พื้นที่อับอากาศ คืออะไร

แชร์บทความนี้
พื้นที่อับอากาศ

 

1. คำจำกัดความ พื้นที่อับอากาศ (Confined Spaces) 

หมายถึง สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะ และปลอดภัยซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็น พิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่นถังน้ำมัน ถังหมัก ไซโล ท่อ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตา ห้องใต้ดิน ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ การพิจารณาว่าพื้นที่ใดจัดเป็นพื้นที่อับอากาศ มีปัจจัยในการพิจารณาดังนี้

1.1 พื้นที่ซึ่งปริมาตรมีขนาดเล็ก แก๊สหรือไอที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นไม่สามารถระบายออกไปได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณนั้น อาจสูดดมเอาแก๊สพิษเข้าไปในร่างกายหรือมีออกซิเจนไม่เพียงพอรวมถึงอาจมีแก๊สที่ติดไฟได้ในบริเวณนั้น
1.2 ผู้ปฏิบัติงานคนอื่นๆ ที่อยู่นอกพื้นที่นั้นจะเข้าไปสังเกตการณ์หรือช่วยเหลือผู้ที่กำลังปฏิบัติงานได้ยาก
1.3 ช่องเปิด ทางเข้า-ออก อยู่ไกลจากจุดปฏิบัติงาน มีขนาดเล็ก หรือมีจำนวนจำกัด

 

2. อันตรายในพื้นที่อับอากาศการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ 

อาจมีอันตรายต่อสุขภาพพนักงานและความเสียหายอย่างอื่น เช่น ทรัพย์สินหรืออาจถึงชีวิตเลยก็ได้ซึ่งสรุปพอสังเขปได้ดังนี้

2.1 การขาดออกซิเจน

2.2 ไฟไหม้เนื่องจากการระเบิดของแก๊สที่ติดไฟได้ (Combustible Gas) ได้แก่ แก๊สในตระกูลมีเธนและแก๊สอื่น ๆ

2.3 อันตรายจากการสูดดมแก๊สพิษอื่นๆตัวอย่างเช่น

    • คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbonmonoxide) เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และหากมีปริมาณมากจะเป็นพิษ เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ประมาณ 60% ของปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์เกิดมาจากไอเสียของรถยนต์ ด้วยเหตุนี้เอง แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์จึงมีปริมาณสูงในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น นอกจากนี้ยังมาจากอีกหลายแหล่งกำเนิด เช่น กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ยานพาหนะ หรือการเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ป่า เป็นต้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางปอดแล้วจะแทรกซึมเข้าไปกับระบบไหลเวียนของเลือด ทำให้การทำงานของต่อมและเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลงสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ เมื่อสัมผัสคาร์บอน-มอนนอกไซด์เข้าไปมักจะเกิดผลรุนแรง ส่วนคนปกติทั่วไจะเกิดผลต่างกันขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคลได้แก่ ความสามารถในการมองเห็นความสามารถในการทำงานลดลง ทำให้เฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉง การเรียนรู้แย่ และไม่สามารถทำงานสลับซับซ้อนได้
    • ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulphide) ไม่มีสี มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า ละลายได้ในน้ำ แก๊สโซลีน แอลกอฮอล์ เกิดจากการทำปฏิกิริยาของซัลไฟด์ของเหล็กกับกรดซัลฟูริคหรือกรดไฮโดรคลอริค หรือเกิดจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ที่มีซัลเฟอร์ เป็นองค์ประกอบผลผลิตจากอุตสาหกรรมอื่นๆทเช่น ปิโตรเลียมยางสังเคราะห์ โรงงานน้ำตาล เป็นต้น เนื่องจากไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นแก๊สติดไฟได้ เมื่อติดไฟแล้วจะให้เปลวไฟสีน้ำเงินและเกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมา การสัมผัสไฮโดรเจน-ซัลไฟด์เพียงเล็กน้อยทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและปอด หากสูดดมเข้าไปมากๆ อาจจะมีผลทำให้เสียชีวิตได้
    • ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogendioxide) เป็นแก๊สสีน้ำตาลอ่อน อาจเป็นส่วนประกอบสำคัญ อย่างหนึ่งของหมอกที่ปกคลุมอยู่ตามเมืองทั่วไป ไนโตรเจนไดออกไซด์เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ หากสูดดมเข้าไปจะทำให้ปอดระคายเคือง และภูมิต้านทานการติดเชื้อของระบบหายใจลดลงเช่น ไข้หวัดใหญ่ การสัมผัสสารในระยะสั้นๆ ยังปรากฏผลไม่แน่ชัด แต่หากสัมผัสบ่อยครั้งอาจจะเกิดผลเฉียบพลันได้

2.4 ประสิทธิภาพของการมองเห็นลดลงเนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอหรือฝุ่นละออง

2.5 เสียงดัง

2.6 อุณหภูมิสูง

2.7 การหนีออกจากพื้นที่เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินมีอุปสรรค

 

3. การตรวจวัดความปลอดภัยในพื้นที่อับอากาศ

เนื่องด้วยปัจจัยอันตรายจากการทำงานในพื้นที่อับอากาศส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับปริมาณอากาศหรือแก๊สในบริเวณนั้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน นอกเหนือจากการจัดการความปลอดภัยด้านอื่นๆ แล้ว การตรวจสอบสภาพอากาศในพื้นที่อับอากาศถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การตรวจวัดความปลอดภัยในที่นี้จึงเน้นที่การตรวจสอบสภาพอากาศในพื้นที่อับอากาศ


3.1 นิยาม

3.1.1 STEL (Short-term ExposureLimit) หมายถึง ค่าความเข้มข้นสูงสุดที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถจะสัมผัสอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาสั้นๆ (สัมผัสวันละ 4 ครั้งๆ ละ 15 นาที ห่างกัน 1 ชั่วโมง) โดยไม่ได้รับอันตราย เช่น การระคายเคือง มึนเมา หรืออาการเรื้อรัง

3.1.2 TWA (Time-Weight Average) หมายถึง ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงใน 1 วัน หรือ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งผู้ปฏิบัติงานเกือบทั้งหมดสามารถสัมผัส (Exposure) ซ้ำแล้วซ้ำอีกวันแล้ววันเล่าโดยปราศจากอันตรายต่อสุขภาพ

3.1.3 Peak หมายถึง ค่าวิกฤตที่วัดได้ในระหว่างช่วงเวลา (อาจจะเป็นค่าต่ำสุดหรือสูงสุดก็ได้)

3.1.4 LEL (Lower Exposure Limit) หมายถึง ขีดจำกัดต่ำสุดของปริมาณสารที่อาจเกิดการระเบิดได้

3.1.5 TLV (Threshold Limit Values) หมายถึง ค่าความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศและสภาพแวดล้อมซึ่งเชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานเกือบทั้งหมดสามารถทำงานอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นวันแล้ววันเล่าโดยปราศจากผลเสียต่อสุขภาพ

3.1.6 Ceiling หมายถึง ค่าส่วนผสมสูงสุดของ สารพิษซึ่งคนงานที่ไม่มีเครื่องป้องกันมีแนวโน้มอาจสัมผัสแม้แต่ในระยะสั้นๆ คนงานที่ไม่มีเครื่องป้องกันไม่ควรเข้าไปในพื้นที่อับอากาศซึ่งมีปริมาณสารพิษเกินค่า Ceiling

3.1.7 เปอร์เซ็นต์ ปริมาตร/ปริมาตร หมายถึง ปริมาตรของแก๊สคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปริมาตรของอากาศ

3.1.8 ppm. (Part per million) หมายถึงส่วนในล้านส่วน

3.1.9 ANSI หมายถึง American National Safety Institute

3.1.10 NIOSH หมายถึง National Institute for Occupational Safety and Health

3.1.11 OSHA หมายถึง Occupational Safety and Health Administration

3.1.12 ACGIH หมายถึง A committee of American Conference of Government Industrial Hygienists


3.2 วิธีการตรวจวัดสภาพอากาศ

3.2.1 กำหนดตำแหน่งตรวจวัดให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติงาน

3.2.2 ใช้เครื่องมือตรวจสอบปริมาณแก๊สไปตรวจวัดตามจุดที่กำหนด

3.2.3 บันทึกข้อมูลที่ตรวจวัดได้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน


3.3 ชนิดของแก๊สที่ตรวจวัด 

โดยทั่วไปชนิดของแก๊สที่จะตรวจวัดขึ้นอยู่กับพื้นที่อับอากาศที่ปฏิบัติงานนั้นๆ ซึ่งแต่ละแห่งจะแตกต่างกันออกไปแต่แก๊สที่ตรวจสอบอย่างน้อย 4 ชนิด ดังนี้

3.3.1 แก๊สออกซิเจน (O2) หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ปริมาตร/ปริมาตร

3.3.2 แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หน่วยเป็น ppm.

3.3.3 แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) หน่วยเป็น ppm.

3.3.4 แก๊สติดไฟได้ (Combustible gas) หน่วยเป็น % LEL

 

>>>>  การเลือกเครื่องวัดแก๊ส สำหรับสถานที่อับอากาศ

 

4. ค่ามาตรฐาน

4.1 ข้อกำหนดของประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่อับอากาศ กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

4.1.1 ออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 18 % (V/V)

4.1.2 ไฮโดรเจนซัลไฟด์ 50 ppm. ในเวลา 10 นาที

4.1.3 แก๊สที่ติดไฟได้ต้องมีความเข้มข้นได้ไม่เกิน 20% ของค่า LEL ของแต่ละชนิด

4.2 มาตรฐานอื่นๆ

 

5. ในการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดจากข้อมูลข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้

สมมติให้ค่าแก๊สต่าง ๆ ที่วัดได้เป็นดังนี้
– ออกซิเจน ต่ำสุด 20.6 % (V/V) สูงสุด 20.9 % (V/V)
– คาร์บอนมอนนอกไซด์ ต่ำสุด 0 ppm. สูงสุด 6 ppm.
– แก๊สที่ติดไฟได้ ต่ำสุด 0 % LEL สูงสุด 0 % LEL
– ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ต่ำสุด 0 ppm. สูงสุด 0 % LEL

5.1 ออกซิเจน 20.6-20.9 % (V/V) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (19.5-23.5 % (V/V)

5.2 คาร์บอนมอนนอกไซด์ สูงสุด 6 ppm. กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณนี้ 4 ชั่วโมงและทำงานอยู่ในบริเวณอื่น 3 ชั่วโมง พัก 1 ชั่วโมง
ดังนั้น TWA = [(6 x 4)+(3 x 0)+(1 x 0)]/(4 + 3 + 1)

TWA = 3 ppm. แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานได้รับแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ไม่เกินค่ามาตรฐาน

* ค่ามาตรฐานตาม OSHA = 35 ppm. , ACGIH = 10 ppm. , NIOSH = 35 ppm.

 

6. การปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศด้วยความปลอดภัย

6.1 ก่อนเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศ

6.1.1 ตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมีและแก๊สอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการขาดออกซิเจน การระเบิดหรือการเป็นพิษเกิดขึ้น

6.1.2 จัดให้มีใบอนุญาตทำงานในพื้นที่อับอากาศ

6.1.3 หากพบว่าสถานที่อับอากาศนั้นไม่อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย จะต้องทำการระบายอากาศจนกว่าจะอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย

6.1.4 ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความคุ้นเคยกับพื้นที่ทำงานนั้นเป็นอย่างดี รู้วิธีการออกจากสถานที่นั้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

6.1.5 การวางแผนการทำงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าใจรวมทั้ง จัดอบรมด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ


6.2 ขณะทำงานในสถานที่อับอากาศ

6.2.1 ตรวจสภาพอากาศเป็นระยะและอาจต้องมีการระบายอากาศตลอดเวลาถ้าจำเป็น

6.2.2 ผู้ปฏิบัติงานต้องรู้สภาพอากาศขณะทำงานตลอดเวลา

6.2.3 จัดให้มีผู้ช่วยซึ่งผ่านการอบรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเฝ้าอยู่ปากทางเข้าออกตลอดเวลาทำงาน และสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานข้างในได้ตลอดเวลา

6.2.4 ห้ามผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในสถานที่อับอากาศ

6.2.5 ห้ามสูบบุหรี่

6.2.6 จะต้องติดป้ายแจ้งข้อความเตือน “บริเวณอันตรายห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต” พร้อมจัดทำระบบ Lock Out/Tag Out ที่เครื่องจักรกล ระบบไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อป้องกันบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานเข้ามารบกวนหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขภายในพื้นที่อับอากาศ

6.2.7 หากจำเป็นต้องพ่นสีหรือมีน้ำมันชนิดระเหย หรือต้องทำให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ ต้องมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม

6.2.8 ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามสภาพของงานและต้องมีเครื่องดับเพลิงประจำอยู่ในบริเวณที่มีการปฏิบัติงาน

6.2.9 ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติ (ถ้ามี)

6.2.10 ในกรณีฉุกเฉิน ถ้ามีผู้ปฏิบัติงานคนใดคนหนึ่งเกิดบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายในพื้นที่อับอากาศ ห้ามผู้ปฏิบัติงานคนอื่นเข้าไปช่วยเหลือหากไม่ได้รับการฝึกฝนมาหรือไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เนื่องจากอาจเป็นอันตรายได้

พื้นที่อับอากาศ

 

7. ภาคผนวก

7.1 ชั้นของพื้นที่อับอากาศ (Class of Confined Spaces) หมายถึง พื้นที่อับอากาศกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอย่างน้อยสองแห่งโดยมีความคล้ายคลึงกันในประเด็นรูปร่างลักษณะ อันตรายในการเข้าออกและการทำงานข้างในทั้งนี้ ให้ใช้จุดเด่นของพื้นที่อับอากาศต่อไปนี้พิจารณาจัดกลุ่มเป็นชั้นใดชั้นหนึ่ง

1. รูปร่าง ลักษณะคล้ายคลึงกัน

2. ภายในติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในวัตถุประสงค์เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน

3. ภายในมีอันตรายคล้ายคลึงกัน เช่น

– มีทางเข้า ทางออกจำกัดทั้งจำนวนและสิ่งอำนวยความสะดวก

– แพร่กระจายสารอันตรายที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น สารมีผลกระทบต่อระบบหายใจ สารเสี่ยง
ต่อการระเบิด สารชีวภาพ ฯลฯ

– ขาดออกซิเจน

– แพร่กระจายสารอันตรายบริเวณใกล้ๆหรือรอบๆ พื้นที่อับอากาศ

– มีแนวโน้มจะเกิดการรั่วซึมจากท่อน้ำหรือมีน้ำไหลเข้ามาในบริเวณมีการปฏิบัติงาน

– มีความเสี่ยงจะจมน้ำ ถูกปกคลุม หรือถูกขังไว้ข้างใน

4. ทางเข้า และ/หรือ กระบวนการในภาวะฉุกเฉิน สามารถนำมาใช้ได้กับพื้นที่อับอากาศทุกแห่ง

7.2 ค่ากำหนดการสัมผัสก๊าซในพื้นที่อับอากาศของ OSHA

สำนักบริหารความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ OSHA (Occupational Safety and Health Administration)
กำหนดค่าจำกัดการสัมผัสที่ยอมรับได้ หรือ PEL (Permissible Exposure Limits) ของก๊าซในพื้นที่อับอากาศไว้ดังต่อไปนี้

– ออกซิเจน (O2)
Low: 19.5%
High: 23.5%

– คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
Ceiling: 200 ppm
TWA: 35 ppm
STEL: N/A

– ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
Ceiling: N/A
TWA: 10 ppm
STEL: 15 ppm

– ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
Ceiling: N/A
STEL: 2 ppm
STEL: 5 ppm

– ค่า LEL ของก๊าซหรือไอสารที่ติดไฟได้
(Combustible gas or vapor) = 10%

 

บทความเกี่ยวข้อง >>>  การเลือกเครื่องวัดแก๊ส สำหรับสถานที่อับอากาศ

 

Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ ELECTROCHEMICAL รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

แชร์บทความนี้

จากบทความที่แล้วเรื่องของ sensor วัดแก๊สติดไฟ ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ Electrochemical เพื่อให้ทราบหลักการ

อ่านต่อ »

% LEL หรือ %Vol (Volume) หน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ

แชร์บทความนี้

สำหรับหน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ % LEL หรือ %Vol (Volume) ในอุปกรณ์วัดแก๊สติดไฟ หากเราพิจารณาชนิดของหน่วยของการวัดแล้ว เราก็จะเห็นการรายงาน…

อ่านต่อ »

ประเภทของสารเคมีที่จะจัดเก็บ  Type of Chemical to be stored ที่จะทำให้ง่ายต่อการทำงานและปลอดภัย

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้การใช้สีและการติดฉลากบ่งในการจัดเก็บให้เป็นแนวทางปฏิบัติจะช่วยให้สา

อ่านเพิ่มเติม »

ข้อกำหนดอ่างล้างตาและฝักบัวชำระล้างฉุกเฉินตาม ANSI Z358.1-2014 Standard

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันมาตรฐานสากลที่ใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายคือ ANSI Z358.1-2014 Standard (Versionปัจจุบัน) ซึ่งได้กำหนดหัวข้อสำคัญๆไว้ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม »

กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera)

แชร์บทความนี้

กล้องถ่ายภาพความร้อนถูกนำมาใช้ในหลายๆ ด้าน เช่น เถ้ารถของท่านร้อนเกินไป กล้องถ่ายภาพความร้อน หรือ พื่อตรวจดูว่าเราป่วยหรือไม่ อาหารถูก…

อ่านเพิ่มเติม »