อาหารทานแล้วไปไหน? ตอบข้อสงสัยระบบย่อยอาหารของคนเราทำงานอย่างไร

แชร์บทความนี้

จริง ๆ แล้วระบบย่อยอาหารก็เหมือนเครื่องคั้นน้ำผักผลไม้แบบแยกกาก ผลไม้ที่ใส่ลงไปแล้วเจอกับใบมีดก็เปรียบได้กับการเคี้ยวอาหารในปาก น้ำผลไม้ที่ได้ออกมาก็เปรียบได้กับสารอาหารที่ร่างกายจะนำไปใช้ต่อ ส่วนกากใยที่ไม่ได้นำไปรับประทานด้วย หลังจากถูกบีบคั้นจนไม่เหลือน้ำผลไม้อยู่แล้ว ก็จะถูกแยกออกจากเครื่อง เปรียบเหมือนการกำจัดเศษซากอาหารส่วนที่เหลือของร่างกายออกไปด้วยการขับถ่าย นี่จึงเป็นการอธิบายเพื่อให้คุณเห็นภาพง่าย ๆ ว่า ร่างกายเราทำอย่างไรกับอาหารที่ทานเข้าไป

การทำงานของระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหารเป็นระบบที่มีอวัยวะหลายอย่างทำงานสัมพันธ์กันอย่างเป็นลำดับขั้น โดยมีการทำงานที่อวัยวะต่าง ๆ ดังนี้

ช่องปาก เมื่ออาหารเข้าปาก เรามีฟันที่จะช่วยฉีกกัดและบดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง โดยระหว่างการเคี้ยว ต่อมน้ำลายก็ส่งน้ำลายออกมาคลุกเคล้ากับอาหาร ซึ่งในน้ำลายนั้นมีเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตให้มีขนาดเล็กลง รวมถึงทำให้อาหารนั้นอ่อนนิ่ม สามารถกลืนได้ง่ายขึ้น

คอหอย เป็นบริเวณที่ไม่มีการย่อยเกิดขึ้น เป็นเพียงทางผ่านของอาหารก่อนที่จะถูกส่งไปที่หลอดอาหาร เมื่อมีอาหารผ่าน หลอดลมจะปิดเพื่อกั้นไม่ให้อาหารหลุดเข้าไปแล้วเกิดการสำลัก

หลอดอาหาร เป็นท่อเชื่อมส่งอาหารจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ด้วยการบีบและคลายกล้ามเนื้ออย่างเป็นจังหวะ ส่วนด้านล่างที่ต่อกับกระเพาะอาหาร จะมีกล้ามเนื้อหูรูดซึ่งช่วยป้องกันอาหารและกรดไหลย้อนกลับขึ้นมา

กระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นถุงที่มีผนังกล้ามเนื้อแข็งแรง เอาไว้รองรับอาหารและหลั่งน้ำย่อยออกมา เน้นย่อยอาหารประเภทโปรตีนเป็นหลัก ส่วนที่เชื่อมต่อกับลำไส้เล็กก็มีหูรูด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารไหลไปที่ลำไส้เล็กเร็วเกินไป

ลำไส้เล็ก เป็นท่อกลวงขดไปมา มีความยาวกว่า 6 เมตร เป็นบริเวณที่เกิดการดูดซึมสารอาหารมากที่สุด มีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และกำจัดของเสียในเลือด

ลำไส้ใหญ่ เป็นท่อกลวงยาวประมาณ 1.5 เมตร ลำไส้ใหญ่ส่วนต้นอยู่ทางด้านขวาของช่องท้องและเป็นที่อยู่ของไส้ติ่ง ลำไส้ใหญ่ส่วนที่พาดขึ้นด้านบนจะดูดซึมน้ำและวิตามินบางชนิด จากนั้นจะขับกากอาหารให้เข้าสู่ส่วนของไส้ตรง เพื่อรอออกสู่ทวารหนักเมื่อมีการขับถ่าย

4 โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ที่เกิดบ่อยจากพฤติกรรมที่ผิดเพี้ยน

จากลักษณะของระบบย่อยอาหารที่มีความซับซ้อน และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะหลายอย่าง เป็นเรื่องง่ายที่จะเกิดความผิดปกติขึ้นได้ที่จุดใดจุดหนึ่ง หลายครั้งพบว่า มักจะมาจากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในการใช้ชีวิต อย่างเช่น

  1. โรคกระเพาะอาหาร มักสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตที่ผิดเพี้ยน เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การทานอาหารรสจัด หรือการมีความเครียดที่สูงมากจนเกินไป
  2. โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะไหลย้อนกลับมาที่หลอดอาหารเนื่องจากหูรูดกั้นทำงานผิดปกติ พบว่าเป็นมากในกลุ่มคนที่น้ำหนักเกิน สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมถึงคนที่ชอบนอนหลังทานอาหารทันที
  3. โรคลำไส้อักเสบ เป็นอาการเจ็บป่วยที่ลำไส้ใหญ่ มักเกิดจากพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่ไม่ปรุงสุกใหม่ หรือทานอาหารปนเปื้อนเชื้อโรคหรือแบคทีเรีย
  4. โรคไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่มีไขมันไปเกาะที่เซลล์ของตับจนทำให้ตับอักเสบ มักพบว่าเกิดจากการดื่มสุรา หรือพบในผู้มีความผิดปกติของร่างกายในด้านอื่นด้วย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

ระบบย่อยอาหารมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เพราะเป็นแหล่งสร้างพลังงานให้ร่างกาย การดูแลที่ถูกต้องคือ ต้องทำให้ตนเองสุขภาพดีตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มตั้งแต่สุขภาพในช่องปาก ไปจนถึงการควบคุมการรับประทานอาหารให้ดี เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาเรื่องการขับถ่าย ควบคู่ไปกับการหมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ

ประเภทของสารเคมีที่จะจัดเก็บ  Type of Chemical to be stored ที่จะทำให้ง่ายต่อการทำงานและปลอดภัย

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้การใช้สีและการติดฉลากบ่งในการจัดเก็บให้เป็นแนวทางปฏิบัติจะช่วยให้สา

อ่านเพิ่มเติม »

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ LAAB คืออะไร มีผลข้างเคียงไหม ใครจะได้รับบ้าง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้LAAB เป็นแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันที่ออกฤทธิ์ยาว ประกอบด้วยแอนติบอดี

อ่านเพิ่มเติม »