เหตุผลที่ควรเลือกใช้ ชุดดับเพลิง ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานNFPA 1971

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดดับเพลิง ในท้องตลาดมีมากมาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการเลือกใช้งานเป็นอย่างมาก ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าชุดดับเพลิงที่ผ่านการทดสอบทั้งชุดตามมาตรฐานNFPA1971 : 2018  (Version ล่าสุด) มีข้อดีอย่างไร

ชุดดับเพลิง
ชุดดับเพลิง

นอกเหนือจากคุณสมบัติของผ้าทั้ง3ชั้นที่ใช้ประกอบเป็นชุดดับเพลิง, ด้ายที่ใช้เย็บชุดและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ติดตั้งเพิ่มเติมบนชุดต้องผ่านมาตรฐานNFPAแล้วนั้น ท่านรู้หรือไม่ว่าในการนำผ้าทั้ง3ชั้นมาใช้งานร่วมกันนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตชุดจะต้องผ่านการทดสอบใน3หัวข้อหลักจากหน่วยงานที่เป็นกลางและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น Underwriters Laboratories หรือ UL ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานได้แก่

o   Thermal Protective Performance (TPP) : การทดสอบคุณสมบัติการเป็นฉนวนกันความร้อนของผ้าทั้ง3ชั้นที่นำมาตัดเย็บเข้าด้วยกันต้องเป็นไปตามค่ามาตรฐานNFPAกำหนด

o   Total Heat Loss (THL) : การทดสอบค่าความสูญเสียความร้อนรวมของผ้าทั้ง3ชั้นที่นำมาประกอบและตัดเย็บเข้าด้วยกัน หากค่าTHLไม่เป็นไปตามค่าที่มาตรฐานNFPAกำหนดผู้สวมใส่อาจจะเกิดอันตรายจากสภาวะร้อนจัด(Heat Stress)ในขณะปฏิบัติงานได้

o   Conductive and Compressive Heat Resistance (CCHR) Test: การทดสอบการนำพาความร้อนเมื่อเกิดแรงกดทับจากผ้าทั้ง3ชั้นที่นำมาตัดเย็บเข้าด้วยกัน เช่น บริเวณเข่า, ศอก เมื่อคลานหรือบริเวณไหล่เมื่อสะพายอุปกรณ์ SCBA กล่าวคือเมื่อเกิดแรงกดทับผ้าทั้ง3ชั้นต้องสามารถป้องกันการนำพาความร้อนได้ในเกณฑ์ที่มาตรฐานNFPAกำหนด

ท้ายนี้ขอฝากท่านผู้ใช้งานทุกท่านถึงการเลือกชุดดับเพลิงมาใช้งาน ควรเลือกชุดที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากลทั้งชุด เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน 

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

อุปกรณ์ถ่ายเทอากาศในที่อับอากาศ( Confined Space Ventilator)

แชร์บทความนี้

ระบบการถ่ายเทอากาศจะจำเป็นต้องถูกใช้ในสถานที่ทำงานต่อเมื่อสถานที่ดังกล่าวมีสภาพดังต่อไปนี้ มีอ็อกซิเจนไม่เพียงพอ น้อยกว่า 19.5%

อ่านต่อ »

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านเพิ่มเติม »