ถังเก็บสารไวไฟ (Safety Storage) ตามมาตรฐาน OSHA

แชร์บทความนี้

เทคนิคอย่างหนึ่งในการลดอันตรายที่เกี่ยวกับของเหลวไวไฟและติดไฟได้ ตามาตรฐาน OSHA คือการใช้ ถังเก็บสารไวไฟ(Safety Storage)   โดยได้ให้คำนิยามของถังเก็บสารไวไฟ ว่า “ภาชนะบรรจุที่ได้รับการอนุมัติใช้ และความจุไม่เกิน 5 แกลลอน มีฝาปิดที่มีสปริงและมีแผ่นกั้นบริเวณปากถังและถูกออกแบบให้มีที่ระบายแรงดันกรณีที่อยู่ภายใต้ไฟ” (1910.106(a)(29)) 

อย่างไรก็ตาม กฎหมายท้องถิ่นหลายๆแห่งและบริษัทประกันภัยได้กำหนดให้ถังบรรจุจะต้องผ่านการรับรองโดยองค์กรด้านโรงงานอุตสาหกรรม Factory Mutual (FM) หรือ รับรองโดยห้องปฏิบัติการ Underwriter Laboratory(UL) องค์กรทั้งสองนี้เป็นองค์กรอิสระที่มีห้องปฏิบัติการที่ได้รับความเชื่อถือซึ่งผู้ผลิตได้ส่งสินค้าเข้าไปตรวจสอบเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดความปลอดภัยในการใช้งานและตรงกับงาน ถังบรรจุที่สอดคล้องกับข้อกำหนดจะได้รับการรับรองจากทั้ง FM และ UL   ห้องปฏิบัติการทั้งสองแห่งยังได้รับการรับการยอมรับจาก OSHA            

ถังบรรจุที่ปลอดภัย

 

ข้อในกำหนดการเก็บสารเคมี ของถังเก็บสารไวไฟ (Safety Storage)

ข้อกำหนดหมายเลข 29 CFR 1910.106 ได้จำกัดปริมาณของของเหลวในภาชนะแต่ละถัง ตารางต่อไปนี้แสดงปริมาณของเหลวที่ยอมให้บรรจุสำหรับของเหลวแต่ละคลาส

 

ขนาดใหญ่ที่สุดที่ยอมได้ของภาชนะบรรจุและถังโลหะ

ชนิดของถังบรรจุ

ของเหลวไวไฟ

ของเหลวติดไฟ

คลาส IA

คลาส IB

คลาส IC

คลาส II

คลาส III

แก้วหรือพลาสติกที่ได้รับอนุมัติ

1 ควอท

1 ควอท

1 แกลลอน

1 แกลลอน

1 แกลลอน

โลหะ(ที่ไม่ใช่ถังแบบ DOT)

1 แกลลอน.

5 แกลลอน

5 แกลลอน

5 แกลลอน

5 แกลลอน

ถังบรรจุที่ปลอดภัย

2 แกลลอน

5 แกลลอน

5 แกลลอน

5 แกลลอน

5 แกลลอน

ถังโลหะ (ตามข้อกำหนด DOT)

60 แกลลอน

60 แกลลอน

60 แกลลอน

60 แกลลอน

60 แกลลอน

ถังโลหะแบบพกพาที่ได้รับอนุมัติ

660 แกลลอน

660 แกลลอน

660 แกลลอน

660 แกลลอน

660 แกลลอน

ข้อยกเว้นสำหรับกฎนี้

• ยา , เครื่องดื่ม , อาหาร , เครื่องสำอาง และสินค้าอุปโภคที่คล้ายคลึงกัน หากได้รับการบรรจุหีบห่อตามที่ได้รับการอนุญาตแล้ว

 

นอกจากนี้ข้อกำหนดหมายเลข 29 CFR 1910.106 ยังได้จำกัดปริมาณของของเหลวที่เก็บอยู่นอกตู้หรือห้องเก็บ  ปริมาณของของเหลวที่สามารถเก็บภายนอกห้องเก็บหรือตู้ในพื้นที่อาคารจะต้องไม่เกินปริมาณต่อไปนี้

• 25 แกลลอน สำหรับของเหลว คลาส IA ในภาชนะบรรจุ

•120 แกลลอน สำหรับของเหลว คลาส IB, IC, II หรือ III ในภาชนะบรรจุ

•660 แกลลอน สำหรับของเหลว คลาส  IB, IC, II หรือ III liquids ในถังบรรจุเดี่ยวแบบพกพา

ปริมาณของของเหลวที่จัดเก็บและตำแหน่งของตู้เก็บอยู่ในข้อบังคับหมายเลข 1910.106 (d)(3) ซึ่งระบุว่า “ไม่ให้เก็บของเหลวคลาส I หรือคลาส II เกินจำนวน 60 แกลลอน หรือของเหลวคลาส III เกินจำนวน 120 แกลลอน ในตู้เก็บ”  และ ตามข้อกำหนดหมายเลข NFPA 304.3.2 ให้มีตู้สำหรับจัดเก็บไม่เกินสามตู้ในพื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้พื้นที่เดียวกัน

 

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

อุปกรณ์ถ่ายเทอากาศในที่อับอากาศ( Confined Space Ventilator)

แชร์บทความนี้

ระบบการถ่ายเทอากาศจะจำเป็นต้องถูกใช้ในสถานที่ทำงานต่อเมื่อสถานที่ดังกล่าวมีสภาพดังต่อไปนี้ มีอ็อกซิเจนไม่เพียงพอ น้อยกว่า 19.5%

อ่านต่อ »

ห่วง D-Ring บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว(Full body Harness)กับการใช้งาน

แชร์บทความนี้

ห่วง D-Ring ที่ติดตั้งอยู่บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวในรุ่นมาตรฐานนั้นผู้ผลิตจะติดตั้งมาให้1จุดบริวณด้านหลังของชุดโดยผ่านการทดสอบความ

อ่านต่อ »

หน้ากากกันฝุ่น PM2.5 และกันไวรัส แบบไหนหายใจสะดวก แบบไหนปกป้องได้ดี

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เชื่อว่าตอนนี้ในหลายๆพื้นที่ในประเทศไทยเริ่มมีอุณหภูมิที่ต่ำลง อากา

อ่านเพิ่มเติม »