อย่าติดโซล่าเซลล์หากยังไม่รู้เงื่อนไขเหล่านี้ ระบบการทำงานที่เหมาะกับการใช้งาน ตอบคำถาม ติดโซล่าเซลล์คุ้มมั้ย ?

แชร์บทความนี้

ด้วยการทำงานของโซล่าเซลล์ที่มีการใช้แสงแดดแปลงมาเป็นพลังงาน ประกอบกับภูมิประเทศบ้านเรา เป็นประเทศตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ภูมิอากาศของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 18 – 38 องศาเซลเซียส 

ประเทศไทย หนึ่งวันมีแดดกี่ชั่วโมงสำหรับประเทศไทยเรามีแสงแดดเฉลี่ยที่ 5 ชม./วัน ฉะนั้นการคิดคำนวณการผลิตไฟจะอยู่ที่ 10kWp.

หลักการคำนวณ      10,000w x 5 ชั่วโมง/วัน / 1,000 = 50 หน่วย/วัน

เทียบการใช้งานให้เห็นภาพ

  • หลอดไฟ 14 w. = 40 ดวง
  • ทีวี 42 นิ้ว    =  6 เครื่อง
  • ตู้เย็น 15 คิว  = 3 เครื่อง

ติดโซล่าเซลล์คุ้มมั้ย ?

ต้องใช้กี่ปีถึงจะถึงจุดคุ้มทุนของโซล่าเซลล์ ?

จุดคุ้มทุนของการใช้งานแผ่นโซล่าเซลล์นั้นอยู่ที่ 4 – 5 ปี ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ได้ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบุคคล ดูตัวอย่างค่าไฟและการคำนวณจุดคุ้มทุนได้ที่ตาราง หลังถึงจุดคุ้มทุนไปแล้ว (หักลบต้นทุนกับค่าไฟรายเดือน) คุณจะได้ใช้ไฟฟรี หรือหากเป็นโซล่าเซลล์ระบบออนกริด สามารถต่อยอดสร้างรายได้ด้วยการขายไฟให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย

โซล่าเซลล์ช่วยประหยัดค่าไฟจริงหรือไม่ ?

การติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นช่วยประหยัดค่าไฟได้จริง แต่จะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับขนาดของแผงโซล่าเซลที่ติดตั้ง ร่วมกับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของเจ้าของบ้าน ถ้าไม่ใช้ไฟในเวลากลางวันมาก หรือค่าไฟไม่กี่ร้อยต่อเดือน การติดโซล่าเซลล์ไม่ได้ช่วยประหยัดมาก เพราะกว่าจะถึงจุดคุ้มทุนก็ 7-10 ปี

จะรู้ได้อย่างไรว่าบ้านเหมาะกับการติด Solar Roof Top หรือไม่

เนื่องจาก ระบบ Solar Roof Top ในปัจจุบันเหมาะกับระบบ On Grid ที่ไม่มีแบตเตอรี่ บ้านที่เหมาะจะติดตั้ง Solar Roof Top จึงควรเป็นบ้านที่มีการใช้ไฟกลางวัน (ควรมีการเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างน้อย 1 เครื่อง) และ มีค่าไฟอย่างน้อย 3,000 บาท จึงจะคุ้มค่าในการติดตั้งระบบ

 

กรณีที่ ไฟฟ้าดับ ระบบการทำงานของโซล่าเซลล์ ยังสามารถใช้งานได้หรือไม่?

ในกรณีที่ระบบการทำงานของโซล่าเซลล์เป็นแบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้าหรือออนกริด (On-Grid) ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าในกรณีที่มีการซ่อมระบบ เพราะหากระบบไม่หยุดทำงาน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์ อาจจะย้อนเข้าระบบสายส่งและทำให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงานแก้ไขระบบไฟฟ้าได้

 

ขั้นตอนการทำงานของระบบโซล่าเซลล์เพื่อนำพลังงานไปใช้

  1. แผงโซล่าเซลล์ รับแสงแดด เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า
  2. เก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ (ในกรณีที่ระบบโซล่าเซลล์เป็นแบบ Off Grid)
  3. แปลงไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) โดยใช้ตัวแปลงกระแสหรืออินเวอร์เตอร์ (Inverter) ทำให้สามารถนำไฟฟ้าที่ได้ไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Load) หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปภายในบ้านได้

 

ระบบโซล่าเซลล์ (Solar cell system)

หลังจากที่เราได้รู้แล้วว่าโซล่าเซลล์ คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรแล้ว ต่อไปนี้เราจะมาดูกันนะครับ ว่าระบบของโซล่าเซลล์นั้นมีกี่ประเภท และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

โดยทั่วไประบบโซล่าเซลล์ ที่เราใช้กันอย่างแพร่หลายนั้นมีอยู่ 2 ระบบ คือ On grid, Off grid และ Hybrid

1. ระบบโซล่าเซลล์ประเภท On grid

เป็นการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่มีการเชื่อมต่อกับ Grid หรือระบบไฟฟ้าของภูมิภาคหรือไฟฟ้านครหลวง ซึ่งระบบที่นิยมและค่าใช้จ่ายไม่สูง เนื่องจากระบบนี้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ Battery ในการสำรองไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ โดยรูปแบบการต่อแผงโซล่าเซลล์จะได้ไฟฟ้ากระแสตรงมา ดำเนินการต่อผ่าน Inverter เพื่อทำการแปลงไฟฟ้าจากระแสตรงเป็นกระแสสลับ เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อไปในบ้านหรือโรงงาน

แต่ที่ Inverter และ Switch boarder นั้นจะมีการต่อกับ Grid ของการไฟฟ้า นั้นหมายความว่าพลังงานที่โซล่าเซลล์ผลิตได้เพียงพอกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านหรือโรงงานต้องการ ก็จะไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจาก Grid ของการไฟฟ้า ในทางกลับกัน ถ้าไม่เพียงพอระบบจะทำการดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาช่วยจ่ายให้ได้โดยอัตโนมัติ

อย่างไรก็ตามระบบนี้แม้จะประหยัดเงินลงทุน แต่จะสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์ได้เพียงช่วงเวลากลางวัน หรือวันที่แดดแรงเท่านั้น และในระหว่างวันโซล่าเซลล์อาจจะไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ จะต้องมีการนำดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาจ่ายให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านและโรงงาน

2. ระบบโซล่าเซลล์ประเภท Off grid

ระบบโซล่าเซลล์ที่ออกแบบมาเป็นแบบ Off grid นั้นจะคล้ายๆ กับ On grid แต่จะแตกต่างตรงที่จะไม่มีการเชื่อมต่อกับ Grid ของการไฟฟ้า และมีการติดตั้ง Battery เข้าไปเพื่อเป็นพลังงานสำรองของโซล่าเซลล์ นั่นก็หมายความว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านและโรงงานนั้นจะรับไฟฟ้าผ่านโซล่าเซลล์อย่างเดียว โดยจะไม่มีการรับไฟฟ้าจากทางการไฟฟ้าอย่าง PEA หรือ MEA

ซึ่งในระบบนี้นั้นค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าแบบ On grid เนื่องจากมีเงินลงทุนของ Battery รวมไปถึงค่าบำรุงรักษา และการออกแบบจะต้องได้รับการพิจารณาอย่างเป็นพิเศษเพราะว่าจะต้องออกแบบให้ครอบคลุมไปถึงช่วงเวลาที่ไม่มีแสงแดด เช่น กลางคืน หรือ แสงแดดไม่จัด ซึ่งจะทำให้เรื่องของความเสถียรหรือความต่อเนื่องของการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์ต่างๆ อาจจะไม่เพียงพอได้ในบางช่วงเวลา

3. ระบบโซล่าเซลล์ประเภท Hybrid

เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่เอาข้อดีของทั้ง 2 ระบบ คือ On grid และ Off grid มาประยุกต์เข้าด้วยกัน คือสามารถใช้ไฟฟ้าได้ทุกช่วงเวลาไม่ว่าจะเป็นช่วงแสงแดดแรงหรือแดดอ่อน แม้กระทั่งช่วงเวลากลางคืนนั้นก็ยังคงสามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งการใช้ไฟฟ้าแต่ละช่วงเวลาดังนี้

ในช่วงเวลากลางวัน จะใช้ไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์เป็นหลัก ถ้าไฟฟ้าไม่เพียงพอจะมีการรับไฟฟ้าส่วนที่ขาดมาจากทางการไฟฟ้าอย่าง PEA หรือ MEA มาช่วย

ในช่วงเวลากลางคืน จะใช้ไฟฟ้าจาก Battery ที่เก็บสำรองไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ และรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าอย่าง PEA และ MEA เข้ามาช่วยจ่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ตามระบบนี้ความเสถียรภาพของไฟฟ้านั้นสูง แต่เงินลงทุนก็จะสูงตามไปด้วย

 

 

******คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการติดโซล่าเซลล์ 

 

เนื่องจากส่วนใหญ่ตามบ้านเรือนทั่วไป การติดโซล่าเซลล์จะติดบนที่สูงเพื่อป้องกันการบดบังแสงอาทิตย์ที่จะส่องไปที่แผงกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งการติดตั้งอันตรายนอกเหนือจากกระแสไฟที่ไหลผ่านแล้วยังมีความอันตรายจากการทำงานบนที่สูง ซึ่งการป้องกันจะต้องใช้อุปกรณ์กันตกที่ได้มาตรฐาน ดูตัวอย่างอุปกรณ์กันตกได้ที่ https://www.pholonline.com/work-place-safety/harness-fall-protection.html

ชุดสายรัดลำตัวชนิดเต็มตัว KARAM (full body harness) รุ่น PN 94ชุดเข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว Karam รุ่น PN 12

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.scghome.com/homesolution

https://www.primo.co.th/

https://energyreform-solar.com/

% LEL หรือ %Vol (Volume) หน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ

แชร์บทความนี้

สำหรับหน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ % LEL หรือ %Vol (Volume) ในอุปกรณ์วัดแก๊สติดไฟ หากเราพิจารณาชนิดของหน่วยของการวัดแล้ว เราก็จะเห็นการรายงาน…

อ่านต่อ »

มาจัดระเบียบร่างกายและโต๊ะทำงานกันเถอะ ท่านั่งทำงานยังไงให้ถูกหลักทั้งการใช้งานและการยศาสตร์

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้วันนี้ใครมีปัญหาเป็น วัยรุ่นปวดหลัง หรือมีปัญหา เมื่อยล้า ปวดกล้ามเ

อ่านเพิ่มเติม »

PID sensor สำหรับตรวจจับสารระเหยเร็ว (VOCs)

แชร์บทความนี้

จากข้อจำกัดของ Electrochemical sensor ในบทความเรื่องที่แล้วที่ไม่สามารถจะตรวจจับแก๊สพิษที่มีคุณสมบัติระเหยเร็วที่เราเรียกว่า

อ่านเพิ่มเติม »