แคดเมียม คืออะไร โลหะพิษอันตราย หลังพบที่โรงงานสมุทรสาคร กว่า 15,000 ตัน

แชร์บทความนี้

จากประเด็นที่มีข่าวเมื่อวันที่ 5 เมษายน  2 บริษัทลอบขนกากแร่แคดเมียม 15,000 ตันจากบ่อฝังกลบจ.ตาก มาโรงงาน จ.สมุทรสาคร เตรียมส่งออก และหลายฝ่ายเป็นกังวลว่าจะเกิดการปนเปื้อนในธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงและใกล้ตัวมากๆกับผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบ วันนี้เรามาดูกันว่า เจ้า แคดเมี่ยม อันตรายขนาดไหน แล้วเราจะมีวิธีป้องกันยังไงครับ

แคดเมียม (Cadmium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 48 และสัญลักษณ์คือ Cd แคดเมียมเป็นโลหะทรานซิชันสีขาว-ฟ้า เป็นธาตุมีพิษ ในธรรมชาติพบอยู่ในแร่สังกะสี แคดเมียมใช้ประโยชน์ในการทำแบตเตอรี่

ผลกระทบต่อร่างกาย หากได้รับสารแคดเมี่ยม

ผลกระทบต่อร่างกายนั้นมีทั้งแบบเฉียบพลันระยะสั้นและแบบระยะยาวเรื้อรังดังนี้

การรับสารแคดเมียมในระยะสั้นนั้นจะมีอาการดังต่อไปนี้

  1. การจับไข้
  2. มีอาการหนาวๆร้อนๆ
  3. ปวดศีรษะ
  4. อาเจียน

ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้นาน 20 ชั่วโมงก็จะเกิดอาการแน่นหน้าอก ไอรุนแรง และน้ำลายฟูมปากตามมา ซึ่งผู้ที่มีโอกาสได้รับสารส่วนใหญ่จะเป็นคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ มอเตอรไซด์ หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมเหล็กที่มีแคดเมียมเป็นองค์ประกอบ

เมื่อมีการสะสมในระยะยาว จะมีผลกระทบต่อร่างกายดังนี้

  1. หากมีการสะสมมากเกินไปในร่างกายจะทำให้คน หรือสัตว์ที่ได้รับสารแคดเมียม มีโอกาสเป็นหมันได้
  2. แคดเมียมยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและต่อมลูกหมาก
  3. เมื่อแคดเมียมได้เข้าสู่ร่างกายอาจก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
  4. การสูดดมแคดเมียมและไปสะสมในร่างกายจะทำให้เกิดการเจ็บปวดที่กระดูก และทำให้เกิดกระดูกผุ ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นโรคอิไตอิไต
  5. แคดเมียมสามารถสะสมได้ในร่างกายโดยเฉพาะที่ไต อีกทั้งยังทำลายระบบประสาท เช่น ระบบประสาทการดมกลิ่น และเลือดจาง การรับสารแคดเมียมในระยะสั้น

 

ปริมาณที่เป็นอันตราย

ปริมาณของแคดเมี่ยมที่มากกว่า 300 มิลลิกรัม อาจทำให้คนตายได้ แต่ปริมาณต่ำสุด 10 มิลลิกรัมจะทำให้เกิดอาการพิษอย่างชัดเจน

 

ปริมาณปนเปื้อนในอากาศ

ปริมาณฝุ่น หรือควันของเเคดเมี่ยมต้องไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร

 

การเข้าสู่ร่างกายของสารแคดเมี่ยม

โดยปกติ แคดเมี่ยมจะเข้าสู่ร่างกายเราได้ 2 ทาง

  1. ทางปาก โดยการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนของแคดเมี่ยม เช่น อาหารทะเล ผัก
  2. ทางจมูก โดยการหายใจเอาควัน หรือฝุ่นที่ปนเปื้อนแคดเมี่ยมเข้าไปด้วย พบมากในเหมืองสังกะสี

 

การใช้อุปกรณ์ป้องกัน

ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ (Respirator) แบบครึ่งหน้าหรือเต็มหน้าพร้อมไส้กรองที่มีฟิลเตอร์ ป้องกันฝุ่นละออง (particle) แบบ P100 (มาตรฐาน USA )หรือ P3 (มาตรฐานฝั่ง EU )

 

ตัวอย่างอุปกรณ์ป้องกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://mt.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/home/main/health-brochure/2019/pdf/18.pdf

 

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ สารเคมีหกรั่วไหล

แชร์บทความนี้

สารเคมีหกรั่วไหล นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นความประมาทจากการเคลื่อนย้ายสารเคมี อุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ฯลฯ เราจะเตรียมตัว

อ่านต่อ »

ห่วง D-Ring บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว(Full body Harness)กับการใช้งาน

แชร์บทความนี้

ห่วง D-Ring ที่ติดตั้งอยู่บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวในรุ่นมาตรฐานนั้นผู้ผลิตจะติดตั้งมาให้1จุดบริวณด้านหลังของชุดโดยผ่านการทดสอบความ

อ่านต่อ »