การรับมือเมื่อเจอแผ่นดินไหว

แชร์บทความนี้

เมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้รับแจ้งเหตุแผ่นดินไหวจาก กรมอุตุนิยมวิทยา เกิดเหตุแผ่นดินไหว ที่ประเทศเมียนมา ขนาด 6.4Magnitude ลึก 3 กิโลเมตร หลายจังหวัดในภาคเหนือรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน และเกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมาอีก 45 ครั้ง ทำให้อาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ฉะนั้น เราจำเป็นที่จะต้องรู้จักการรับมือเมื่อเจอแผ่นดินไหว กันครับ เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอีก จะได้มีวิธีรับมือครับ

 

อย่างแรกที่ต้องมีเลยนะครับ คือ สติ ให้เร่งหาที่ปลอดภัยและอย่าตกใจเกินไป เพราะการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจาก วิ่งเข้าวิ่งออกบ้านนี่แหละครับ

 

1.หากอยู่ในอาคารสูง

ควรรีบออกจากตึกโดยเร็ว และออกห่างจากสิ่งที่สามารถล้มทับเราได้ และใช้บันไดหนีไฟเท่านั้น ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด ไม่ควรจุดไฟหรือทำให้เกิดประกายไฟภายในอาคาร เพราะเนื่องจากอาจจะเกิดแก๊สรั่วภายในอาคารและทำให้ระเบิดขึ้นได้ ให้อยู่ห่างจากกำแพง หรือกระจก ให้มุดเข้าใต้โต๊ะหรือเตียงที่สามารถกำบังจากวัตถุที่จะตกลงมาจากที่สูงได้

เมื่อแผ่นดินไหวสงบลงแล้วตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว จึงออกไปยังที่โล่งแจ้งได้

2.หากอยู่ในพื้นที่โล่ง

หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ตึกสูง กำแพง เสาไฟฟ้า ทางด่วน สะพานลอย เพราะอาจจะมีวัตถุตกใส่ได้ หลีกเลี่ยงการอยู่ริมหน้าผา ภูเขา เพราะอาจจะเกิดดินถล่มได้

3.หากกำลังขับรถอยู่บนถนน ให้หยุดรถก่อนและรอภายในรถจนกว่าแผ่นดินไหวจะหยุดลง

หากท่านสามารถดูแลตัวเองได้แล้ว ก็อย่าลืมห่วงใยความปลอดภัยของคนรอบข้างด้วยนะครับ

 

สถิติการเกิดแผ่นดินไหว

การกระจายตัวของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ถูกตรวจวัดและบันทึกได้ จากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวของกรมอุตุนิยมวิทยาส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวบนแผ่นดิน (intraplate earthquake) ทางตอนเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวใน บริเวณประเทศพม่าเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงประเทศลาวและประเทศจีนตอนใต้ สำหรับในบริเวณ ประเทศไทย การกระจายตัวของเหตุการณ์แผ่นดินไหวส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตก มี แผ่นดินไหวในบริเวณภาคใต้บ้างแต่ไม่มากนัก สอดคล้องกับข้อมูลแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือรอย เลื่อนมีพลัง ซึ่งส่วนใหญ่จะพบอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย สำหรับการกระจายตัวของ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลหรือในบริเวณแนวมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone)

map thai

แผนที่แสดงเหตุการณ์แผ่นดินไหว ( วงกลมสีเขียว )

ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่ปี 1998 – 2020

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

กรมอุตุนิยมวิทยา

BBC.com

กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera)

แชร์บทความนี้

กล้องถ่ายภาพความร้อนถูกนำมาใช้ในหลายๆ ด้าน เช่น เถ้ารถของท่านร้อนเกินไป กล้องถ่ายภาพความร้อน หรือ พื่อตรวจดูว่าเราป่วยหรือไม่ อาหารถูก…

อ่านต่อ »

ผิวไหม้แดดทำไงดี เคล็ดลับการดูแลและฟื้นฟูผิวให้กลับมาเปล่งปลั่ง พร้อมแนะนำ 7 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมกู้ผิวไหม้แดด

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ ผิวไหม้แดดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ที่ใช้เวลานอกบ้านในช่วงวันที่แ

อ่านเพิ่มเติม »

หน้ากากกันฝุ่น PM2.5 และกันไวรัส แบบไหนหายใจสะดวก แบบไหนปกป้องได้ดี

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เชื่อว่าตอนนี้ในหลายๆพื้นที่ในประเทศไทยเริ่มมีอุณหภูมิที่ต่ำลง อากา

อ่านเพิ่มเติม »