อย่าสับสนจนเสียหาย เครื่องดื่ม เกลือแร่ ท้องเสีย VS เกลือแร่ ออกกำลังกายไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

แชร์บทความนี้

เมื่อท้องเสียก็ต้องจิบเกลือแร่เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกาย แต่ก็ยังมีหลายคนที่เมื่อมีอาการท้องเสียและต้องการบรรเทาอาการด้วยการดื่มเกลือแร่ เลือกจะเดินไปร้านสะดวกซื้อและหยิบเกลือแร่รูปแบบขวดออกมาจากตู้แช่ หารู้ไม่ว่า คำว่าเกลือแร่เหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์ของการดื่มนั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้หลังดื่มเกลือแร่แบบขวด นอกจากจะไม่ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียแล้ว อาการอาจจะแย่ลงกว่าเดิมก็ได้

แก้ไขความเข้าใจผิดให้กระจ่าง เกลือแร่ 2 ประเภทนี้ต่างกันอย่างไร

จริง ๆ แล้วลักษณะภายนอกของเกลือแร่เพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย และเกลือแร่เพื่อทดแทนการเสียเหงื่อจากการออกกำลังกายนั้น แยกออกได้ง่าย ๆ หากเป็นสำหรับการออกกำลังกาย มักพบจำหน่ายรวมอยู่กับเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ มีลักษณะเป็นขวด มีสีสันและรสชาติให้เลือกมากมาย ส่วนเกลือแร่สำหรับท้องเสียจะมาในลักษณะผงอยู่ในซอง ผู้ป่วยต้องชงกับน้ำสะอาดเพื่อดื่มเอง

ทางที่ดีอีกทางคือ เราควรเข้าใจชื่อเรียกที่แท้จริงของเกลือแร่สำหรับบรรเทาอาการท้องเสีย หรือเกลือแร่ที่มาในรูปแบบซอง ต่อไปนี้หากท้องเสีย ต้องมองหา “เกลือแร่โออาร์เอส” (Oral Rehydration Salt : ORS) เสมอ เป็นการเติมน้ำให้ร่างกายเนื่องจากท้องเสียหรืออาเจียน เกลือแร่ประเภทนี้มีส่วนประกอบหลักคือ “โซเดียม” นอกจากนี้ก็มีแร่ธาตุอื่น ๆ ที่จำเป็นอย่างโพแทสเซียมและกลูโคส ซึ่งบรรจุมาในอัตราส่วนที่เหมาะสมแล้ว

สำหรับเกลือแร่ในขวดที่ใช้สำหรับการสูญเสียน้ำเนื่องจากการออกกำลังกาย มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เกลือแร่โออาร์ที” (Oral Rehydration Therapy : ORT) ไม่นับเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ จัดเป็นเครื่องดื่มทั่วไปที่มักจะมีน้ำตาลอยู่เยอะ เพราะเหตุนี้การดื่มเกลือแร่ประเภทนี้เพื่อหวังบรรเทาอาการท้องเสีย จึงมักไม่ได้ผล ซ้ำร้าย ร่างกายยังจะต้องจัดการกับน้ำตาลที่เพิ่มเข้ามา อาจส่งผลให้อาการท้องเสียยิ่งเลวร้ายลงได้

ดื่มเกลือแร่โออาร์เอสอย่างไรให้ได้ผลดีเมื่อมีอาการท้องเสีย

นอกจากจะต้องแยกเกลือแร่ทั้ง 2 ประเภทนี้ให้ออกแล้ว ยังมีข้อควรจดจำเกี่ยวการใช้เกลือแร่โออาร์เอส ที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อผลลัพธ์การบรรเทาอาการสูญเสียน้ำในร่างกายให้ได้ดีที่สุด

  • ควรใช้เมื่อมีอาการสูญเสียน้ำจากอาการท้องเสีย ท้องร่วง หรืออาเจียนร่วมด้วย เท่านั้น
  • เกลือแร่โออาร์เอสต่างยี่ห้อกัน ก็มักมาในซองที่มีขนาดบรรจุไม่เท่ากัน ดังนั้นการผสมน้ำ ให้ยึดอัตราส่วนที่กำกับไว้บนซองเกลือแร่อย่างเคร่งครัด
  • น้ำที่ใช้ผสมเกลือแร่ต้องเป็นน้ำสะอาด หรือน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วเท่านั้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนอื่น ๆ ที่อาจทำให้อาการท้องเสียแย่ลง
  • การนำเกลือแร่เข้าสู่ร่างกาย ให้ “จิบ” ช้า ๆ โดยให้จิบแทนน้ำเปล่าเมื่อมีอาการ ไม่ควรดื่มรวดเดียว
  • เกลือแร่ที่เปิดซองและละลายน้ำแล้วควรจิบให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง
  • หากอาการท้องเสียยังไม่ทุเลา และรุนแรงขึ้น ให้หยุดจิบ แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานในผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคหัวใจ และโรคไต

อย่าลืมว่า การดื่มอะไรก็ตามเพื่อให้เป็นยารักษา จะต้องดูให้ดี และปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุเอาไว้บนฉลากอย่างเคร่งครัด การดื่มเกลือแร่ก็เช่นกัน หากใช้ถูกประเภท ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หรือหลีกเลี่ยงการใช้งานเมื่อรู้ตัวว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง อาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ก็มีแนวโน้มที่จะได้ทุเลาลง และหายไปได้

อุปกรณ์Emergency Shower ชนิดSelf-Contained Eyewash

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าในการทำงานร่วมกับสารเคมีนั้นมีโอกาสที่ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับอันตรายจากสัมผัสสารเคมีดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจ…

อ่านต่อ »

อุปกรณ์ถ่ายเทอากาศในที่อับอากาศ( Confined Space Ventilator)

แชร์บทความนี้

ระบบการถ่ายเทอากาศจะจำเป็นต้องถูกใช้ในสถานที่ทำงานต่อเมื่อสถานที่ดังกล่าวมีสภาพดังต่อไปนี้ มีอ็อกซิเจนไม่เพียงพอ น้อยกว่า 19.5%

อ่านต่อ »

มาตรฐานรองเท้านิรภัยของสหภาพยุโรป EN345

แชร์บทความนี้

รองเท้านิรภัยคู่ใดจะได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน EN345 อันเป็นข้อบังคับหลักของยุโรปหรือเครื่องหมายมาตรฐาน ISO EN20345 ซึ่งได้กำหนดขึ้นมาใหม่

อ่านต่อ »

ร้อนใน ปัญหาช่องปากที่พบเจอบ่อยและแคสที่หายาก พร้อมวิธีการรักษาอย่างละเอียด

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ร้อนในในช่องปาก (Aphthous ulcers) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกว

อ่านเพิ่มเติม »

% LEL หรือ %Vol (Volume) หน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ

แชร์บทความนี้

สำหรับหน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ % LEL หรือ %Vol (Volume) ในอุปกรณ์วัดแก๊สติดไฟ หากเราพิจารณาชนิดของหน่วยของการวัดแล้ว เราก็จะเห็นการรายงาน…

อ่านเพิ่มเติม »