ซีเซียม 137 คืออะไร สารกัมมันตรังสี อันตรายแค่ไหน อธิบายแบบง่ายๆ เข้าใจ ชัดเจน ไม่ตระหนก

แชร์บทความนี้

ซีเซียม 137 คืออะไร

ซีเซียม-137 นั้น เป็นสารกัมมตรังสีเกิดได้เมื่อยูเรเนียมและพลูโทเนียม มีการกลืนอนุภาคนิวตรอนแล้วเกิดปฏิกิริยาฟิชชัน ซึ่งพบได้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และ อาวุธนิวเคลียร์  การแบ่งแยกนิวเคลียร์ของยูเรเนียมและพลูโตเนียม ในปฏิกิริยาฟิชชันก่อให้เกิดผลผลิตจากฟิชชันมากมาย ซีเซียม-137 เป็นหนึ่งในผลผลิตจากฟิวชันเหล่านั้น

 

ทีนี้มาดู ลักษณะทางกายภาพของ Cs 137 กันครับ

Ceasium : เป็นโลหะอ่อนมากสีทองเงิน จุดหลอมเหลวอยู่ที่ 28.5 องศาเซลเซียส เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับ คลอไดร์กลายเป็นผงผลึก คล้ายเกลือและปล่อยรังสีเบต้ากับแกรมม่า

แล้วซีเซียม มีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงมีการนำมาใช้งาน

ซีเซียม-137 เป็นไอโซโทปรังสี ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในทางด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดตัวหนึ่ง มีเครื่องมือนับพันชนิดที่ใช้ซีเซียม

เป็นส่วนประกอบ เครื่องมีต่างๆเช่น 

  • – เครื่องความชื้นและความหนาแน่น ที่ใช้กันในอุตสาหกรรมการก่อสร้างต่างๆ
  • – เครื่องวัดระดับ ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวัดการไหลของของเหลวในท่อและแท็งก์
  • – เครื่องวัดความหนา ของแผ่นโลหะ กระดาษ ฟิล์ม 
  • – เครื่องหยั่งธรณี การขุดเจาะชั้นดิน และ หินต่างๆ
  • – ทางการแพทย์มีการใช้เพื่อใช้บำบัดมะเร็ง 
  • – ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกรมมา ใน ห้องปฏิบัติการวิจัยทางรังสี

จากภาพข่าว แท่งแคปชูลนี้ มีวัสดุกัมตรังสีซีเซียม-137 อยู่ภายใน ใช้เพื่อเป็นอุปกรณ์วัดระดับในอุตสาหกรรม

ปริมาณของซีเซียม-137 ที่บรรจุภายในเต็มภาชนะค่าเริ่มต้นอยู่ที่ 80 มิลลิคูรี ( 80  mCi ) วัดระดับไว้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538

 “ณ ปัจจุบันได้มีการตรวจวัด เหลือปริมาณอยู่ที่ 41.14 มิลลิคูรี โดยประมาณ” ก่อนที่จะสูญหาย

อันตรายจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137

แบ่งได้เป็น 2 แบบนะครับคือ

  1. ความอันตรายทางกายภาพ ของตัววัสดุ หากวัสดุเกิดการรั่วไหลและไม่มีวัสดุห่อหุ้มกันการแผ่กระจาย ให้ระวังอย่าสูดดม สัมผัส และทำให้เข้าไปในร่างกาย
  2. ความอันตรายทางรังสี ในกลุ่มอาการเฉียบพลัน จะต้องมีภาวะดังนี้
  • ความอันตรายทางรังสี รีงสีนั้นต้องมีสูงพอ มักต้องเกิน 0.7 เกรย์(Gray) หรือ 70 แหรดส์ (rads)
  • บริเวณที่ถูกสัมผัสต่อรังสี : ผิวหนังทั้งร่างกาย
  • ระบบอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ : ระบบหลอดเลือด ทางเดินอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท

อัตราปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเซียม-137 ทางกัมตรังสี ( ที่รายงานการตรวจสอบจาก สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ) ที่เป็นข่าวในขณะนี้

อัตราปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเซียม-137 มีค่าดังนี้

  • ที่ระยะ 30 เซนติเมตร จากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิด ประมาณ 1.29 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
  • ที่ระยะ 60 เซนติเมตร จากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิด ประมาณ 0.12 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
  • ที่ระยะ 120 เซนติเมตร จากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิด ประมาณ 0.03 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
  • ที่ระยะ 180 เซนติเมตร จากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิด ประมาณ 0.01 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง

ระดับซีเวิร์ตขนาดไหนถึงอันตราย

  1. 0.- 0.25 ซีเวิร์ต ( 0. – 250 มิลลิซีเวิร์ต ) ไม่มีอาการ
  2. 0.25 – 1 ซีเวิร์ต ( 250 – 1000 มิลลิซีเวิร์ต ) บางคคนอาจจะวิงเวียนศีรษะและไม่อยากอาหาร มีการทำลายไขกระดูก ปุ่มน้ำเหลือง(Lymph nodes ) ม้าม
  3. 1 – 3 ซีเวิร์ต ( 1000 – 3000 มิลลิซีเวิร์ต ) วิงเวียนศีรษะปานกลางถึงรุนแรง ไม่อยากอาหาร ติดเชื้อ ทำลายไขกระดูก ไขกระดูก ปุ่มน้ำเหลือง(Lymph nodes ) ม้าม รุนแรงขึ้น การฟื้นตัวยังเป็นไปได้แต่รับประกันไม่ได้
  4. 3 – 6 ซีเวิร์ต ( 3000 – 6000 มิลลิซีเวิร์ต ) วิงเวียนศีรษะรุนแรง ไม่อยากอาหาร หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดภาวะตกเลือด ( Hemmorrhaging ) ติดเชื้อ ท้องร่วง ผิวหนังลอก เป็นหมันและเสียชีวิตได้
  5. 10 ซีเวิร์ต ( 10,000 มิลลิซีเวิร์ต ) ขึ้นไป ทุพพลภาพและเสียชีวิตได้

“ถ้าพิจารณาเทียบระดับการรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเซียม-137 ทางกัมตรังสี พบว่าค่าไม่เกิน 0. – 0.25 ซีเวิร์ต ( 0. – 250 มิลลิซีเวิร์ต ) จึงไม่มีอาการอะไรนะครับ”

การป้องกันและการปฏิบัติตน

หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสี

ถ้าเกิดเหตุหรือมีการสัมผัสแล้วให้ไปลงทะเบียนผู้สัมผัสสารกัมมันตรังสียังหน่วยงานที่กำหนด

รวบรวมสิ่งของหรือเสื้อผ้าที่คาดว่าอาจมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ

มีการติดตามข้อมูล และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

อย่างไรก็ตาม ให้สังเกตอาการที่ควรพบแพทย์ ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวมากเกินกว่า 2 ครั้ง มีไข้ หนาวสั่น ชักเกร็ง มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายในหนึ่งสัปดาห์หลังการสัมผัสรังสี หรือวัตถุต้องสงสัย ทีมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :https://www.hfocus.org/content/2023/03/27282

ศูนย์รักษาพิษสารสารเคมีอันตรายภาคตะวันออก โรงพยาบาลระยอง และศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร

แชร์บทความนี้

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ววัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ถูกแบ่งแยกเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้เกิด

อ่านต่อ »

มาตรฐาน แว่นตาทหาร (Military Grade Glasses)

แชร์บทความนี้

ในการปกป้องดวงตาของผู้ใช้งาน หน่วยงานด้านมาตรฐานคุณภาพผลิตภันฑ์ ของสหรัฐ(ANSI) และ กองทัพสหรัฐ ต่างก็มีการกำหนด มาตรฐาน แว่นตาทหาร

อ่านเพิ่มเติม »