สายช่วยชีวิต(Lanyard)ชนิดไม่มีEnergy Absorber VS ชนิดมีEnergy Absorber

แชร์บทความนี้

หากพูดถึงการทำงานบนที่สูงแล้วนั้น อุปกรณ์หลักอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวเลยนั่นคือ “สายช่วยชีวิต หรือ Lanyard” นั่นเอง

ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าสายช่วยชีวิตหรือLanyardชนิดไม่มีEnergy Absorber กับ ชนิดมีEnergy Absorberนั้นใช้งานต่างกันอย่างไร เพราะในบ้านเรายังมีการนำสายช่วยชีวิตไปใช้กันอย่างผิดวัตถุประสงค์ตามที่มาตรฐานแนะนำกันอยู่บ่อยครั้ง (อ้างอิงการใช้งานตามมาตรฐานEN 363 : Personal fall protection equipment – Personal fall protection systems)

 

สายช่วยชีวิต(Lanyard)ชนิดไม่มีEnergy Absorber

สายช่วยชีวิตประเภทนี้เหมาะสำหรับการใช้งานในระบบยับยั้งการตกหรือFall Restraint System เหตุผลเนื่องจากในระบบยับยั้งการตกนั้น จะต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดการตกเกิดขึ้น สามารถทำได้โดยการจำกัดระยะทางของผู้ปฏิบัติงานดังรูปประกอบด้านล่าง จากภาพจะเห็นได้ว่าผู้ปฏิบัติงานจะไม่เกิดการตกเนื่องจากถูกสายช่วยชีวิตจำกัดระยะทางเอาไว้ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้Energy Absorberในการช่วยลดแรงกระชากเมื่อเกิดการตก การทำงานในลักษณะนี้จึงเหมาะกับสายช่วยชีวิต(Lanyard)ชนิดไม่มีEnergy Absorber

A : Anchor point
B : Full body harness or body holding device
C :  lanyard

สายช่วยชีวิต(Lanyard)ชนิดมีEnergy Absorber

สายช่วยชีวิตประเภทนี้จะมาพร้อมEnergy Absorber เหมาะสำหรับการใช้งานในระบบป้องกันการตกหรือFall Protection System เหตุผลเนื่องจากเมื่อเกิดการตกจากที่สูงสายช่วยชีวิตจะทำหน้าที่ในการเหนี่ยวรั้งตัวผู้ตกไม่ให้ตกลงสู่พื้นโดยมีอุปกรณ์ลดแรงกระชากหรือEnergy Absorberทำหน้าที่ในการช่วยลดแรงกระชากให้เหลือน้อยกว่า6kN(อ้างอิงตามมาตรฐานEN 355 : Personal protective equipment against falls from height – Energy absorbers) เพื่อให้ความปลอดภัยต่อผู้ตกนั่นเอง หากปราศจากอุปกรณ์ลดแรงกระชากแล้วนั้น แรงกระชากดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ตกให้ได้รับอันตรายร้ายแรงได้แม้จะไม่ตกถึงพื้นดินก็ตาม

A : Anchor point
B : Full body harness
C : Lanyard
D : Energy absorber

 

จะเกิดอะไรขึ้นหากนำสายช่วยชีวิต(Lanyard)ชนิดไม่มีEnergy Absorberไปใช้ในระบบป้องกันการตก
จากภาพเปรียบเทียบด้านล่างจะเห็นได้ว่า ฝั่งที่ไม่มีEnergy Absorberเมื่อเกิดการตกจะเกิดการดีดเด้งเนื่องจากแรงกระชากที่เกิดขึ้นสูงในลักษณะแบบไร้ทิศทาง ผลที่เกิดขึ้นผู้ตกจะได้รับแรงกระชากสูงซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมากและตัวหรือศีรษะของผู้ตกยังอาจจะกระแทกกับวัตถุที่อยู่บริเวณข้างเคียงด้วยความรุนแรงได้อีกเช่นกัน ในขณะที่ฝั่งที่มีEnergy Absorberจะทำหน้าที่ลดแรงกระชากให้เหลือน้อยกว่า6kN ซึ่งแรงกระชากที่เกิดกับผู้ตกจะอยู่ในระดับปลอดภัย เมื่อแรงกระชากที่เกิดชึ้นน้อยส่งผลให้การดีดเด้งแบบไร้ทิศทางจะลดน้อยลงอย่างมากด้วยเช่นกัน

ท้ายนี้ขอฝากถึงทุกท่านที่เกี่ยวข้องในการเลือกอุปกรณ์ป้องกันให้หน่วยงายของท่านได้ระมัดระวังในจุดนี้ด้วย เพราะหลายครั้งพบว่าในหน้างานที่มีพื้นที่ใต้ขาน้อย(ระยะFree Fall)มักจะเลือกใช้สายช่วยชีวิตชนิดไม่มีEnergy Absorberไปใช้งานอยู่บ่อยครั้ง หากไม่แน่ใจแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อความปลอดภัยต่อบุคคลในหน่วยงานของท่านต่อไป

 

สนใจดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pholonline.com/

ระดับชุดปฏิบัติงานสารเคมี

แชร์บทความนี้

ชุดปฏิบัติงานสารเคมี มีการแบ่งระดับตามความสามารถในการป้องกันสารเคมีอย่างชัดเจนคือ ชุดปฏิบัติงานสารเคมี ระดับ A, B, C และ D ซึ่งเป็นไปตามข้อ

อ่านต่อ »

สัญญาณเตือนอาการของโรคไข้เลือดออกและวิธีป้องกันห่างไกลไข้เลือดออก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เข้าสู่ฤดูฝนอย่่างเต็มรูปแบบ โรคที่มักจะตามมากับหน้าฝนส่วนใหญ่ก็หนี

อ่านเพิ่มเติม »

ปวดแบบนี้ ต้อง ประคบร้อน หรือ ประคบเย็น ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำถูกจะลดอาการบาดเจ็บได้เยอะมาก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้การประคบร้อนและประคบเย็น: คู่มือการใช้ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ กา

อ่านเพิ่มเติม »