สายช่วยชีวิตชนิดม้วนสายเก็บอัตโนมัติ (Retractable Lanyard)

แชร์บทความนี้

หากกล่าวถึงสายช่วยชีวิตหรือLanyardนั้น คงจะเห็นว่าความยาวของสายช่วยชีวิตตามที่มาตรฐานสากลกำหนดนั้นจะมีความยาวใช้งานได้สูงสุดไม่เกิน2เมตร แต่ในหน้างานที่แตกต่างออกไปนั้นตามแต่ละพื้นที่ยังคงต้องการความยาวสายที่มากกว่านี้มาป้องกันผู้ปฏิบัติงานหากเกิดการพลัดตกขึ้นขณะปฏิบัติงาน ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อสามารถใช้ในงานป้องกันการตกได้มากกว่า2เมตร อุปกรณ์ชนิดนี้คือ สายช่วยชีวิตชนิดม้วนสายเก็บอัตโนมัติ หรือ Retractable Lanyardนั่นเอง

สายช่วยชีวิตชนิดม้วนสายเก็บอัตโนมัติ หรือ Retractable Lanyard คืออุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในระบบป้องกันการตก โดยใช้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับจุดยึดนั่นเอง อุปกรณ์ชนิดนี้มีความพิเศษอยู่ที่ตัวชุดสายสามารถม้วนเก็บเข้าตลับได้เองเมื่อผู้ปฏิบัติงานเดินเข้าใกล้ตัวอุปกรณ์และตัวสายสามารถมีความยาวสายใช้งานได้มากกว่า2เมตร โดยความยาวสายที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบันมีตั้งแต่1.8เมตรจนถึง30เมตร (ในบางผู้ผลิตทำได้ยาวกว่า30เมตร)

ด้วยลักษณะพิเศษของชุดสายที่สามารถม้วนกลับเข้าตลับได้โดยอัตโนมัตินี้ (หากนึกภาพไม่ออกให้นึกถึงสายของตลับเมตรที่สามารถม้วนสายเก็บเข้าตลับได้เช่นเดียวกัน) จึงทำให้การทำงานบนที่สูงเกิดความสะดวก คล่องตัว และปลอดภัย
มาตรฐานสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันมีสองมาตรฐานหลักคือ ANSI Std.(มาตรฐานฝั่งอเมริกา) และ EN Std.(มาตรฐานฝั่งยุโรป)
อุปกรณ์ชนิดนี้ในอดีตนั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้ป้องกันการตกแนวดิ่งเป็นหลัก(Vertical) การใช้งานทำได้โดยการแขวนอุปกรณ์นี้ในตำแหน่งเหนือศีรษะของผู้ปฏิบัติงาน แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์ชนิดนี้ถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้ทั้งแนวดิ่ง(Vertical) และแนบระดับ (Horizontal) กล่าวคือสามารถติดตั้งไว้แนวเดียวกับระดับที่ผู้ปฎิบัติงานยืนทำงาน ในการเลือกใช้งานนั้นผู้เขียนแนะนำให้เลือกจากคุณลักษณะการใช้งานตามที่ผู้ผลิตแนะนำ เพราะใช่ว่าทุกรุ่น ทุกยี่ห้อที่จะสามารถใช้งานได้ทั้งแนวดิ่งและแนวระดับ

นอกจากนี้แล้วอุปกรณ์ชนิดนี้ยังมีรุ่นที่ถูกออกแบบให้สามารถพกติดกับตัวผู้ปฏิบัติงานแทนสายช่วยชีวิตแบบมาตรฐานได้อีกด้วย โดยมีความยาวใช้งานประมาณ 1.8เมตร-2.7เมตร ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้นแต่ต้องแลกมาด้วยราคาของสินค้าที่แพงกว่าสายช่วยชีวิตแบบมาตฐานด้วยเช่นกัน

จุดเด่นของอุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่
– ชุดสายไม่เกะกะผู้ใช้งานขณะปฏิบัติงาน
– มีความยาวใช้งานให้เลือกหลากหลายตามความต้องการของแต่ละหน้างาน
– เมื่อเกิดการตกระยะหยุดจะสั้นกว่าสายช่วยชีวิตแบบมาตรฐาน
– แรงกระชากที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ปฏิบัติงานมีน้อยกว่าสายช่วยชีวิตแบบมาตรฐาน

สามารถดูสินค้าอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pholonline.com/

 

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านต่อ »

สารเคมีรั่วไหล ปฏิบัติตัวยังไงให้ปลอดภัย และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ปัญหาสารเคมีรั่วไหล ยังคงเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความอันตรายทั้งต่อผู้

อ่านเพิ่มเติม »

สัญญาณเตือนอาการของโรคไข้เลือดออกและวิธีป้องกันห่างไกลไข้เลือดออก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เข้าสู่ฤดูฝนอย่่างเต็มรูปแบบ โรคที่มักจะตามมากับหน้าฝนส่วนใหญ่ก็หนี

อ่านเพิ่มเติม »