ความรู้สุขภาพ ออฟฟิศซินโดรมกับอันตรายของคนทำงาน

แชร์บทความนี้

ใครปวดหลังยกมือขึ้น เชื่อว่าตอนนี้ชาวมนุษย์เงินเดือนคนขยันหลายคน ต่างก็กำลังเผชิญปัญหาอาการปวด ล้า และตึงของกล้ามเนื้อ ทั้งส่วนหลัง แขน ขา หรือบางรายอาจมีอาการชาหรือเจ็บร่วมอยู่ด้วย ซึ่งสาเหตุก็อย่างที่เรารู้กันดีว่า ทั้งหมดนี้เกิดจากเจ้าโรคออฟฟิศซินโดรม แต่หารู้ไม่ว่าผู้ร้ายตัวจริงก็คือเราเองนั่นแหละ

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร

โดยหลักการแล้วอาการหรือโรคออฟฟิศซินโดรมก็คือ กลุ่มของอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ซึ่งจะนับรวมเอาอาการปวดหรือชาเนื้อเยื่อและเอ็นร่วมด้วย และก็มักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน ที่มีพฤติกรรมการทำงานแบบนั่งโต๊ะอยู่กับที่ติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมไปถึงคนที่ก้มหน้าก้มตาใช้มือถืออยู่เป็นประจำ ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

ส่วนสาเหตุของการเป็นออฟฟิศซินโดรม มักเกิดขึ้นจากการที่เราใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน นั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ไม่ค่อยได้เปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งรวมไปถึงการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง อย่างเช่น การนั่งงอตัว นั่งหลังค่อม พฤติกรรมเหล่านี้คือการที่เราใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปซ้ำมา ผลคือการหดเกร็ง และยืดค้าง จนกล้ามเนื้อเกิดความอ่อนล้าและบาดเจ็บ หรือขมวดเป็นปมและตึง สุดท้ายจึงแสดงออกเป็นอาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อนั่นเอง

3 วิธีทำได้เลย เพื่อจัดการให้ออฟฟิศซินโดรมหายขาด

อย่างที่บอกไปแล้วว่า สาเหตุของการเป็นออฟฟิศซินโดรมนั้นเกิดจากพฤติกรรมของบุคคล วิธีแก้ไม่ต้องไปคิดหาให้ใครมาช่วย เพราะเรื่องนี้ถ้าเราเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ ทุกอย่างก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง โดยสามารถทำได้ดังนี้

  1. ปรับพฤติกรรมการทำงาน พยายามเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนที่ไม่นั่งทำงานท่าเดิมนาน ๆ ในช่วงแรกอาจตั้งเวลาเลยว่าในทุก 1-2 ชั่วโมง เราจะต้องลุกขึ้นมาเดิน ขยับร่างกาย และบริหารกล้ามเนื้อให้คลายตัว
  2. ดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เพราะกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนเลือดที่แข็งแรง จะช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บและความเสี่ยงในการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี ใน 1 สัปดาห์ เราขอแนะนำให้คุณหากิจกรรมการออกกำลังกายต่อเนื่องรวม ๆ แล้วสัก 150 นาที ขึ้นไป
  3. จัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม การปรับสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อการนั่งทำงานในท่าทางที่ถูกต้อง เช่น การเลือกใช้โต๊ะ เก้าอี้ และอุปกรณ์สำนักงานอื่น ๆ เพื่อช่วยให้เรานั่งทำงานในท่าที่เหมาะสมได้อย่างสะดวก รวมไปถึงการทำงานในลักษณะอื่น ๆ ก็ต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเช่นกัน

อย่าเห็นออฟฟิศซินโดรมเป็นแค่โรคหรืออาการปวดแบบทั่วไปเท่านั้น เพราะถ้าไม่เร่งแก้ไขที่ต้นเหตุ รับรองเลยว่า จากแค่อาการปวดเล็กน้อย จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการทำงานของเราเยอะมาก ๆ ในอนาคต รู้แบบนี้แล้วก็ไปรีบแก้ด่วนเลย

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร

แชร์บทความนี้

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ววัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ถูกแบ่งแยกเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้เกิด

อ่านต่อ »

เลือกวัสดุทำชุด PPE อย่างไร ให้ปลอดภัย

แชร์บทความนี้

ชุดป้องกันเชื้อโรค หรือ ชุด COVERALL / PPE มีด้วยกันหลายแบบ ซึ่งระดับการป้องกัน และความสบายในการสวมใส่จะขึ้นอยู่กับชนิดผ้า และชนิดตะเข็บ

อ่านต่อ »