การเลือก เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว (Full body harness)

แชร์บทความนี้

เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว หรือ Full body harness เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการทำงานบนที่สูงหากทำงานบนที่สูง โดยปราศจากการสวมใส่เข็มขัดนิรภัยฯนับว่าอันตรายอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง ยกเว้นมีการสร้างระบบป้องกันอื่นใดไว้รองรับแล้ว เช่น ราวกั้นหรือรั้วกันตก เป็นตัน

เข็มขัดนิรภัยมีหน้าที่เป็นพยุงผู้ปฏิบัติงานที่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว โดยใช้เชื่อมต่อกับสายช่วยชีวิตหรือ Lanyard ที่เชื่อมต่อไปยังจุดยึดบนอาคารหรือโครงสร้างต่างๆกันการพลัดตกจากที่สูง ซึ่งเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวนี้ ถูกออกแบบให้มีลักษณะแบบพยุงรอบตัว และมีจุดสำหรับเชื่อมต่อ connector กับสาย Lanyard หรือที่เรียกว่า D-Ring อย่างน้อย 1 จุด โดยจุดยึดดังกล่าวจะอยู่บริเวณด้านหลังของชุด (เมื่อสวมใส่ชุดเข็มขัดนิรภัยฯแล้วจุดยึดจะอยู่บริเวณท้ายทอยของผู้สวมใส่ )

นอกจาก D-Ring บริเวณท้ายทอยที่มากับเข็มขัดนิรภัยในรุ่นมาตรฐานแล้วนั้น เข็มขัดนิรภัยบางรุ่น ยังมีการออกแบบเพิ่ม D-Ring พิเศษในจุดต่างๆของชุดเข็มขัดนิรภัยเพื่อให้เหมาะสมของแต่ละหน้างานอีกด้วย อาทิ ที่หน้าอก ที่เอวทั้งสองข้าง

ซึ่งการออกแบบ D-Ring ในบริเวณต่างๆของชุดเข็มขัดนิรภัยนั้นจะมีมาตรฐานกำกับที่ชัดเจน เช่น

  • D-Ring เพื่อป้องกันการตกที่ติดตั้งบริเวณท้ายทอยหรือบริเวณหน้าอกต้องผ่านมาตรฐาน EN 361
  • D-Ring ที่บริเวณท้อง ใช้ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เชือก เช่น งานโรยตัว ต้องผ่านมาตรฐาน EN 813
  • D-Ring ที่บริเวณเอว สำหรับการอิงตัวเพื่อที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้มือทั้งสองข้างในการทำงานบนที่สูงได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ต้องผ่านมาตรฐาน EN 358 เป็นต้น

หากหน้างานมีการใช้งานที่แตกต่างครอบคลุมการทำงานหลายรูปแบบก็สามารถเลือกชุดเข็มขัดนิรภัยที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งจะมี D-Ring หลายจุดในชุดเดียวได้เช่นกัน แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

ชุดเข็มขัดนิรภัยพิเศษบางรุ่น ยังถูกออกแบบให้สามารถรองรับน้ำหนักผู้ใช้งานที่มีน้ำหนักตัวมากเป็นพิเศษได้ ปกติโดยพื้นฐานของมาตรฐาน EN ทั่วไปจะอยู่ที่ไม่เกิน 100 กิโลกรัม แต่ในปัจจุบันผู้ผลิตสามารถผลิตชุดเข็มขัดนิรภัย ให้สามารถรองรับน้ำหนักผู้ใช้งานได้มากกว่า 100 กิโลกรัม เช่น 140, 150, 180 กิโลกรัม เป็นต้น แต่ก็มีข้อควรระวังในเรื่องความสามารถในการรองรับน้ำหนักของชุดเข็มขัดนิรภัยด้วย เช่น หากเลือกการรองรับน้ำหนักของชุดเข็มขัดนิรภัยสูงสุดที่ 150กิโลกรัมมาใช้งาน ดังนั้นสายช่วยชีวิต และจุดยึดก็ต้องสามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง150กิโลกรัมด้วยเช่นเดียวกันถึงจะปลอดภัยต่อการทำงาน

นอกจากนี้ยังมี ชุดเข็มขัดนิรภัยที่ทำจากวัสดุพิเศษสำหรับหน้างานเฉพาะ เช่น ชุดเข็มขัดนิรภัยที่ทำจากวัสดุไม่นำไฟฟ้าสำหรับงานบนที่สูงที่เกี่ยวกับไฟฟ้า หรือชุดที่มีคุณสมบัติกันประกายไฟ สำหรับงานเชื่อมบนที่สูง

 

สรุป ในการเลือกชุดเข็มขัดนิรภัยฯเพื่อความปลอดภัยนั้น ควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆดังนี้

  1. มีมาตรฐานสากลรองรับที่เชื่อถือได้ เช่น มาตรฐานEN หรือ มาตรฐานANSI
  2. โรงงานผู้ผลิตมีความน่าเชื่อถือ
  3. เลือกใช้ตำแหน่ง D-Ring บนชุดเข็มขัดนิรภัยให้เหมาะสมกับงาน
  4. หากทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้เลือกใช้ชุดเข็มขัดนิรภัยและสายช่วยชิวิตที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไฟฟ้าช๊อตที่มีผลการทดสอบรองรับ
  5. หากทำงานเกี่ยวกับการเชื่อมไฟฟ้า ให้เลือกชุดเข็มขัดนิรภัยฯและสายช่วยชิวิตที่ออกแบบมาเพื่อทนทานต่อประกายไฟ หรือต้านทางการลุกไหม้ของเปลวไฟได้
  6. เลือกความสามารถในการรองรับน้ำหนักของชุดเข็มขัดนิรภัยกันตกและสายช่วยชีวิตให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของผู้สวมใส่พร้อมอุปกรณ์ที่พกติดตัวเมื่อปฏิบัติงานบนที่สูง

รองเท้าป้องกันไฟฟ้าแรงสูงชนิดสวมใส่ร่วมกับรองเท้านิรภัย(Dielectric  Overboots)

แชร์บทความนี้

ในการปฏิบัติงานร่วมกับไฟฟ้าแรงสูงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกใช้อุปกรณ์ในการป้องกันให้เหมาะสมกับการทำงานตามที่มาตรฐานความปลอดภัยกำหนด

อ่านต่อ »

กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera)

แชร์บทความนี้

กล้องถ่ายภาพความร้อนถูกนำมาใช้ในหลายๆ ด้าน เช่น เถ้ารถของท่านร้อนเกินไป กล้องถ่ายภาพความร้อน หรือ พื่อตรวจดูว่าเราป่วยหรือไม่ อาหารถูก…

อ่านต่อ »

พายุฤดูร้อนคืออะไร ติดตามการเตือนภัยเรื่องพายุฤดูร้อนได้ยังไงและวิธีการเตรียมตัว

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้พายุฤดูร้อนคือ พายุฤดูร้อน (Tropical Cyclone) เป็นสภาพอากาศโดยมากจะ

อ่านเพิ่มเติม »

ผิวไหม้แดดทำไงดี เคล็ดลับการดูแลและฟื้นฟูผิวให้กลับมาเปล่งปลั่ง พร้อมแนะนำ 7 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมกู้ผิวไหม้แดด

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ ผิวไหม้แดดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ที่ใช้เวลานอกบ้านในช่วงวันที่แ

อ่านเพิ่มเติม »

ร้อนใน ปัญหาช่องปากที่พบเจอบ่อยและแคสที่หายาก พร้อมวิธีการรักษาอย่างละเอียด

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ร้อนในในช่องปาก (Aphthous ulcers) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกว

อ่านเพิ่มเติม »