โรคเอ็นข้อมืออักเสบ ภัยเงียบใกล้ตัวที่ป้องกันได้

แชร์บทความนี้

อย่าเพิ่งคิดว่าออฟฟิศซินโดรมคือโรคชื่อดังซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจหมายเลขหนึ่งของมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น ถ้าคุณยังไม่รู้จักกับอีกหนึ่งภัยเงียบที่ย่องมาเบา ๆ แต่มีความร้ายกาจเอาเรื่องไม่น้อย กับโรคเอ็นข้อมืออักเสบ ด้วยอาการเจ็บป่วยที่แสดงเฉพาะจุด ซึ่งอาจดูไม่มีผลกระทบอะไรมากกับการใช้ชีวิตและการทำงาน แต่ถ้าปล่อยไว้เฉย ๆ โดยไม่รีบรักษา บอกได้เลยว่านั่นอันตรายเป็นอย่างมาก

ทำความรู้จักโรคเอ็นข้อมืออักเสบให้มากขึ้น

โรคเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s Tenosynovitis) ถูกจัดให้เป็นโรคในกลุ่มเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ซึ่งอาการของโรคจะทำให้ปวดหรือเจ็บตรงบริเวณเอ็นโคนนิ้วหัวแม่มือ อาจมีอาการแบบเกิดขึ้นฉับพลัน หรือบางรายก็อาจค่อย ๆ ปวดมากขึ้น ร่วมกับอาการชาที่บริเวณนิ้ว

ซึ่งอาการที่ว่านี้จะชัดหรือรุนแรงขึ้น เมื่อเราจะใช้มือและนิ้วหยิบจับสิ่งของ ทำงาน พิมพ์งาน เขียนหนังสือ หรือการออกแรงที่มือโดยตรง ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจมีลักษณะอาการบวมบริเวณนิ้วหัวแม่มือและมีปุ่มนูนบนสันข้อมือ เมื่อจับจะรู้ได้เลยว่าเป็นความผิดปกติแน่ ๆ

ส่วนสาเหตุหลักของการเกิดโรคที่เป็นภัยเงียบนี้ก็คือ การทำงานลักษณะเดิมซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นงานบ้าน การทำกิจวัตรประจำวันที่ทำซ้ำ ๆ ทุกวัน โดยเฉพาะกับคนที่ต้องนั่งทำงานโดยใช้มือซ้ำ ๆ หรือพูดง่าย ๆ ว่า กลุ่มมนุษย์เงินเดือนนั่งโต๊ะอย่างเรา ๆ นี่แหละ ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงและมีโอกาสเป็นโรคนี้มากที่สุด

โรคเอ็นข้อมืออักเสบอันตรายไหม จะป้องกันได้อย่างไร?

โรคเอ็นข้อมืออักเสบจัดเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงมากนัก ซึ่งก็จะคล้าย ๆ กับโรคออฟฟิศซินโดรม แต่ประเด็นสำคัญก็คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบ นั่นแสดงถึงการบาดเจ็บที่จะต้องดูแลมากเป็นพิเศษ ซึ่งถ้าไม่เร่งรักษาอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานได้ นับเป็นภัยเงียบที่มาเบา ๆ แต่ก็น่ากลัวอยู่ไม่น้อยเลย

สำหรับวิธีการป้องกัน ในเบื้องต้นแนะนำว่า ให้เริ่มต้นจากการกินยา โดยเป็นยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ ซึ่งจะช่วยลดปวดและลดอาการบวมของเส้นเอ็นได้ และเมื่อรู้ตัวว่าเป็นแล้วก็ให้หลีกเลี่ยงการใช้งานมือข้างนั้นทันที หรืออาจหาอุปกรณ์ช่วงพยุงมือมาใส่ไว้ก่อน

และในกรณีที่หนักจริง ๆ แพทย์อาจมีการฉีดสารสเตียรอยด์ในบริเวณที่ปวดเพื่อลดอาการอักเสบ ต่อด้วยการทำกายภาพเพื่อให้มือสามารถกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม แต่ถ้าทำทั้งหมดนี้แล้วยังไม่หาย แพทย์ก็จะพิจารณาใช้การผ่าตัดเพื่อรักษาต่อไป

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการเข้าข่ายที่เราบอกมาแล้ว ลองแก้ด้วยตัวเองตามคำแนะนำที่เราบอกมาแล้ว แต่ยังไม่หายขาด ขอแนะนำว่าอย่าชะล่าใจ ให้รีบไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด จะได้จัดการรักษาการบาดเจ็บและอักเสบ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการทำงานให้หายไปโดยเร็ว

ระดับชุดปฏิบัติงานสารเคมี

แชร์บทความนี้

ชุดปฏิบัติงานสารเคมี มีการแบ่งระดับตามความสามารถในการป้องกันสารเคมีอย่างชัดเจนคือ ชุดปฏิบัติงานสารเคมี ระดับ A, B, C และ D ซึ่งเป็นไปตามข้อ

อ่านต่อ »

การเลือก “หนัง” รองเท้าเซฟตี้

แชร์บทความนี้

รองเท้านิรภัย หรือรองเท้าเซฟตี้ ตามมาตรฐานทั้ง มอก. และ EN20345 ได้ กำหนดคุณสมบัติของหนัง รองเท้านิรภัย ให้สามารถทำได้จาก หนังแท้

อ่านต่อ »

หน้ากากกันฝุ่น PM2.5 และกันไวรัส แบบไหนหายใจสะดวก แบบไหนปกป้องได้ดี

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เชื่อว่าตอนนี้ในหลายๆพื้นที่ในประเทศไทยเริ่มมีอุณหภูมิที่ต่ำลง อากา

อ่านเพิ่มเติม »

Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ ELECTROCHEMICAL รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

แชร์บทความนี้

จากบทความที่แล้วเรื่องของ sensor วัดแก๊สติดไฟ ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ Electrochemical เพื่อให้ทราบหลักการ

อ่านเพิ่มเติม »