• ไม่มีหมวดหมู่
  • บุหรี่ไฟฟ้า:สิ่งที่ควรรู้และผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า:สิ่งที่ควรรู้และผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

แชร์บทความนี้

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ก็ยังคงเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง

กลไกการทำงานบุหรี่ไฟฟ้า 

บุหรี่ไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน:

  • แบตเตอรี่
  • อุปกรณ์ให้ความร้อน (atomizer)
  • ตลับบรรจุน้ำยา (e-liquid)

เมื่อสูบ บุหรี่ไฟฟ้าจะให้ความร้อนแก่น้ำยา ทำให้เกิดละอองที่มี นิโคตินและสารแต่งกลิ่นรส แตกต่างจากบุหรี่ทั่วไปที่ต้องเผาไหม้ยาสูบ น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามักประกอบด้วยโพรพิลีนไกลคอล กลีเซอรีน นิโคติน และสารแต่งกลิ่นรส

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

แม้บุหรี่ไฟฟ้าจะไม่มีสารพิษบางชนิดที่พบในบุหรี่ทั่วไป แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น

  • ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ
  • ผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด
  • ความเสี่ยงจากสารเคมีในน้ำยา
  • อาจเกิดการบาดเจ็บจากอุปกรณ์ระเบิดในบางกรณี

ยังไม่มีหลักฐานระยะยาวที่ชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยของบุหรี่ไฟฟ้า นักวิจัยยังคงศึกษาผลกระทบระยะยาวอย่างต่อเนื่องอยู่นะครับ

กฎหมายว่าด้วยการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า

กฎหมายว่าด้วยการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า

พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 244 ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดนำเข้าของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการทางศุลกากรเข้าในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดน หรือการถ่ายลำเลียงโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น ซึ่งความผิดที่ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งของที่มิได้ผ่านพิธีการศุลกากรจะได้รับคือ ความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิด

พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 ใช้สำหรับกรณีของผู้ที่ ช่วยซ่อนเร้น ซื้อ รับไว้ หรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ใน ครอบครอง ทั้งที่รู้อยู่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นของที่ห้ามนำเข้ามาประเทศไทย ต้องถือว่ามีความผิดเช่นกัน ซึ่งหากถูกจับกุมดำเนินคดีต้องได้รับโทษจำคุกไม่ เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ 

ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 กำหนดว่า บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสินค้าที่ห้ามขายหรือให้บริการ ซึ่งกำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้ที่กระทำผิดเป็นผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้ที่นำเข้ามาเพื่อขาย ต้องรับโทษเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ

 

ฟันคุดเป็นยังไง เกิดจากอะไร แบบไหนต้องผ่า ถ้าปล่อยไว้จะเป็นไรมั้ย

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้บางคนที่กำลังที่กำลังรู้สึกปวดฟันกรามหรือบริเวณฟันซี่สุดท้ายมากๆ จน

อ่านเพิ่มเติม »

ทำความรู้จักกับ ชุดตรวจโควิด 19 ชนิดเก็บตัวอย่างผ่านน้ำลาย ใช้อย่างไร?

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ในช่วงที่โควิด-19 กลับมาระบาดหนักในไทยอีกระลอก คนไทยเริ่มหันมาให้คว

อ่านเพิ่มเติม »