ถุงมือแพทย์ ถุงมือไนไตร : ขนาดใครว่าไม่สำคัญ

แชร์บทความนี้

ในขณะที่สถานการณ์การแพร่บาดของ Covid ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการในการใช้งานถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง ก็มีเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกัน เพราะนอกจากจะช่วยการในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังสามารถป้องกันการสัมผัสกับเชื้อไวรัสโควิดอีกด้วย การที่ถุงมือจะมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ต้อง ใส่ได้กระชับพอดี ไม่ขัดต่อ ขยับและการเคลื่อนไหวในการทำงาน หากถุงมือแน่นหรือหลวมมากเกินไป ก็จะเสียความคล่องแคล่วและเป็นอุปสรรคต่อการทำงานได้  

การสวมใส่ถุงมือที่ดีควรจะต้อง 

  1. กระชับพอดีกับฝ่ามือและความยาวพอดีกับนิ้วมือ 2
  2. ส่วนฝ่ามือต้องไม่แน่นเกินไป เพราะจะทำให้การเคลื่อนไหวยากลำบากขึ้นและใส่นานๆจะทำให้กล้ามเนื้อล้า 
  3. ส่วนข้อมือของถุงมือควรแนบสนิทกับข้อมือ เพื่อที่ป้องกันจากสารปนเปื้อน
  4. ความยาวของถุงมือ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม 

 

 

 

 

 

แล้วการวัดไซส์ถุงมือควรอย่างไรดีล่ะ

วันนี้มีทริคการเลือกไซส์ถุงมือง่ายๆมาฝากกันครับ

เพียงแบมือและเริ่มวัดขนาดฝ่ามือตั้งแต่นิ้วชี้ จนถึงฝ่ามือของนิ้วก้อย ดังภาพเลยครับ โดยตัวชี้วัดก็ใช้หน่วยเป็น cm. และเปรียบเทียบไซส์ XS S M L XL ได้ง่ายๆกันครับ

เทียบไซส์ถุงมือ

 

หลังจากที่ท่านได้พิจารณาเลือกซื้อถุงมือตามหลักในบทความดังกล่าวแล้ว ขั้นต่อไปก็คงต้องพิจารณาว่าควรเลือกขนาด (ไซส์)ไหนดี เพราะในท้องตลาด มีให้เลือกตั้งแต่ ขนาดเล็กพิเศษ(XS), ขนาดเล็ก (S), ขนาดกลาง(M), ใขนาดหญ่(L)  และใหญ่พิเศษ(XL) ซึ่งท่านคงสงสัยว่าเราจะเลือกซื้อถุงมือไซส์ไหนดีล่ะ?

นอกจากนี้เรายังต้องพิจารณาว่าควรเลือกซื้อถุงมือแพทย์ที่ความยาวเท่าไหร่ดี เพราะในท้องตลาดมีหลายความยาวให้เลือกทั้ง 9 นิ้ว, 12 นิ้วและยาวกว่านั้นก็มี ซึ่งท่านคงสงสัยอีกว่าเราจะเลือกซื้อถุงมือยาวเท่าไหร่ดีล่ะ?

จากรูปด้านบน เราวัดความยาวของถุงมือยางจากปลายนิ้วกลางจนถึงข้อมือครับ นั่นคือ ถ้าถุงมือยาว 9 นิ้ว แปลว่าระยะตั้งแต่ปลายนิ้วกลางถึงข้อ มือจะยาวประมาณ 9 นิ้ว

ที่ใช้คำว่าประมาณ” เพราะจริงๆแล้ว ขึ้นชื่อถุงมือยาว 9 นิ้วเหมือนกัน แต่ความจริงแล้วขนาด S M และ L จะมียาวไม่เท่ากัน เพราะผู้ผลิตจะคำนึงถึงสัดส่วนมือผู้สวมใส่ด้วยครับ  นั้นคือโดยทั่วไปถุงมือขนาดเล็ก (S) จะสั้นกว่า 9 นิ้ว (มักจะใช้คำ ว่ายาวประมาณ 220 มิลลิเมตร) ส่วนถุงมือขนาดใหญ่ (L) อาจมีความยาวที่ยาวกว่า 9 นิ้วก็ได้ครับ

ส่วนเรื่องการเลือกซื้อถุงมือว่าควรซื้อถุงมือให้ยาวแค่ไหนนั้น ก็ต้องพิจารณาถึงการทำงาน ว่าต้องการให้ถุงมือปกป้องมือเราแค่ไหน ถ้าเราต้องสวมถุงมือแพทย์ เพื่อไปหยิบหรือจับทั่วไป ก็ใช้ความยาวแค่ 9 นิ้วก็น่าจะพอ แต่ถ้าเราต้องสวมถุงมือยางแพทย์ เพื่อต้องนำมือไปจุ่มหรือแช่ในของเหลว ก็ควรเลือกซื้อถุงมือให้ยาวหน่อยก็จะดีครับ

การเลือกซื้อถุงมือแพทย์ หรือถุงมือไนไตรที่มีความยาวเหมาะสม เป็นเรื่องสำคัญนะครับ เพราะถุงมือแพทย์ยิ่งยาว ก็ยิ่งต้องใช้ปริมาณยางมากกว่า จะมีราคาสูงกว่าครับ

 

การพิจารณาเลือกขนาดถุงมือที่เหมาะสม

จากรูปด้านบน เราวัดความกว้างของถุงมือจากโคนนิ้วก้อย(ขอบมือด้านนอก) จนถึงโคนนิ้วชี้ด้านนอก หรือระยะ W ในรูป โดยระยะ W จะเป็นตัวกำหนดขนาดของถุงมือแพทย์ ดังนี้
Size “S” จะมีระยะ W = 85 mm (+/-5 mm)
Size “M” จะมีระยะ W = 95 mm (+/-5 mm)
Size “L” จะมีระยะ W = 108 mm (+/-5 mm)
Size “XL” จะมีระยะ W > 108 mm (+/-5 mm)

การวัดขนาดถุงมือ

ทีนี้หากเราสงสัยว่ามือของเราเหมาะที่จะสวมถุงมือไซส์ไหน เรามีหลักการคร่าวๆในการพิจารณาดังนี้ครับ ให้ท่านเอาสายวัดมาวัดรอบมือของท่าน 1 รอบ ตรงช่วงทีกว้างที่สุดของฝ่ามือ คือโคนนิ้วโป้ง แล้วดูว่ารอบมือยาวกี่นิ้ว หลังจากนั้นก็เลือกถุงมือตามข้อมูลข้างล่างครับ

หากวัดได้ 7″-8″ ให้เลือกสวมถุงมือไซส์  S
หากวัดได้ 8″-9″ ให้เลือกสวมถุงมือไซส์  M
หากวัดได้ 9″-10″ ให้เลือกสวมถุงมือไซส์  L
หากวัดได้ 10″-11″ ให้เลือกสวมถุงมือไซส์  XL

 

อันนี้เป็นการคำนวนคร่าวๆนะครับ หากยังไม่แน่ใจ ท่านสามารถขอถุงมือตัวอย่างจากร้านค้ามาลองสวมดูได้ครับ

และใครที่กำลังมองหาถุงมือดีที่มีคุณภาพและมาตรฐานรับรองก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดสินค้าได้ที่

www.pholonline.com  เว็ปรวมสินค้าและอุปกรณ์เซฟตี้ครบวงจร

 

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านต่อ »

อย่าสับสนจนเสียหาย เครื่องดื่ม เกลือแร่ ท้องเสีย VS เกลือแร่ ออกกำลังกายไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เมื่อท้องเสียก็ต้องจิบเกลือแร่เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกาย แต่ก

อ่านเพิ่มเติม »

ร้อนใน ปัญหาช่องปากที่พบเจอบ่อยและแคสที่หายาก พร้อมวิธีการรักษาอย่างละเอียด

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ร้อนในในช่องปาก (Aphthous ulcers) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกว

อ่านเพิ่มเติม »