วันนี้ เรามาทบทวนข้อบังคับจาก ราชกิจจานุเบกษาในส่วนของ ภาชนะรับความดัน ซึ่งมีข้อกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องมี การควบคุม ทดสอบความปลอดภัยในการใช้ภาชนะรับความดัน โดยเฉพาะการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งาน กำหนดระยะเวลา เมื่อไหร่ เท่าไหร่ รวมไปถึง ใบรับรองหัวข้อการทดสอบอุปกรณ์ ศูนย์บริการการตรวจสอบ และ Certificate หาได้ที่ไหน ไปดูกันครับ
ภาชนะรับความดัน ( ในที่นี้จะมุ่งไปที่ถังอัดอากาศ โดยเฉพาะที่ใช้กับ SCBA ที่มีการบรรจุแรงดันที่สูง ) ราชกิจจานุเบกษา ระบุไว้ดังนี้
ข้อ 114 นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบความปลอดภัยในการใช้ภาชนะรับความดันที่มีปริมาตรตั้งแต่ 1 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป หรือมีความดันตั้งแต่ 500 กิโลปาสคาลขึ้นไป (5 bar หรือ 72.5 psi ) ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ 97 และต้องมีเอกสารสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานความปลอดภัยตรวจสอบได้
ตัวอย่างภาชนะรับความดัน
ศูนย์บริการตรวจเช็คสภาพ ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจาก SCOTT
คลิปตัวอย่างการทดสอบ
หัวข้อการตรวจสอบ เช็คสภาพ
- ตรวจสอบสภาพชุดแคร่ / ถังอัดอากาศมาตรฐาน EN , NFPA
- ตรวจสอบสภาพการทำงานของชุด SCBA Functional Test by Posi check
- ตรวจสอบระดับแรงดันภายในหน้ากาก
- ตรวจเช็คสภาพการจ่ายอากาศ
- ตรวจเช็ค การรั่ว ซึมของสายแรงดัน
- ตรวจเช็คระบบปล่อยอากาศ
- ตรวจเช็คสภาพการเตือนเมื่ออากาศใกล้จะหมด
- ตรวจเช็คการทำงานทั้งระบบของอุปกรณ์ทุกชิ้น
- การทดสอบตัวถังด้วยระบบ Hydrostatic
- การเช็คสภาพเกลียวคอถัง
- ตรวจสอบสภาพถังภายใน
คำแนะนำ ภาชนะรับแรงดัน หรือ ถังอัดอากาศจะต้องมีการ Hydrostatic Test ทุกๆ
3 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของถัง
หาศูนย์บริการ ตรวจเช็คสภาพ ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ได้ที่นี่เลย
ลองเทียบให้เห็นภาพง่ายๆนะครับ
ยางลมรถยนต์ที่เราเติมกันทั่วไป แรงดันจะอยู่ที่ 30-35 PSI หรือ 2-2.4 บาร์
ถังอัดอากาศ แรงดันจะอยู่ที่ 4500 – 5500 PSI หรือ 300 – 379 บาร์
พอจะเห็นภาพความรุนแรงมั้ยครับหาก อุปกรณ์เกิดความเสียหายหรือชำรุด และไม่ได้ผ่านการทดสอบตามที่กำหนดไว้ หมั่นตรวจสอบความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก อย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ภาชนะรับแรงดันให้ปลอดภัยอยู่เสมอนะครับ
ต่อไปเราจะพาไปรู้จักกับถังรับแรงดัน Hight Pressure ว่าทำมาจากอะไร ทำไมถึงรับแรงดันได้มากขนาดนี้ และมีแบบไหนที่นิยมใช้ทั่วไปกันครับ