วัสดุดูดซับสารเคมี มีอะไรบ้าง

แชร์บทความนี้

วัสดุดูดซับสารเคมี นั้นมีหลากหลายรูปแบบและการใช้งานของวัสดุดูดซับนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามรูปร่างของสินค้าที่ผู้ผลิตออกแบบมาตามวัตถุประสงค์ เช่น วัสดุดูดซับสารเคมีแบบแผ่นเหมาะสำหรับพื้นที่เรียบไม่ขรุขระเพื่อให้พื้นที่ผิวสัมผัสของแผ่นดูดซับทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของวัสดุดูดซับแต่ละแบบกันครับ

แบบแผ่น (Pad & Roll)

วัสดุดูดซับสารเคมี

รูปทรงอาจจะมีความแตกต่างกันแต่เมื่อต้องนำมาใช้งานแล้วลักษณะการใช้งานจะเหมือนกันเนื่องจากแบบแผ่นและแบบม้วนเหมาะสำหรับพื้นที่เรียบไม่ขรุขระจะดีที่สุดเพราะแผ่นดูดซับจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและสามารถแบ่งใช้ได้ตามความต้องการหรือตามปริมาณการหกรั่วไหลของสารเคมี

แบบท่อน (Sock & Boom)

วัสดุดูดซับสารเคมี

เหมาะสำหรับงานปิดล้อมเมื่อเกิดเหตุการณ์สารเคมีหกรั่วไหลเพื่อป้องกันการแผ่กระจายของของเหลวและง่ายต่อการควบคุม ลดความเสี่ยงในการไหลลงสู่แหล่งน้ำ เก็บกู้ได้อย่างปลอดภัยสามาถใช้ได้ทั้งบนบกและในน้ำถ้าเป็นชนิดที่ดูดซับเฉพาะน้ำมัน เช่น พื้นที่ภายในโรงงานอุตสาหกรรม บริเวณรอบเครื่องจักรและสถานที่จัดเก็บสารเคมีต่างๆ บ่อบำบัดน้ำเสีย ในทะเล เป็นต้น

แบบหมอน (Pillow)

เหมาะสำหรับใช้งานในพื้นที่หรือบริเวณที่ยากต่อการเข้าถึงและวัสดุดูดซับแบบแผ่นไม่สามารถใช้งานได้ เช่น พื้นที่ที่มีการหกรั่วไหลอาจไม่ใช่พื้นผิวที่เรียบและต้องการการดูดซับของเหลวจำนวนมากซึ่งวัสดุดูดซับแบบแผ่นไม่เพียงพอต่อความต้องการ สามารถใช้งานได้ดีโดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ที่แคบเพราะวัสดุดูดซับแบบหมอนสามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงได้ตามพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน

แบบเม็ด (Granular)

วัสดุดูดซับชนิดนี้สามารถผลิตได้จากวัตถุดิบหลากหลายประเภท เช่น วัตถุดิบที่มีส่วนผสมของเส้นใยพืช ,กระดาษรีไซเคิล หรือส่วนผสมของซังข้าวโพด เป็นต้น วัสดุดูดซับแบบเม็ดเหมาะสำหรับใช้โรยทับสารเคมีโดยตรงหากเกิดเหตุการณ์สารเคมีหกล้นขึ้น เพื่อดูดซับสารเคมีที่มีความข้นหนืดบนพื้นและยากต่อการกำจัด

ดังนั้นการใช้วัสดุดูดซับรูปแบบต่างๆนั้น ควรศึกษาและทำความเข้าใจตามคู่มือแนะนำหรือ Standard data sheet ควบคู่กันไป เพราะจะทำให้สามารถงานใช้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นเพื่อให้ได้ผลและประสิทธิภาพสูงสุดของวัสดุดูดซับ

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

เครื่องวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้วทำงานอย่างไร ทำไมวัดปากกาแล้วค่าขึ้น ?

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ในสถานการณ์ตอนนี้ เชื่อว่าเครื่องมือที่เป็นพระเอกในการติดตามอาการป่

อ่านเพิ่มเติม »