ฟันคุดเป็นยังไง เกิดจากอะไร แบบไหนต้องผ่า ถ้าปล่อยไว้จะเป็นไรมั้ย

แชร์บทความนี้

บางคนที่กำลังที่กำลังรู้สึกปวดฟันกรามหรือบริเวณฟันซี่สุดท้ายมากๆ จนเหงือกปวด บวม อักเสบและร่นออกมามีเลือดออกเล็กน้อย และมีกลิ่น เป็นอาการเริ่มต้นของการอักเสบของฟันคุด ปกติแล้วคนเรามีฟัน 32 ซี่ โดยฟันคุดมักจะเป็น 4 ซี่ด้านในสุดคือด้านบน 2 ซี่ และด้านล่าง 2 ซี่ ซึ่งเป็นฟันที่ไม่สามารถงอกพ้นเหงือกออกมาได้ จึงทำให้เป็นแหล่งที่มีเศษอาหารไปติดและหมักหมม ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียและทำให้เกิดอักเสบในเวลาต่อมา ซึ่งรวมถึงฟันที่มีการงอกในลักษณะที่ผิดปกติเช่นการงอกเอียงไปชนฟันซี่ข้างเคียง หารปล่อยไว้จะทำให้เกิดอาการปวด และสร้างความรำคาญอยู่ตลอด หากไม่ตัดสินใจรักษา วันนี้เรามาตอบข้อสงสัย ฟันคุดเป็นยังไง เกิดจากอะไร แบบไหนต้องผ่า ถ้าปล่อยไว้จะเป็นไรมั้ย ที่นี่กันครับ

 

หากท่านมีอาการดังที่กล่าวมา ควรไปพบแพทย์ และเข้ารับการตรวจและเอ็กซเรย์ฟัน เพื่อที่จะเตรียมการรักษาหากพบว่าสาเหตุที่ท่านเจ็บปวดเกิดจากฟันคุด แพทย์จะประเมินว่ามีฟันคุดกี่ซี่ ฟันคุดอยู่ในลักษณะใดมีทั้งแบบตั้งตรง และเอียงจนอาจเป็นสาเหตุทำให้ฟันล้มในอนาคต รวมไปถีงวางแผนการผ่าตัดเป็นต้น แต่ใน 2-3วันแรกหากมีการอักเสบมากๆ แพทย์จะประเมินและจะยังไม่ผ่าในวันนั้นๆได้เลย เนื่องจากเหงือกมีการอักเสบ แพทย์จะให้ยามาทานต่อเนื่องจนอาการอักเสบหายไปก่อน จึงเริ่มผ่าฟันคุด

ตัวอย่างฟิล์มเอ็กซเรย์ฟันปกติ

ตัวอย่างฟิล์มเอ็กซเรย์ที่พบอาการฟันคุด

ขอขอบคุณภาพจาก https://pantip.com/topic/40259971

ฟันคุดเกิดจากสาเหตุใด

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ เนื่องจากมีเนื้อเยื่อหรือกระดูกปิดขวางอยู่ มักพบในฟันกรามซี่สุดท้ายและฟันเขี้ยว

 

แบบไหนต้องผ่า ถ้าปล่อยไว้จะเป็นไรมั้ย

ลักษณะของฟันคุด แบ่งออกเป็นตามลักษณะการขึ้น ของแนวฟันคุด ซึ่งมีด้วยกัน 3 แบบ คือ

  1. ฟันคุดที่ขึ้นในเเนวตรง (Vertical impaction)
  2. ฟันคุดที่ขึ้นในแนวนอน (Horizontal impaction)
  3. ฟันคุดที่ขึ้นแนวเฉียงถ้ารูปแบบฟันคุด มีการล้มเอียงตัดกับฟันข้าง จะไม่สามารถถอนออกได้ด้วยวิธีธรรมดา เเต่ต้องอาศัยการผ่าตัดเอาออก

หากเกิดฟันคุดแล้วไม่ทำการรักษา และปล่อยไว้จะทำให้เกิดอะไรได้บ้าง

  1. การอักเสบของเหงือก

เมื่อฟันกรามซี่สุดท้ายขึ้น อาจจะมีการอักเสบของเหงือก เนื่องจากมีการติดเชื้อ มีอาการบวมแดง มีหนอง ทำให้ปวด มีไข้ และเจ็บคอ กลืนน้ำลายลำบาก และอ้าปากไม่ได้

  1. ฟันข้างเคียงผุ

ฟันคุดซี่สุดท้ายที่ขึ้นชนฟันกรามซี่ติดกัน มักทำให้เกิดกลิ่นปากและฟันข้างเคียงผุ เนื่องจากมีเศษอาหารติดระหว่างฟันคุดและฟันข้างเคียง เนื่องจากทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง

  1. ฟันซ้อนเก

ทำให้ปวดเนื่องจากมีแรงดันของฟันคุดไปดันซี่ข้างเคียง หรือกดบนเส้นประสาทที่อยู่ในขากรรไกรล่างและฟันคุด ซึ่งขึ้นชนฟันที่อยู่ข้างเคียงจะทำให้ฟันหน้าซ้อนเกได้

  1. เกิดถุงน้ำรอบฟันคุด

ทำให้เกิดโรคถุงน้ำและอาจเปลี่ยนเป็นเนื้องอกที่เรียกว่า “มะเร็งกรามช้าง” ซึ่งพบว่ามีสาเหตุเกิดจากฟันคุดถึง 33 % ถุงน้ำจะทำให้ฟันเคลื่อนที่ผิดจากตำแหน่งเดิมและทำลายกระดูกรอบฟัน ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อฟันและเหงือกรอบๆ บริเวณนั้นได้

การถอนฟันคุด ทำอย่างไร

เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่มีฟันเนื้อเยื่อหรือกระดูกปิดขวางอยู่ จึงไม่สามารถใช้คีมจับถอนได้อย่างฟันปกติ จึงต้องใช้วิธี ผ่าเหงือกเพื่อเปิดให้เห็นฟันคุด มีการตัดฟันแบ่งฟันออกเป็นชิ้นๆ หลังจากนั้นจึงสามารถเอาฟันคุดออกมาได้ทั้งหมด ซึ่งการทำทั้งหมดนี้ทันตแพทย์จะพยายามทำให้ไม่เกิดผลกระทบหรืออันตรายต่อฟันข้างเคียง หรือส่วนอื่นที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ศ.ทพ. ณัฐเมศร์ วงศ์สิริฉัตร

ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

และ

ทพญ. ปาริฉัตร ลิ้มสุวรรณ

โรงพยาบาล สมิติเวช

ข้อกำหนดอ่างล้างตาและฝักบัวชำระล้างฉุกเฉินตาม ANSI Z358.1-2014 Standard

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันมาตรฐานสากลที่ใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายคือ ANSI Z358.1-2014 Standard (Versionปัจจุบัน) ซึ่งได้กำหนดหัวข้อสำคัญๆไว้ดังนี้

อ่านต่อ »

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ สารเคมีหกรั่วไหล

แชร์บทความนี้

สารเคมีหกรั่วไหล นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นความประมาทจากการเคลื่อนย้ายสารเคมี อุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ฯลฯ เราจะเตรียมตัว

อ่านต่อ »

การป้องกันอันตรายจากแสงเลเซอร์

แชร์บทความนี้

จากอันตรายที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าแสงเลเซอร์ไม่ว่าจะมีประโยชน์มากเพียงใด ก็ยังสามารถเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้

อ่านเพิ่มเติม »

สถานที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ต้องคำนึงอะไรบ้างเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ใครที่มีหน้าที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ หรือมีคนที่รักซึ่งเป็นผู้สูงวัยอย

อ่านเพิ่มเติม »

สารเคมีรั่วไหล ปฏิบัติตัวยังไงให้ปลอดภัย และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ปัญหาสารเคมีรั่วไหล ยังคงเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความอันตรายทั้งต่อผู้

อ่านเพิ่มเติม »

มาตรฐาน แว่นตาทหาร (Military Grade Glasses)

แชร์บทความนี้

ในการปกป้องดวงตาของผู้ใช้งาน หน่วยงานด้านมาตรฐานคุณภาพผลิตภันฑ์ ของสหรัฐ(ANSI) และ กองทัพสหรัฐ ต่างก็มีการกำหนด มาตรฐาน แว่นตาทหาร

อ่านเพิ่มเติม »