สัญญาณเตือนอาการของโรคไข้เลือดออกและวิธีป้องกันห่างไกลไข้เลือดออก

แชร์บทความนี้

เข้าสู่ฤดูฝนอย่่างเต็มรูปแบบ โรคที่มักจะตามมากับหน้าฝนส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นโรคไข้เลือกออกมาเป็นอันดับต้นๆ วันนี้ Thai-safetywiki มีข้อมูลดีๆ สัญญาณเตือนอาการและวิธีป้องกันห่างไกลไข้เลือดออก มาฝากกันครับ

 

สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus)

เชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4 นั้นมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด และถ้ามียุงมากัดคนที่ได้รับเชื้อก็จะเกิดการแพร่เชื้อสู่คนอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุในการก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา

อาการของไข้เลือดออก

อาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีนั้น แบ่งเป็น 2 ชนิดตามความรุนแรง คือ

  1. ไข้เดงกี
  2. ไข้เลือดออก

โรคไข้เดงกี (dengue fever) ซึ่งอาการที่พบได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อหรือกระดูก มีผื่นขึ้นคล้ายผื่นของโรคหัด และอาจมีภาวะเลือดออกหรือไม่มีก็ได้

 

ส่วนอาการของโรคไข้เลือดออกนั้น จะมีอาการเหมือนกันไข้เดงกี แต่จะมีอาการเริ่มด้วยดังนี้

  1. มีไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน
  2. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหาร
  3. หน้าแดง อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่น เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะ อุจจาระมีเลือดปน
  4. ปวดท้องอย่างรุนแรง มีอาการเจ็บชายโครงด้านขวา
  5. ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก หลังจากมีไข้มาแล้วหลายวันผู้ป่วยอาจเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อก และเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า กลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (dengue shock syndrome) โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปัสสาวะน้อยลง ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ วัดชีพจรไม่ได้ ซึ่งเมื่อมีอาการเช่นนี้จะต้องรีบนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างมาก

วิธีป้องกันห่างไกลไข้เลือดออก

  1. ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด ใช้สารไล่ยุงชนิดต่างๆ เช่น DEET รวมถึงป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามาหลบซ่อนในบ้าน ทั้งนี้ ยุงลายมักกัดในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน
  2. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้านและใกล้เคียง ด้วยการปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขังไม่ให้ยุงเข้าไปวางไข่ได้ เปลี่ยนน้ำในภาชนะที่ปิดไม่ได้ เช่น แจกัน ทุกสัปดาห์ หรือหากบ้านไหนมีอ่างบัวให้ปล่อยปลาเช่นปลาหางนกยูงเพื่อกินลูกน้ำในอ่าง ปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาดปราศจากเศษวัสดุที่อาจมีน้ำขังได้ เช่น ขวดเก่า กระป๋องเก่า เป็นต้น หรือหากมีการใช้น้ำรองบริเวณขาตู้กับข้าวให้ใส่เกลือแกง หรือทรายอะเบทเพื่อป้องกันยุงมาไข่
  3. สำหรับในรายที่อายุมากกว่า 9 ปี และน้อยกว่า 45 ปี และมีประวัติเคยเป็นไข้เลือดออกมาแล้ว อาจพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกสายพันธุ์อื่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากการติดเชื้อไข้เลือดออกครั้งที่สองมักจะมีอาการรุนแรงกว่าครั้งแรก ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ข้อกำหนดอ่างล้างตาและฝักบัวชำระล้างฉุกเฉินตาม ANSI Z358.1-2014 Standard

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันมาตรฐานสากลที่ใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายคือ ANSI Z358.1-2014 Standard (Versionปัจจุบัน) ซึ่งได้กำหนดหัวข้อสำคัญๆไว้ดังนี้

อ่านต่อ »

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ สารเคมีหกรั่วไหล

แชร์บทความนี้

สารเคมีหกรั่วไหล นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นความประมาทจากการเคลื่อนย้ายสารเคมี อุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ฯลฯ เราจะเตรียมตัว

อ่านเพิ่มเติม »

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร

แชร์บทความนี้

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ววัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ถูกแบ่งแยกเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้เกิด

อ่านเพิ่มเติม »