาก เพ

อ่านเพิ่มเติม »

หน้ากากกันฝุ่น PM2.5 และกันไวรัส แบบไหนหายใจสะดวก แบบไหนปกป้องได้ดี

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เชื่อว่าตอนนี้ในหลายๆพื้นที่ในประเทศไทยเริ่มมีอุณหภูมิที่ต่ำลง อากา

อ่านเพิ่มเติม »

กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera)

แชร์บทความนี้

กล้องถ่ายภาพความร้อนถูกนำมาใช้ในหลายๆ ด้าน เช่น เถ้ารถของท่านร้อนเกินไป กล้องถ่ายภาพความร้อน หรือ พื่อตรวจดูว่าเราป่วยหรือไม่ อาหารถูก…

อ่านเพิ่มเติม »