อันตรายจาก ภัยพิบัติฝูงชน และวิธีการเอาตัวรอด

แชร์บทความนี้

เนื่องจากเหตุสลดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมานี้ในย่าน อิแทวอน ในกรุงโซล ที่ประเทศเกาหลีใต้ ผู้คนเบียดเสียดกันจนเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 154 ราย และผู้บาดเจ็บกว่า 82 ราย ทางเรา จึงรวบรวมข้อมูลความอันตรายจาก ภัยพิบัติฝูงชนและวิธีการเอาตัวรอด เตรียมตัวไว้หากคุณคือผู้อยู่ในเหตุการณ์เหล่านี้หรือ เจอสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน มาฝากกันครับ

 

ภัยพิบัติฝูงชน

(crowd or mass gathering disaster) หมายถึง การบาดเจ็บ ล้มตายเมื่อมีผู้คนจำนวนมากมาร่วมกันอย่างแออัดยัดเยียดแล้วเกิดการผลัก/อัด/เบียด/ล้มทับ/เหยียบกันตาย (human stampede) หรือเกิดความไม่สงบ (civil unrest) หรือการจลาจล (riot) หรืออื่นๆ.

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายภัยพิบัติฝูงชนใช้ตัวย่อเพื่อให้จำง่ายคือ  FIST หรือ Force, Incitement, Space และ Time

 

  1. จำนวนคนและแรงผลัก/เบียด (Force) จำนวนคนและแรงผลัก/เบียดจะมาก หรือน้อยย่อมขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนคนกับขนาดของพื้นที่และสภาพร่างกายของผู้คนในฝูงชน เช่น ในโรงภาพยนตร์หรือไนท์คลับ คนไม่กี่ร้อยคนที่แออัดยัดเยียดกันอยู่ ถ้ามีคนตะโกนว่าไฟไหม้หรือระเบิด และเกิดการแตกตื่นแย่งกันหนีออกทางประตูแคบๆ จะเกิดการผลัก/เบียด/เหยียบกันตายได้ โดยเฉพาะเด็ก สตรี และคนชราที่อ่อนแอกว่า เป็นต้น.

 

  1. สิ่งกระตุ้น (Incitement or information) อาจจะเป็นเหตุการณ์หรือข้อมูล (ข่าวจริง ข่าวลือ) ที่ทำให้ผู้คนตื่นตกใจ หรือกลัวว่าจะไม่ได้สิ่งที่ตนต้องการ (เช่น การเข้าชมกีฬา/คอนเสิร์ต/หรืองานเทศกาลต่างๆ) หรือโกรธ จนเกิดการวิ่ง/การผลัก/การลุกฮือขึ้นพร้อมๆ กัน จนไม่สามารถควบคุมได้ เป็นต้น.

 

  1. พื้นที่ (Space) ขนาดและสภาพของพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดภัยพิบัติ เช่น พื้นที่แคบ สะพาน/อัฒจันทร์/ท่าเรือ (โป๊ะข้ามฟาก) ที่ไม่แข็งแรง พื้นที่ใกล้สิ่งอันตราย (ดอกไม้ไฟ พลุ บั้งไฟ ฯลฯ) อากาศร้อน/หนาวเกินไป เป็นต้น.

 

ส่วนมากในสถานการณ์จริง ในที่ที่มีฝูงชนรวมกันอย่างแออัด แล้วเกิดเหตุการณ์หรือข่าวที่ทำให้เกิดการแตกตื่นหรือลุกฮือขึ้น ฝูงชนจะเกิดปฏิกิริยาคล้ายกันและตามกันไปเป็น พรวน จนบางครั้งแม้จะมีประตู/ทางออกหลายแห่ง แต่ฝูงชนมักจะแห่กันไปออกทางประตู/ทางออกที่มีคนกลุ่มแรก (ซึ่งเปรียบเสมือน จ่าฝูง“) วิ่งออกไปก่อน แทนที่จะกระจายกันออกทางประตู/ทางออกอื่น จึงเกิดการแย่งชิงกัน ผลัก/เบียดกัน จนล้มและเหยียบกันตายขึ้น.

4. เวลา (Time) ระยะเวลาทั้งหมดที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ถ้าสั้น การบาดเจ็บล้มตายจะน้อย ถ้ายาว (เพราะคุมสถานการณ์ไม่ได้) การบาดเจ็บล้มตายจะมาก.

 

 

วิธีการเอาตัวรอด

1.ลืมตาสอดส่องเส้นทางอยู่เสมอ 

เป้าหมายที่สำคัญที่สุดก็คือการออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด ดังนั้น พยายามมองหาทางออกที่เป็นไปได้ และพยายาม ใช้เส้นทางที่หลีกเลี่ยงฝูงชน โดยใช้การอ้อม ไปทางที่ผู้คนเบาบาง หรือใช้การปืนขอบกำแพงก็ได้

2.เมื่อรอบตัวคนเริ่มเบียดกันมากขึ้น ให้ออกห่างจากจุดนั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้

ยิ่งอยู่จุดเดิมนานๆ และฝูงชนเริ่มทยอยเข้ามาเรื่อยๆ ก็ยิ่งยากที่จะเคลื่อนตัวออกมาได้ ให้ออกห่างจากบริเวณที่แออัดออกมาเรื่อยๆ

3. พยายามยืนตั้งมั่นไว้

วิธีนี้ใช้เฉพาะตอนที่ รู้สึกสายเกินกว่าจะขยับตัวหรือไปไหนไม่ได้แล้วนั้นเองครับ พยายามรักษาการยืนไว้ให้มั่นคง เพราะหากล้มลง ก็จะกลายเป็นโดมิโน่ หากล้มลงปุ๊บ น้ำหนักของคนอื่นๆก็จะตรึงเราไว้กับที่ จนเสี่ยงจะโดนเหยียบจนเสียชีวิตได้

 

4.พยายามสูดลมหายใจเข้า

อากาศเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย ผู้เสียชีวิตไม่น้อยเกิดจากสาเหตุขาดอากาศหายใจ

 

5.ใช้แขนตั้งการ์ดกันบริเวณทรวงอก

 หากการเบียดกันเริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้น ให้ยกแขนขึ้นมากันบริเวณทรวงอก (คล้ายๆ กับการตั้งการ์ดของนักมวย) เพื่อป้องกันกระดูกซี่โครง แต่ต้องไม่ตั้งการ์ดชิดกับอกจนเกิดไป ควรเว้นห่างไว้ 2-3 เซนติเมตร เพื่อให้เราสามารถหายใจได้

 

6.ไหลไปกับฝูงชน อย่าฝืน

เป็นเรื่องธรรมดาที่หากมีการดันไปอีกทาง ผู้คนมักจะฝืนดันกลับเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติ แต่ต้านทานไปก็เสียแรงเปล่า ดังนั้น จึงควรปล่อยตัวเองให้ไหลไปตามทิศทางที่ฝูงชนเคลื่อน พร้อมกับรักษาบาลานซ์ของร่างกายให้มั่นคงไปด้วย 

 

ข้อควรระวัง หากท่านอยู่ตรงกลางของฝูงชนและมีทั้งแรงพลักดันจากทั้งหน้าและหลัง ให้พยายามหาจุดปืนขึ้นที่สูงอย่างรวดเร็ว เพราะเสี่ยงจะเสียหลักและเป็นอันตรายมาก

 

 7.พยายามออกห่างจากสิ่งกีดขวาง

เทคนิคก่อนหน้านี้อาจใช้ไม่ได้ผล หากที่ที่เราอยู่นั้นใกล้ชิดกับกำแพง รั้ว หรือวัตถุแข็งอื่นๆ ที่เราปืนขึ้นไปไม่ได้ เพราะผู้เสียชีวิตรายแรกๆ จากการเบียดกันจนตายนั้น โดยมากมาจากการถูกอัดเข้ากับกำแพง ดังนั้น หากเป็นไปได้ให้พยายามอยู่ห่างจากกำแพงมากที่สุดเท่าที่ทำได้

 

8.ประเมินความหนาแน่นของฝูงชน

เทคนิคสำหรับการประเมินนี้ แบ่งออกคร่าวๆ ได้ดังนี้

  1. หากไม่มีการสัมผัสทางกายภาพกับคนรอบข้าง ความหนาแน่นน่าจะยังน้อยกว่าสามคนต่อตารางเมตร ดังนั้น ณ ตอนนี้ทุกอย่างก็ปกติดี
  2. หากกำลังชนกับคนรอบตัว 1-2 คนโดยไม่ได้ตั้งใจ ความหนาแน่นของฝูงชนจะอยู่ที่ประมาณ 4-5 คนต่อตารางเมตร ถือว่ายังไม่มีอันตรายในทันที แต่ควรย้ายออกจากศูนย์กลางของความแออัด
  3. หากไม่สามารถขยับมือได้อย่างที่คิด จนถึงขึ้นเริ่มยกมาแตะหน้าตัวเองไม่ได้ แปลว่าผู้คนแออัดกันอยู่มากเกินไป และกำลังจะเกิดอันตรายขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำอื่นๆ เช่น หากเป็นกรณีที่ฝูงชนอยู่ในอาการแพนิก ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายเกินกว่าจะคาดเดา ให้พยายามตั้งสติให้ดี และหาทางออกให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก

https://thematter.co/brief/189490/189490

https://www.doctor.or.th/clinic/detail/7437

คนกินเก่งต้องรู้ อาการหิวบ่อยน่ากลัวไหม พร้อมสาเหตุและทางแก้ไข

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความรู้สึกว่า ในการใช้ชีวิตประจำวันมักจะชอบรู

อ่านเพิ่มเติม »

สัญญาณเตือนอาการของโรคไข้เลือดออกและวิธีป้องกันห่างไกลไข้เลือดออก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เข้าสู่ฤดูฝนอย่่างเต็มรูปแบบ โรคที่มักจะตามมากับหน้าฝนส่วนใหญ่ก็หนี

อ่านเพิ่มเติม »

Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ ELECTROCHEMICAL รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

แชร์บทความนี้

จากบทความที่แล้วเรื่องของ sensor วัดแก๊สติดไฟ ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ Electrochemical เพื่อให้ทราบหลักการ

อ่านเพิ่มเติม »