แชร์ 5 วิธี บอกลาออฟฟิศซินโดรม

แชร์บทความนี้

เชื่อว่าเวลานี้คงไม่มีมนุษย์เงินเดือนนั่งโต๊ะทำงานคนไหนที่ไม่รู้จักโรคออฟฟิศซินโดรม หนึ่งในโรคยอดนิยมที่เรามักจะเป็นกันจนชาชิน ประเด็นสำคัญคือ โรคนี้อยู่ใกล้ตัวเรามากเกินไป จนใครต่อใครก็ต่างคิดว่า นี่คือโรคที่แก้ได้ด้วยการนวด กินยา แล้วก็จะดีเอง

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่อันตรายอยู่พอสมควร และยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตของใครหลายคนในระยะยาวด้วย ถ้าอย่างนั้นเรามาหาทางแก้ไขเพื่อโบกมือลาออฟฟิศซินโดรมนี้แบบถาวรกันดีกว่า

สาเหตุหลักของการเกิดออฟฟิศซินโดรม

ถ้าจะบอกว่า สาเหตุของการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นเกิดขึ้นจากการที่เราทำตัวเองล้วน ๆ ก็คงไม่ผิด เพราะสาเหตุหลักของโรคนี้เกิดมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของเรา (โดยเฉพาะจากการทำงาน) ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราโดยตรง ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุมาจากการที่เรานั่งอยู่กับที่ในท่าทางเดิม ๆ เป็นเวลานาน อย่างการนั่งทำงานที่โต๊ะติดต่อกันหลายชั่วโมง ไปจนถึงการนั่งเล่นโทรศัพท์ อ่านหนังสือ หรือการเดินทางที่เรานั่งท่าเดิมโดยไม่ได้ขยับร่างกายเลย

วิธีป้องกันและดูแลตัวเองให้ไกลจากโรคออฟฟิศซินโดรม

เมื่อออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เกิดจากตัวเราเอง เราก็สามารถที่จะแก้ไขเองได้เช่นกัน มาดูกันว่าจะมีวิธีดี ๆ อะไรมาแนะนำบ้าง

  1. ลุกเดิน ยืดเส้นยืดสายบ้าง ในหนึ่งวันที่เราต้องนั่งทำงานนาน ๆ เราควรจัดเวลาพักเบรกให้ตัวเองเป็นช่วง ๆ อย่างน้อย 1- 2ชั่วโมงก็ต้องพักยืดเส้น ลุกเดิน สัก 5 นาทีกำลังดี
  2. ยืนทำงานบ้างก็ดีนะ การลุกขึ้นมายืนทำงาน จะช่วยเปลี่ยนท่าทางการทำงานให้เหมาะสมและช่วยยืดเส้นได้ดี แถมยังเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานของเราได้ด้วย
  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ ร่างกายที่แข็งแรง คือ ปราการสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม แนะนำว่าให้เน้นช่วงหลัง แขน และคอเป็นพิเศษ เพราะถ้ากล้ามเนื้อส่วนนี้แข็งแรง เราก็ป่วยยากขึ้น
  4. จัดโต๊ะทำงานให้เอื้ออำนวย โต๊ะทำงานที่โล่ง มีการจัดวางสิ่งของอย่างเป็นระเบียบ หยิบจับง่าย ก็จะช่วยให้เรามีการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม ไม่เสี่ยงบาดเจ็บ
  5. เลือกใช้เก้าอี้เพื่อสุขภาพ วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถนั่งทำงานได้อย่างถูกต้องตามหลักการยศาสตร์อย่างแท้จริง เพราะเก้าอี้เพื่อสุขภาพนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้เราจัดท่าทางการนั่งอย่างถูกต้อง รวมถึงดีไซน์ที่รองรับสรีระการนั่งอย่างเหมาะสม อย่างเก้าอี้เพื่อสุขภาพ ERGOZO ที่มีพนักพิงปรับเอนหลังได้ รูปทรงโค้งรับสรีระพร้อมปรับความสูงได้ตามความต้องการ ใครที่จำเป็นต้องนั่งทำงานนาน ๆ บอกเลยว่าห้ามพลาด

ด้วยความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม และวิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรค จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น การใช้ชีวิตและการทำงานของเราก็จะมีความสุขมากขึ้นด้วย

ประเภทอุปกรณ์ป้องกันทางหายใจ

แชร์บทความนี้

ประเภทอุปกรณ์ป้องกันทางหายใจ ประเภทอุปกรณ์ป้องกันทางหายใจแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ 4.1 ประเภทที่ทำให้อากาศปราศจากมลพิษ ก่อนที่จะ….

อ่านต่อ »

Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ ELECTROCHEMICAL รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

แชร์บทความนี้

จากบทความที่แล้วเรื่องของ sensor วัดแก๊สติดไฟ ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ Electrochemical เพื่อให้ทราบหลักการ

อ่านเพิ่มเติม »

ข้อกำหนดอ่างล้างตาและฝักบัวชำระล้างฉุกเฉินตาม ANSI Z358.1-2014 Standard

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันมาตรฐานสากลที่ใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายคือ ANSI Z358.1-2014 Standard (Versionปัจจุบัน) ซึ่งได้กำหนดหัวข้อสำคัญๆไว้ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม »