การใช้เอียปลั๊ก, ที่อุดหู หรือโฟมอุดหูลดเสียง เพื่อช่วยลดเสียงรบกวนรอบข้างช่วยให้หลับสนิท

แชร์บทความนี้

แน่นอนครับว่า การนอนหลับพักผ่อน เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์อย่างเรา แต่การพักผ่อนที่ดีอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับ ผู้ที่อยู่ใกล้สถานที่ที่มีการใช้เสียงดังและเกิดการรบกวน เช่น ผับ บาร์ คอนเสิร์ต หรือการอยู่ใกล้สนามบินที่มีเสียงรบกวนตลอดเวลา เป็นต้น ซึ่งจะรบกวนการนอนหลับ และอาจส่งผลต่อสุขภาพในวันสำคัญได้ ในบทความนี้มีวิธีการดีๆมาแชร์กันครับ

เริ่มจากพื้นฐานของเสียง สิ่งที่ควรรู้ได้แก่

  1. ค่าหน่วยวัดความเข้มของเสียงหรือ เดซิเบล เดซิเบล (decibel ตัวย่อ dB) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความเข้มของเสียง ระดับเดซิเบล หูของมนุษย์นั้นมีความไวต่อเสียงอย่างไม่น่าเชื่อ หูของคุณสามารถได้ยินทุกอย่างตั้งแต่ปลายนิ้วลูบเบาๆ บริเวณผิวหนังไปจนถึงเครื่องยนต์ไอพ่นที่มีเสียงดัง

ระดับเสียงที่เริ่มก่อให้เกิดการรบกวนขณะนอนหลับ

 

 

 


ระดับเสียงที่เริ่มก่อให้เกิดการรบกวนขณะนอนหลับขึ้นอยู่ระดับเสียงที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมรอบข้างด้วย ตัวอย่างเช่น เสียงดังจากผู้อื่นที่อยู่ในห้องเดียวกัน หรือเสียงจากการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเป็นต้น

 

หากต้องการการนอนหลับอย่างสบาย ควรลดระดับเสียงให้มากที่สุด คำแนะนำที่สามารถทำได้เพื่อลดการรบกวนขณะนอนหลับได้แก่

  1. ปิดหรือลดระดับเสียงจากอุปกรณ์ที่สร้างเสียงรบกวน เช่น เครื่องปรับอากาศที่มีเสียงดัง หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ส่งเสียงรบกวน
  2. ใช้ฉนวนกันเสียง (Soundproofing) ในห้องนอน เช่น บริเวณผนังหรือหน้าต่าง เพื่อลดการสะท้อนเสียงเข้ามาในห้อง
  3. ใช้เอียปลั๊กหรือที่อุดหู ( Ear Plugs ) เพื่อปิดกั้นเสียงรบกวนจากภายนอก

แชร์ทริควิธีเลือก Ear Plugs

วัสดุโดยทั่วไปจะมี 2 แบบด้วยกันคือ

  1. ปลั๊กอุดหูแบบ Foam หรือฟองน้ำเทียม (SYNTHETIC SPONGE) โดยทั่วไปจะ สามารถลดระดับเสียงลงได้ประมาณ 24-29 เดซิเบล(เอ) ก่อนใช้จะต้องปั้นให้เล็กที่สุดเพื่อที่จะเสียบเข้าไปในรูหู หลังจากนั้นโฟมจะค่อยๆฟูขึ้นจนปิดช่องรูหู ทำให้เสียงผ่านได้น้อยลง

ทริค โฟมที่มีการคืนตัวช้าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงได้ดีว่าโฟมที่มีการคืนตัวเร็ว เนื่องจากความอ่อนตัวของโฟมจะมีมากกว่าทำให้ปิดช่องหูได้สนิทกว่า

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี:

  1. ราคาถูก
  2. ลดระดับความดังของเสียงได้มากกว่าที่อุดหูชนิดอื่น
  3. ไม่ระคายเคืองต่อรูหู
  4. สามารถใส่ทำงานได้เป็นเวลานานๆ

ข้อเสีย:

  1. สิ้นเปลือง เพราะไม่สามารถที่จะล้างทำความสะอาดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อความสะอาด
  2. เสียเวลาในการปั้นขึ้นรูปก่อนการใช้
  3. ปลั๊กอุดหูแบบพลาสติก หรือยาง หรือซิลิโคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาเป็นสำคัญความสามารถในการลดระดับเสียงอยู่ในระหว่างช่วง 24-26 เดซิเบล(เอ)

    2. ปลั๊กอุดหูแบบพลาสติก หรือยาง หรือซิลิโคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาเป็นสำคัญความสามารถในการลดระดับเสียงอยู่ในระหว่างช่วง 24-26 เดซิเบล(เอ)

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี:

  1. ล้างทำความสะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  2. สามารถใส่ทำงานได้เวลานาน

ข้อเสีย:

  1. สูญหายง่าย เป็นเหตุให้สิ้นเปลือง
  2. ระคายเคืองหูและบางคนอาจแพ้วัสดุที่ทำที่อุดหูเช่นยาง
  3. ราคาสูงกว่าแบบต้องปั้นขึ้นรูป
  4. ป้องกันเสียงได้น้อยกว่า

ข้อสังเกตุในการเลือกระดับการป้องกันเสียง ให้สังเกตุที่ซองของตัวปลั๊กอุดหู จะมีค่า NRR แสดงอยู่ เลือกตามเสียงรบกวนที่ต้องการลด มาก – น้อยได้เลย

ทริค

ระดับเสียงที่ต้องการลดสามารถหักลบจากระดับเสียงโดยประมาณตามตารางด้านบนได้เลย เช่นเวลานอนจะมีเสียงคนพูดคุยกันเข้ามาในห้อง เสียงพูดคุยจะมีระดับความเข้มประมาณ 60 dB ถ้าเราต้องการให้เบาลงเพื่อให้หลับได้ดีขึ้น เราเลือกปลั๊กอุดหู Moldex Softie ที่สามารถลดเสียงได้ 33dB เสียงที่เราได้ยินจะลดลงเหลือเพียง 26dB ซึ่งเบากว่าเสียงกระซิบ จึงสามารถช่วยให้หลับสนิทและยาวนานขึ้น

 

Moldex ปลั๊กอุดหูอันดับ 1 จากสหรัฐอเมริกา